วันจันทร์ที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2556


วิศวะลูกพระจอมฯ เทพวิศวะสายปฎิบัติ

      วิศวะลาดกระบังเป็นหนึ่งในสามสถาบันที่มีคะแนนแอดเข้าสูงสุดของประเทศ มีความภาคภูมิใจในการเป็นลูกพระจอมฯบิดาแห่งวิศวกรไทย ถือเป็นมหาลัยที่รวมรวมเด็กเก่งจากทั่วประเทศ ผลิตวิศวกรออกสู่ประเทศปีละหลายพันคน โดนการศึกษาที่สถาบันนั้นจะเน้นที่การปฎิบัติ ซึ่งจะทำให้เด็กที่จบจากสถาบันพระจอมเก่งเรื่องบู๊และเป็นที่ต้องการของหลากหลายบริษัทในภาคอุตสาหกรรม จนมีคำกว่าวที่ว่า"จบวิศวะลาดกระบังไม่มีทางตกงาน"ซึ่งก็ถือว่าไม่ได้กล่าวเกินจริงเลย

      จากจุดเริ่มต้นของศูนย์ฝึกโทรคมนาคม ในปีพ.ศ. 2503 ซึ่งมีนักศึกษารุ่นแรก 23 คน คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและมุ่งมั่นที่จะผลิตบัณฑิต ทางวิศวกรรมศาสตร์ที่มีความรู้ ความสามารถและมีคุณธรรมสู่สังคมอย่างต่อเนื่อง คณะวิศวกรรมศาสตร์ได้ เปิดการเรียนการสอนให้สาขาวิชาที่หลากหลาย โดยมีการดำเนินการจัดตั้งเป็นภาควิชาต่าง ๆ ดังนี้

พ.ศ. 2503 จัดตั้งภาควิชาวิศวกรรมโทรคมนาคม
พ.ศ. 2519 จัดตั้งภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า
พ.ศ. 2519 จัดตั้งภาควิชาอิเล็กทรอนิกส์
พ.ศ. 2519 จัดตั้งภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล
พ.ศ. 2521 จัดตั้งภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
พ.ศ. 2525 จัดตั้งภาควิชาวิศวกรรมระบบควบคุม
พ.ศ. 2525 จัดตั้งศูนย์วิจัยอิเล็กทรอนิกส์
พ.ศ. 2530 จัดตั้งภาควิชาวิศวกรรมเกษตร
พ.ศ. 2533 จัดตั้งภาควิชาวิศวกรรมโยธา (ชื่อเดิม ภาควิชาเทคโนโลยีการก่อสร้าง เมื่อพ.ศ. 2529)
พ.ศ. 2537 จัดตั้งภาควิชาวิศวกรรมเคมี
พ.ศ. 2538 จัดตั้งภาควิชาวิศวกรรมอาหาร
พ.ศ. 2540 จัดตั้งโครงการภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ
พ.ศ. 2543 จัดตั้งภาควิชาวิศวกรรมการวัดคุม (ชื่อเดิมภาควิชาเทคโนโลยีการวัดคุมทางอุตสาหกรรม เมื่อพ.ศ. 2526)
พ.ศ. 2544 จัดตั้งภาควิชาวิศวกรรมสารสนเทศ (ชื่อเดิม ภาควิชาเทคนิคอุตสาหกรรม เมื่อพุทธศักราช 2517)



ปรัชญา
- การศึกษาและการวิจัยทางด้านวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี พร้อมทั้งปลูกฝังด้านคุณธรรม และจริยธรรม เพื่อเป็นรากฐานของการพัฒนาสังคมและประเทศ
ปณิธาน
- มุ่งมั่นให้การศึกษาพร้อมทั้งสนับสนุนการวิจัยและนวัตกรรม ตลอดจนการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม เพื่อสร้างผู้นำ และเพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้สู่นักศึกษา และสังคมอย่างมีประสิทธิภาพ 

วิสัยทัศน์/พันธกิจ
- มุ่งเป็นคณะวิศวกรรมศาสตร์ที่เป็นเลิศทางด้านการศึกษา การวิจัย และนวัตกรรมในระดับสากล










วันอาทิตย์ที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

 
วิศวกรรมศาสตร์ ภาควิชาโทรคมนาคม
 
วิศวกรรมโทรคมนาคม เป็นวิศวกรรมศาสตร์ ที่เกิดจากการรวบรวมองค์ความรู้ ทางวิทยาศาสตร์ และวิศวกรรมไฟฟ้าทั้งปวงมา รวบรวมเป็นองค์ความรู้ที่ลึกซึ้งเฉพาะทางและเป็นวิศวกรรมที่ซับซ้อนเกี่ยว ข้องกับวิทยาศาสตร์ชั้นสูงหลายๆ ด้าน ดังที่เราเห็นในปัจจุบัน ในงานวิศวกรรมโทรคมนาคมเป็นการรวบรวม วิศวกรรมแทบทุกสาขามาในงานวิศวกรรมโทรคมนาคม แม้แต่งานด้านวิศวกรรมโยธา ก็ยังเกี่ยวข้องกับวิศวกรรมโทรคมนาคม เช่น การวางฐานราก เสาตั้งสายอากาศ เป็นต้น หรือแม้แต่ทางการแพทย์ ก็มีการใช้วิศวกรรมโทรคมนาคมชั้นสูงมาประยุกต์ใช้ เช่น ความถี่วิทยุ และใยแก้วนำแสง มาประยุกต์ใช้ในการตรวจและรักษาผู้ป่วย เป็นต้น      อันที่จริงวิศวกรรมโทรคมนาคม ในปัจจุบันจะเป็นตัวกลางในการหลอมรวมทางวิศวกรรมในทุกสาขาเข้าด้วยกัน (Engineering Convergence)ดังหน้าที่ของ งานโทรคมนาคม อยู่แล้ว วิศวกรโทรคมนาคม ส่วนใหญ่มักจำเป็นต้องเชี่ยวชาญงานหลายๆ ด้านให้มากที่สุดทั้ง งานอิเล็กทรอนิกส์ งานไฟฟ้ากำลัง งานคอมพิวเตอร์ งานอิเล็คทรอนิกส์เชิงกล งานสายอากาศและคุณสมบัติคลื่น งานโยธาเล็กน้อย รวมทั้งงานจัดการโครงการ เป็นต้น
     วิศวกรรมโทรคมนาคม ทำให้เกิดมีทรัพยากร คลื่นวิทยุ (Radio Wave)กลายเป็นทรัพยากรของมนุษย์โลกที่มีค่าประเมินไม่ได้เกิดขึ้นจากงาน วิศวกรรมโทรคมนาคม และเปลี่ยนแปลงสังคมมนุษย์อย่างกว้างขวาง กลายเป็นคลื่นลูกที่สามของการเปลี่ยนแปลงสังคมมนุษย์โลก (Third Wave Concept) และการขับเคลื่อนของระบบเศรษฐกิจของประเทศใดๆ ล้วนขึ้นอยู่กับ เครือข่าย (Network)
ปัจจุบันงานวิศวกรรมโทรคมนาคม ค่อนข้างมีการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีรวดเร็ว และมีวงจรชีวิตของสินค้า หรืออุปกรณ์โทรคมนาคม สั้นลง (Shortly Technology Life Cycle)และมีความซับซ้อนสูงขึ้น พร้อมๆ ไปกับการมีประสิทธิภาพสูงขึ้นไปด้วยดังที่เราเห็นกันทั่วไปในปัจจุบัน
วิศวกรโทคคมนาคมเป็นที่ต้องการมากในภาคอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับระบบสื่อสารและระบบโครงข่ายโทรคมนาคมทั้งในภาครัฐและเอกชน ได้แก่
- วิศวกร ติดตั้งและดูแลระบบการสื่อสารโทรคมนาคม ได้แก่ บริษัท ทศท คอร์ปอเรชั่น จำกัด บริษัท การสื่อสารโทรคมนาคม จำกัด บริษัท ไทยคม บริษัท AIS บริษัท DTAC บริษัท TelecomAsia บริษัท TT&T บริษัท Ericsson บริษัท Nokia บริษัท AT&T และบริษัท SIEMENS
- วิศวกรติดตั้งและดูแลระบบสื่อสารเคเบิลไยแก้ว ระบบไมโครเวฟ ระบบสื่อสารดาวเทียม
- วิศวกร ออกแบบ ติดตั้งและดูแลระบบสถานีวิทยุโทรทัศน์ที่มีสถานีทวนสัญญาณอยู่ทั่วประเทศ เช่น สถานีวิทยุโทรทัศน์ช่องต่างๆ
- วิศวกรดูแลระบบระบบสื่อสารสำหรับการบินพาณิชย์ เช่น บริษัท การบินไทย บริษัท วิทยุการบิน จำกัด
 


วิศวกรรมศาสตร์ ภาควิชาอิเล็กทรอนิกส์
วิศวกรอิเล็กทรอนิกส์ สามารถทำงานได้อย่างหลากหลายในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการใช้งานเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่
- อุตสาหกรรม ประกอบชิ้นส่วนและวงจรอิเล็กทรอนิกส์ ที่ทำการออกแบบและผลิตแผ่นวงจรรวม อุปกรณ์หน่วยความจำและฮาร์ดดิสก์ ได้แก่ บริษัท FASL(Thailand) หรือเดิมคือ Advanced Micro Devices (AMD), Philips Semiconductor, Lucent, Seagate, Sony Semiconductor, Toshiba Semiconductor- การสื่อสารและโทรคมนาคม ต้องการวิศวกรติดตั้งและดูแลระบบการสื่อสาร ภาคอุตสาหกรรมเหล่านี้ ได้แก่ บริษัท ทศท คอร์ปอเรชั่น จำกัด บริษัท การสื่อสารโทรคมนาคม จำกัด บริษัท AIS บริษัท DTAC บริษัท TelecomAsia บริษัท TT&T บริษัท Ericsson Nokia AT&T และ SIEMENS
- วิศวกรการออกแบบและผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้า ได้แก่ บริษัท SONY HITACHI Panasonic Mitsubishi ตลอดจนบริษัทขนาดใหญ่ของคนไทยและอุตสาหกรรม SME ที่มีอยู่อย่างมากมาย
- วิศวกรควบคุมและซ่อมบำรุงระบบในอุตสาหกรรมหนัก ได้แก่ อุตสาหกรรมปิโตรเคมี อุตสาหรรมเหล็ก อุตสาหกรรมยานยนต์



 วิศวกรรมศาสตร์ ภาควิชาสารสนเทศ
วิศวกรรมสารสนเทศ สามารถทำงานได้อย่างหลากหลาย ได้แก่
- วิศวกรรมสารสนเทศ (Information Engineering) เป็นสาขาทางวิศวกรรมศาสตร์ ว่าด้วยการนำความรู้ทางวิศวกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในสาขาต่างๆ มาประยุกต์ใช้ในกระบวนการจัดการข้อมูลข่าวสาร ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อความต้องการของมนุษย์
การจัดการข้อมูลข่าวสาร ในที่นี้นั้นหมายถึงการกระทำใดๆต่อข้อมูล เช่น การจัดเก็บ การรับส่งข้อมูล การประมวลผลข้อมูล เป็นต้น
- สาขาวิชาวิศวกรรมสารสนเทศ จะมุ่งเน้นการศึกษาและการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในสาขาต่างๆ ได้แก่ คอมพิวเตอร์ อิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม ตลอดจนถึงสาขาทางวิศวกรรมไฟ้ฟ้าอื่นๆ เช่น ระบบควบคุม เป็นต้น
- ยกตัวอย่างเช่น การประมวลผลข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์แล้วส่งผ่านระบบโครงข่ายการสื่อสารแบบมี สายหรือแบบไร้สายไปยังปลายทาง ตลอดจนการจัดเก็บและการบริหารจัดการข้อมูลสารสนเทศให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด เป็นต้น


วิศวกรรมศาสตร์ ภาควิชาอาหาร
วิศวกรรมอาหาร เป็นสาขาที่เกี่ยวเนื่องการการผลิตและแปรรูปอาหาร  การประยุกต์ใช้ความรู้ด้านเกษตร  เคมี และการจัดการวัสดุที่ใช้ในการแปรรูปอาหาร รวมถึง ความรู้ด้านพันธุวิศวกรรมเกี่ยวกับพืชและสัตว์  โดยลักษณะงานเกี่ยวกับการออกแบบกระบวนการผลิตอาหาร,การถนอมอาหาร,ความ ปลอดภัยของการผลิตอาหาร รวมถึง กระบวนการควบคุมคุณภาพและบรรจุภัณฑ์ของอาหาร  มักทำงานในอุตสาหกรรมอาหารเป็นหลัก


วิศวกรรมศาสตร์ ภาควิชาอุตสาหการ 

 วิศวกรอุตสาหการ จัดเป็นวิศวกรที่จะเป็นต้องเรียนหรือมีความรู้ทางด้านบริหารมากกว่าวิศวกรสาขาอื่นๆ สามารถออกไปประกอบอาชีพด้านต่างๆ ได้แก่
- วิศวกรประจำโรงงานเพื่อบริหารจัดการขบวนการของการผลิตให้มีประสิทธิภาพสูงสุด ซึ่งเป็นที่ต้องการในทุกโรงงานอุตสาหกรรม
- วิศวกรบริหารการผลิตและเพิ่มผลผลิตในอุสาหกรรมต่างๆ
- วิศวกรออก แบบการจัดวางสายการผลิตภายในโรงงาน เครื่องจักร และการบริหารระบบห่วงโซ่อุปทานและคลังสินค้า โรงงานหนึ่งๆ อาจมีการผลิตสินค้าหลายประเภทหรือหลายรุ่น ดังนั้น วิศวกรอุตสาหการต้องวางผังการจัดการสายการผลิตให้มีประสิทธิภาพ ให้สามารถผลิตสินค้าได้เป็นจำนวนมากๆ ต่อหน่วยเวลา และใช้พลังงานและทรัพยากรต่างๆ คุ้มค่าที่สุด
- ในประเทศที่มีการเจริญเติบ โตทางอุตสาหกรรมการผลิตทั้งขนาดเล็ก กลาง และใหญ่ เช่นประเทศไทยในปัจจุบัน จะมีความต้องการวิศวกรอุตสาหการเป็นจำนวนมาก


วิศวกรรมศาสตร์ ภาควิชาคอมพิวเตอร์

วิศวกรคอมพิวเตอร์ เป็นที่ต้องการเป็นอย่างมากในตลาดแรงงานเพราะทุกธุรกิจในปัจจุบันจำเป็นต้องระบบ คอมพิวเตอร์เพื่อดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพ วิศวกรสามารถเลือกงานได้สามลักษณะคือ
- วิศวกรวางระบบคอมพิวเตอร์และ เทคโนโลยีโครงข่ายให้แก่ภาคธุรกิจอื่นๆ เพื่อให้มีการใช้งานระบบคอมพิวเตอร์ในองค์กรอย่างมีประสิทธิภาพ แหล่งงานคือบริษัทฯ ที่เป็นเจ้าของเทคโนโลยีเองซึ่งมีลักษณะเป็นองค์กรใหญ่และมีสำนักงานใหญ่ อยู่ในต่างประเทศ ได้แก่ บริษัท AT&T บริษัท ไอบีเอ็ม บริษัท SUN Microsystem บริษัท LUCENT Technology บริษัท CISCO เป็นต้น วิศวกรที่ทำงานในบริษัทข้ามชาติเหล่านี้มีรายได้เงินเดือนสูงมาก
- วิศวกร ดูแลระบบคอมพิวเตอร์และการสื่อสารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศหรือวิศวกรพัฒนา ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศตามบริษัทต่างๆ ระบบโครงข่ายของธนาคารและห้างสรรพสินค้น
- วิศวกรพัฒนาโปรแกรมและระบบ คอมพิวเตอร์อิสระ รับทำงานทั่วไปให้แก่กลุ่มธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลาง เป็นวิศวกรที่สามารถพัฒนาตนเองให้เป็นเจ้าของกิจการเองได้ 



วิศวกรรมศาสตร์ ภาควิชาเมคคาทรอนิกส์

วิศวกรเมคคาทรอนิกส์ เป็นวิศวกรที่มีความรอบรู้ในศาสตร์ที่สำคัญทางวิศวกรรมไฟฟ้าและ อิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์ ระบบควบคุมและเครื่องกล วิศวกรด้านนี้เป็นที่ต้องการในอุตสาหกรรมที่ต้องการระบบการผลิตที่ทันสมัย ความแม่นยำและมีประสิทธิภาพมากขึ้น เพื่อให้สามารถทำการผลิตผลิตภัณฑ์ที่มีความซับซ้อน หรูหราและมีมูลค่าสูงได้อย่างมีประสิทธิภาพ ได้แก่
- อุตสาหกรรมยานยนต์ที่มีประเทศไทยเป็นฐานการผลิตรถยนต์ อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องจักรผลิตไอซีและวงจรอิเล็กทรอนิกส์ โรงงานผลิตฮาร์ดดิสก์และมอนิเตอร์ อุตสาหกรรมสิ่งทอที่ใช้เครื่องจักรไฮเทค



วิศวกรรมศาสตร์ ภาควิชาระบบควบคุม
 
วิศวกรระบบควบคุม สามารถออกไปประกอบอาชีพด้านต่างๆ ได้แก่
- วิศวกร ควบคุมกระบวนการผลิตในอุตสาหกรรมทุกแขนง เช่น ปิโตรเคมี ยานยนต์ พลังงาน อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้า อิเล็กทรอนิคส์และคอมพิวเตอร์ เป็นต้น
- วิศวกรติดตั้งและดูแลระบบควบคุมในโรงงานอุตสาหกรรม เช่น โรงกลั่นน้ำมัน โรงแยกก๊าซ อุตสาหกรรมเคมีและการแปรรูปเคมีภัณฑ์
- วิศวกรออกแบบ ติดตั้งและควบคุมระบบการเดินรถไฟฟ้า เช่น รถไฟฟ้าบีทีเอส รถไฟฟ้ามหานคร


 
วิศวกรรมศาสตร์ ภาควิชาเครื่องกล

วิศวกรเครื่องกล เป็นที่ต้องการอย่างมากในภาคอุตสาหกรรมหนักต่างๆ เช่น
- วิศวกรดูแลระบบในโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ อาทิ โรงไฟฟ้า โรงแยกก๊าซและผลิตปิโตรเลียม โรงงานผลิตเหล็กเส้น โรงงานสิ่งทอ
- วิศวกรการออกแบบ ติดตั้งและดูแลงานระบบปรับอากาศ และงานระบบท่อในโรงงานและอาคารต่างๆ
- วิศวกร ตรวจวัดในอุตสาหกรรมการสำรวจแหล่งน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ ตลอดจนวางแผน ออกแบบและติดตั้งการเดินท่อส่งก๊าซและน้ำมัน เช่น บ.ยูโนแคล บ.เชลล์ บ.ปตท สำรวจ เป็นต้น วิศวกรเหล่านี้จะได้รับเงินเดือนและค่าตอบแทนสูงมากเพราะนอกจากจะต้องใช้ ความสามารถสูงแล้ว ยังต้องมีความเข้มแข็งอดทน สามารถทำงานภายใต้ภาวะความกดดันและอันตรายได้
- วิศวกรสำหรับโรงงานผลิตและประกอบชิ้นส่วนยานยนต์


วิศวกรรมศาสตร์ ภาควิชาโยธา
วิศวกรโยธา สามารถออกไปประกอบอาชีพด้านต่างๆ ได้แก่
- วิศวกรออก แบบและควบคุมงานก่อสร้างต่างๆ อาทิ อาคารสูง โรงงาน ท่าอากาศยาน ถนน สะพาน อุโมงค์ใต้ดิน เขื่อน ฝายกั้นน้ำ ซึ่งมีแหล่งงานเป็นจำนวนมากตามบริษัทต่างๆ ได้แก่ บ.อิตัลไทย บ.ชิโนไทย เป็นต้น
- วิศวกรด้านการบริหารและการควบคุมการก่อสร้าง
- วิศวกรด้านสำรวจ การรังวัดและการจัดทำผังเมือง
- วิศวกรออกแบบและดูแลระบบบำบัดน้ำเสียประจำโรงงานและอาคารต่างๆ
- วิศวกรสำรวจและบริหารงานด้านแหล่งน้ำและอุทกวิทยา
- วิศวกรออกแบบและดูแลระบบไฮเวย์


วิศวกรรมศาสตร์ ภาควิชาไฟฟ้ากำลัง
วิศวกรไฟฟ้ากำลัง สามารถออกไปประกอบอาชีพด้านต่างๆ ได้แก่
- วิศวกรประจำโรงงานทำหน้าที่ดูแลระบบไฟฟ้า ติดตั้งและซ่อมบำรุงเครื่องจักรไฟฟ้าภายในโรงงานอุตสาหกรรม
- วิศวกร ออกแบบ อนุมัติแบบ ควบคุมงานการติดตั้งระบบไฟฟ้า สำหรับอาคารและโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งต้องทำงานร่วมกันกับทีมงานวิศวกรสาขาอื่นๆ เพื่อให้การก่อสร้างอาคารและโรงงาน สำเร็จลุล่วง
- วิศวกรควบคุมการจ่ายกำลังไฟฟ้าในหน่วยงานรัฐวิสาหกิจการไฟฟ้าทั้งสามแห่ง โรงแยกก๊าซ ปตท การรถไฟฟ้ามหานคร
- วิศวกรปฏิบัติการทดสอบผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและวิจัยผลิตภัณฑ์ไฟฟ้า
- วิศวกรวางแผนการใช้พลังงานประจำโรงงานอุตสาหกรรมซึ่งเป็นไปตามกฎหมายที่ทุกโรงงานอุตสาหกรรมจะต้องมีแผนการประหยัดพลังงาน


วิศวกรรมศาสตร์ ภาควิชาเคมี
วิศวกรเคมี สามารถออกไปประกอบอาชีพด้านต่างๆ ได้แก่
- วิศวกร ควบคุมกระบวนการผลิตในอุตสาหกรรมการแปรรูปสารเคมีต่างๆ เช่น อุตสาหกรรมปิโตรเลียม อุตสาหกรรมปิโตรเคมี อุตสาหกรรมผลิตสินค้าอุปโภค เช่น วิศวกรออกแบบระบบให้แก่โรงงานทางด้านการแปรรูปเคมี




 เรียนจบแล้วจะไปทำอะไร ?
   
     ถ้าถามว่าเรียนวิศวะแล้วจะสามารถไปทำงานอะไรหรือไปเป็นอะไรได้บ้าง คำตอบที่ง่ายที่สุดก็คือ "ไปเป็นวิศวกร" แล้ววิศวกรคืออะไรล่ะ พูดกันง่ายๆก็คงต้องบอกว่างานของวิศวกรส่วนใหญ่จะเน้นการทำงานเป็นทีม มีทั้งงานออกแบบ ควบคุม วิเคราะห์ คำนวณ และที่สำคัญก็คือการตรวจสอบและแก้ไขปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้น งานของวิศวกรนั้นจะว่าหาง่ายก็ง่ายจะว่าหายากก็ยาก สำหรับใครที่เรียนวิศวกรรมศาสตร์สาขาที่เป็นสากลอย่างเช่นวิศวกรรมเครื่องกล ไฟฟ้าและโยธา ก็อาจจะหางานที่ตรงกับสายทำได้โดยง่าย แต่ถ้าเป็นสาขาที่ฟังแล้วดูหรูหราน่าสนใจอย่างวิศวกรรมการบินและอวกาศที่เรียนมาเพื่อออกแบบเครื่องบินโดยเฉพาะ ตรงนี้ถ้าอยากหางานตรงสายทางด้านการออกแบบอากาศยานก๊คงจะไม่มีในเมืองไทย และงานที่ตรงสายก็มีเพียงแค่ทำงานเป็นวิศวกรในสายการบินเท่านั้น แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าเรียนวิศวะสาขานี้แล้วจะหางานไม่ได้ เพราะที่จริงแล้ววิศวกรรมการบินก็คือศาสตร์สาขาหนึ่งของสายวิศวกรรมเครื่องกลที่มีงานรองรับเพียบ ถ้าไม่เกี่ยงงานยังไงก็มีงานทำแน่ๆ
   
     จากสาขาที่หลากหลายคงไม่สามารถที่จะบอกได้ว่าสาขาไหนดีสาขาไหนไม่ดี ดังนั้นสิ่งที่จะเอามาตัดสินก็ควรจะเป็นความชอบส่วนบุคคล ว่าตัวเองชอบไปในทางไหนและงานที่ต้องการทำนั้นสอดคล้องกับสาขาที่ตัวเองเลือกหรือไม่ เพราะสุดท้ายแล้ววิศวกรทุกคนที่เรียนจบหลักสูตร"วิศวกรรมศาสตร์บัณฑิต"ออกมาก๊คือบุคคลที่เปี่ยมไปด้วยคุณภาพและความพร้อมที่จะเป็นผู้สร้างให้แกมนุษยชาติต่อไป

 บริหารธุรกิจ


    จะพบว่ามีหลายคนที่เรียนจบปริญญาตรีทางด้านวิศวกรรมศาสตร์มมาแล้วออกไปเรียนต่อปริญญาโททางด้านบริหาร ซึ่งถือว่าไม่ใช่เรื่องแปลกแต่อย่างใด เชื่อว่าผู้บริหารระรับสูงของบริษัทชั้นนำหลายๆบริษัทก็มักจะเรียนจบปริญญาตรีทางด้วนวิศวกรรมศาสตร์มาก่อน นั่นหมายความว่า วิศวกรสามารถที่จะทำงานในด้านการออกแบบหรือการเป็นผู้สร้างอย่างที่ตนตั้งใจศึกษามาก็ได้ แต่อย่าลืมว่า"วิศวกร"คือผู้ที่ได้รับการสั่งสมบ่มเพาะให้มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์และแก้ปัญหาต่างๆที่ซับซ้อนได้อย่างเป็นระบบและมีเหตุผลมาถึง 4 ปีในรั้วมหาวิทยาลัย ทำให้บัณฑิตวิศวะหลายต่อหลายคนเบนเข็มออกไปเรียนสายบริหารและที่สำคัญก็คือ พวกเขาทำได้ดีเสียด้วย ดังนั้นถ้าใครที่เป็นกังวลในเรื่องเงินเดือนหรือรายได้ก็คงจะหมดกังวลไปได้ เนื่องด้วยว่างานรองรับมีหลากหลาย อีกทั้งยังมีตัวอย่างรุ่นพี่ที่ศึกษาต่อทางด้านบริหารจนได้ดิบได้ดีในตำแหน่งสูงๆของหลายบริษัทยักษ์ใหญ่ เรื่องเงินเดือนจึงไม่น่าเป็นห่วง แต่ถ้าถามว่าเรียนวิศวะแล้วจะรวยกว่าเรียนคณะอื่นรึเปล่า ตรงนี้ก็ต้องขอบอกว่ามีอีกหลายคณะที่ไดเงินเดือนมากกว่าวิศวะ ที่เห็นได้ชัดๆก็คือ หมอ ไงครับ แต่ก็อย่างที่บอกมันขึ้นอยู่กับความชอบ ถ้ามองที่เงินเป็นตัวตั้งอยากได้เงินเดือนสูงๆแต่ไม่ชอบวิชาชีวะเอาซะเลยท่องไฟลัมสัตว์ยังถูกๆผิดๆ แต่ถ้าเป็นเรื่องคิดเลขหรือกลศาสตร์ขอให้บอกอธิบายได้เป็นฉากๆ  แบบนี้ไปเรียนแพทย์เพราะหวังเงินอาจจะไม่จบปีหนึ่งก๊เป็นได้ ดังนั้นตัดสินใจเรียนวิศวะดีกว่าครับ เงินเดือนก็ไม่ได้น้อยจนต้องกัดก้อนเกลือกิน เพราะถ้าเรียนแล้วมีความสุขแถมยังได้ทำงานที่ตัวเองชอบด้วย สุขทั้งกายทั้งใจ ถึงเงินเดือนจะได้ไม่เท่าแพทย์แต่มันก็กำไรกว่ากันเห็นๆอยู่แล้วครับ

    














วันเสาร์ที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2556


Engineer (วิศวกร) มาจาก Engine (เครื่องจักร) รึเปล่า ?

     ถ้าลองมองให้ลึกลงไปถึงรากศัพท์ที่แท้จริงของคำว่า Engineer ที่หมายถึงวิศวกร เชื่อว่าหลายๆคนคงจะคิดว่า วิศวกรก็คือคนงานคุมเครื่องจักรดีๆนี่เอง และคิดว่าคำว่า Engineer ก็คงมาจากคำว่า Engine ซึ่งแปลว่าเครื่องจักรเครื่องยนต์ แล้วจะให้บอกว่าไม่ใช่คนคุมเครื่องจักรเครื่องยนต์ได้ยังไง ต้องได้ซิ เพราะว่าถึงแม้วิศวกรบางตำแหน่งจะมีหน้าที่ในการคุมเครื่องจักรด้วย แต่ก็ไม่ได้หมายความว่านี่คือสิ่งเดียวที่วิศวกรทำได้

     แท้จริงแล้วคำว่า Engineering นั้นมาจากภาษาลาตินว่า Engenium ซึ่งมีความหมายว่า "ความเป็นอัจฉริยะที่ติดตัวมาโดยกำเนิด" แต่ถ้ามองลึกลงไปอีก จะมาจากคำว่า Eignere ที่มีความหมายโดยตรงถึงการสร้างหรือการประดิษฐ์สิ่งต่างๆ ดังนั้นถ้าจะให้ความหมายของคำว่าวิศวกรให้ดูเลิศหรู(และอยู่บนพื้นฐานความจริง) คงต้องหมายความว่า "ผู้สร้างอันเป็นอัจฉริยะ" เป็นไง สุดยอดใช่ไหมล่ะ ?



พระวิศวกรรมหรือพระวิษณุ บรมครูแห่งการช่าง
    

     ความเป็นมาของวิศวกรตั้งแต่โบราณ มองลงไปในศาสนาพราหมณ์ฮินดู "พระวิศวกรรม คือ บรมครูผู้ยิ่งใหญ่แห่งการช่างทั้งปวง" พระองค์เป็นมหาเทพผู้สร้างบ้านเรือน พระราชวังและนครต่างๆ แต่ด้วยว่าคนไทยมีการเรียกพระวิศวกรรมว่าพระวิศณุกรรมด้วย จนในที่สุดก็ได้ลดนามของพระองค์ให้เหลือเพียงพระวิษณุ ทำให้หลายต่อหลายคนสับสนและเข้าใจผิดว่าพระวิษณุที่เป็นเทพองค์สำคัญคู่กับพระพรมหมและพระศิวะเป็นเทพองค์เดียวกันกับพระวิศวกรรม ซึ่งถือว่าเป็นความเชื่อที่ผิดมากๆ และที่สำคัญ"สีเลือดหมู"ที่เป็นสีประจำคณะวิศวกรรมศาสตร์ ก็มาจากสีพระโลหิตของพระวิศวกรรมนั่นเอง



เครื่องยินหินคือผลงาานของวิศวกรสมัยก่อน

     ว่ากันด้วยวิศวกรในอดีตนั้นก็มีบทบาทมานานพอดูเหมือนกัน ในช่วงแรกๆนั้นวิศวกรก็มีบทบาทมากหน่อยทางด้านการทหาร ไม่ว่าจะเป็นการสร้างค่าย คู ประตูเมือง หอรบ หรืออาวุธยุทโธปกรณ์ต่างๆ อย่างเช่น เครื่องยิงก้อนหินหรือปืนใหญ่ที่ใช้ในการถล่มฐานศัตรูล้วนแต่เป็นผลงานของวิศวกร นอกจากทางการทหารแล้ว ยังมีกลุ่มที่คอยสร้างถนน ขุดคูคลองและสร้างความเจริญอื่นๆ ดังนั้นวิศวกรจึงแยกออกเป็นหลายแขนงเพื่อดูแลเรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยเฉพาะ ยิ่งเมื่อก้าวเข้าสู่ยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมแล้ว บทบาทของวิศวกรก็ยิ่งเพิ่มขึ้นและหลากหลายมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด






    





    วิศวกรคือใคร ? 
     "คำว่า"วิศวกร"นั้นหมายถึง ผู้ประกอบงานวิศวกรรม"... แล้วเจ้างานวิศวกรรมเนี่ย มันคืออะไรหว่า ?

     น้องๆที่ศึกษาอยู่ในชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นหรือตอนปลาย น้องๆหลายคนคงต้องคุ้นเคยกับคำว่าวิศวกรกันมาบ้างไม่มากก็น้อย เชื่อว่าหลายๆคนฟังแล้วรู้สึกว่ามันเทห์ซะเหลือเกิน จนทำให้เกิดความตั้งใจว่าจะต้องเข้าเรียนต่อที่คณะวิศวกรรมศาสตร์ให้ได้ แต่ว่าจะมีน้องๆซักกี่คนที่รู้ว่าจริงๆแล้วอาชีพวิศวกรนี่เป็นอย่างไร เขาทำอะไรกัน เราจะไขข้อข้องใจให้เอง


     ถ้าว่ากันตามพจนานุกรมไทยแล้ว คำว่า"วิศวกร"นั้นหมายถึง ผู้ประกอบงานวิศวกรรม ซึงคำว่า"วิศวกรรม"ตามความหมายในพจนานุกรมนั้นหมายถึง การนำความรู้ทางคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ธรรมชาติมาประยุกต์ใช้ ดังนั้น วิศวกรจึงหมายถึง ผู้ที่ประกอบงานโดยการนำความรู้ทางคคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ธรรมชาติมาประยุกต์ใช้ นั่นเอง

     เมื่อทราบความหมายตามพจนานุกรมแล้ว เรามาลองดูความหมายกันแบบง่ายๆกันบ้าง โดทั่วไปแล้วถ้ามองกันง่ายๆวิศวกรก็คือ"ผู้สร้าง"นั่นเอง จะสังเกตได้ว่าตึกรามบ้านช่อง รถ เครื่องบิน สะพาน เครื่องจักรต่างๆมากมายที่เราใช้กันอยู่ในชีวิตประจำวันต่างก็เป็นผลงานของวิศวกรทั้งสิ้น วิศวกรจึงเป็นอาชีพที่เกี่ยวข้องกับการสร้างมากที่สุด ซึ่งแน่นอนว่าจะต้องนำ"วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ"มาประยุกต์ใช้และผสมผสานอย่างลงตัวที่สุดเพื่อวางแผนออกแบบการสร้างและการใช้งานสิ่งต่างๆ ให้ถูกต้องตามหลักเศรษฐศาสตร์

     หลักเศรษฐศาสตร์ "การใช้ทรัพยากรที่มีอยู่จำกัดให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์ที่มีอยู่อย่างไม่จำกัด"


 
    งานของวิศวกรสวนใหญ่จะเป็นงานสร้างสรรค์สิ่งต่างๆ สิ่งที่สร้างต้องเป็นประโยชน์ต่อสังคมและสอดคล้องกับวิทยาศาสตร์และเศรษฐศาสตร์ด้วย ทำไมถึงเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์ล่ะ ? ก็เพราะว่าการก่อสร้างคือการลุงทุน การลงทุนก็เกี่ยวข้องกับเงิน แล้วเราจะสร้างสิ่งต่างๆโดยใช้ทรัพยากรที่อยู่อย่างจำกัดให้เกิดประโยชน์สูงสุดได้อย่างไร มันก็ต้องเป็นไปตามหลักของเศรฐศาสตร์นั่นเอง


     


วันอาทิตย์ที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2556


"วิศวกรสีเขียว พลังแห่งพื้นแผ่นดิน"

      คณะวิศวะกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ก่อตั้งขึ้น พศ.2509 ซึ่งนับว่าเป็น 1 ใน 8 ของคณะวิศวะกรรมที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศไทย ในด้านคุณภาพโดยรวมของคณะวิศวะของที่นี่จากการจัดอันดับในหลายๆด้าน ทั้งคุณภาพการเรียนการสอน หรือความสูงของคะแนนแอดมิสชั่น คณะวิศวะกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ถูกยกให้เป็นอันดับสองของประเทศ รองจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเพียงแห่งเดียวเท่านั้น ซึ่งการเรียนการสอนของคณะวิศวกรรมศาสตร์ของที่นี่จะเน้นทั้งทฤษฏีและปฏิบัติควบคู่กันไปอย่างสมดุล ปัจจุบันมีการเปิดสอนทั้งหมด 15 สาขาดังนี้

    - ภาควิชาวิศวกรรมการเกษตร
    - ภาควิชาวิศวกรรมโยธา
    - ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล
    - ภาควิชาวิศวกรรมการอาหาร
    - ภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
    - ภาควิชาวิศวกรรมเคมี
    - ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า
    - ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
    - ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ
    - ภาควิชาวิศวกรรมทรัพยากรน้ำ
    - ภาควิชาวิศวกรรมชลประทาน
    - ภาควิชาวิศวกรรมวัศดุ
    - ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้าเครื่องกลการผลิต
    - ภาควิชาวิศวกรรมการบินและอากาศยาน
    - ภาควิชาวิศวกรรมการบินและอากาศยานและบริหารธุรกิจ(นานาชาติ)

     ใน 15 สาขาที่กล่าวมานี้จะมี 5 สาขา ที่จะเรียนรวมกันตอนปี 1 และจะไปแยกภาควิชากันตอนปี 2 เราเรียนรวมๆว่า คณะวิศวะกรรมกลุ่มวิทยาเขตบางเขน ซึ่งประกอบด้วยภาควิชา โยธา ไฟฟ้า เครื่องกล อุตสาหการ และเคมี นอกนั้นจะถือว่าแยกภาควิชาแล้วตั้งแต่ปี 1 ในทุกๆปี ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ จะเป็นภาควิชาที่ได้รับความนิยมสูง และมีคะแนนแอดที่สูงกว่าภาคอื่นๆ เนื่องจากรับนักศึกษาจำนวนน้อยมาก (ปี 2556 รับจากแอดมิสชั่น 10 คน) นอกจากนี้ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ยังสร้างชื่อเสียงให้ ม.ก. อย่างมาก จากผลงานการแข่งขันความสามารถจากเวทีต่างๆในระดับโลก


"ทีม Skuba มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คว้าแชมป์ชนะเลิศระดับโลก 3 รางวัลซ้อน เป็นครั้งแรกของการจัด Small-Size league และเป็น triple เป็นครั้งแรกของการจัดการแข่งขัน"



     นอกจากนี้ยังมีภาควิชาอื่นๆที่น่าสนใจอีกหลากหลายที่เพิ่งเปิดการเรียนการสอน เช่น ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้าเครื่องกลการผลิต ซึ่งภาควิชานี้จะเป็นการบูรณาการความรู้ระหว่างภาควิชาเครื่องกล ไฟ้ และ อุตสาหการ ซึ่งนักศึกษาที่จะจบการศึกษาภาควิชานี้ จะเป็นวิศวกรที่มีความรู้รอบด้าน สามารถทำงานได้อย่างหลากหลาย ซึ่งวิศวกรจำพวกนี้ ถือเป็นที่ต้องการอย่างมากในด้านอุตสาหกรรม
     ภาควิชาวิศวกรรมการบินและอากาศยาน เป็นภาควิชาใหม่ที่คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เพิ่งเปิดสอนเป็นปีแรก (พศ.2556) เพื่อสร้างวิศวกรที่มีความรู้เกี่ยวกับการซ่อมบำรุงเครื่องบินออกไปพัฒนาประเทศ

คะแนนสูงต่ำ 2556
คณะวิศวะกรรมกลุ่มวิทยาเขตบางเขน   Max -  20511.9000 Min - 18317.7000

 ข้อดี/ข้อเสีย ของคณะวิศวะกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ข้อดี
- เป็นคณะมีคนเก่งเยอะ ทำให้รอบๆตัวเรามีแต่คนเก่งและมีความสามารถ ทำให้เราต้องพัฒนาตนเองอยู่เสมอ
- เป็นที่ยอมรับของบริษัทชั้นนำต่างๆ
- เป็นมหาลัยที่มีความเก่าแก่ ทำให้สายงานระหว่างรุ่นพี่รุ่นน้องมีเยอะ
- มีรุ่นพี่มหาลัยที่จบแล้ว ทำงานอยู่ในบริษัทชั้นทำแทบทุกบริษัท
- คุณภาพการศึกษาเป็นที่ยอมรับ และมีความเป็นมาตรฐานโลก
- มีภาควิชาให้เลือกมากมาย ทั้งภาควิชาดั้งเดิม หรือที่เปิดใหม่ก็น่าสนใจ และมีคุณภาพ
- เป็นมหาลัยสีเขียว มีต้นไม้เยอะ บรรยากาศภาพในร่มรื่นแม้ตั้งอยู่กลางเมือง
- สาวสวย หนุ่มหล่อ

ข้อเสีย
- เนื่องจากการเรียนการสอนมีคุณภาพสูง ทำให้ข้อสอบยากตามไปด้วย
- หอพักแถวมหาลัยมีน้อย ถ้าไม่รีบจอง อาจต้องนอนหอใน
- หอในไม่หน้าอยู่ คุณภาพต่ำ
- ค่าครองชีพสูง เนื่องจากอยู่ในตัวเมือง
- ระเบียบเยอะพอสมควร
- แอบได้ยินมาว่า SOTUS แอบโหด

วันพฤหัสบดีที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2556


    "จากจุดเริ่มต้น สู่จุดสุดยอด" 
   
 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ก่อตั้งขึ้นเมื่อ 26 มีนาคม พศ. 2549 ซึ่งถือว่าเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของประเทศ และเปิดการสอนคณะวิศวกรรมศาสตร์เป็นแห่งแรกของประเทศ ผลิตวิศวกรออกมาเป็นกำลังให้ประเทศเป็นจำนวนมาก ในปัจจุบันคณะวิศวะกรรมศาสตร์ของจุฬามีหลากหลายสาขาดังนี้

- ภาควิชาวิศวกรรมโยธา
- ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล
- ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า
- ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ
- ภาควิชาวิศวกรรมโลหการ
- ภาควิชาวิศวกรรมเหมืองแร่
- ภาควิชาวิศวกรรมและปิโตรเลียม
- ภาควิชาวิศวกรรมสำรวจ
- ภาควิชาวิศวกรรมสิงแวดล้อม
- ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
- ภาควิชาวิศวกรรมเคมี
- ภาควิชาวิศวกรรมนิวเคลียร์
- ภาควิชาวิศวกรรมแหล่งน้ำ

     ทุกภาควิชาจะเรียนเหมือนกันหมดในปี1 และจะไปแยกภาคกันตอนปีสอง ยกเว้นภาควิชาสิ่งแวดล้อมกับสำรวจ ซึ่งจะแยกภาคกันตั้งแต่ปี 1 เลย ซึ่งคะแนนของภาครวมจะสูงที่สุด โดยคะแนนแอดมิสชั่น ของวิศวะภาครวมจะสูงที่สุดในประเทศ บ่อยครั้งที่คนที่ได้คะแนนแอดสูงที่สุดในประเทศจะเรียนอยู่ในคณะนี้ ส่วนคะแนนต่ำสุดของแต่ละปีก็จะอยู่ที่ 19,XXX ซึ่งก็ถือว่าสูงกว่าคะแนนสูงสุดของวิศวะบางสถาบันอีก จึงนับว่าเป็นหนึ่งในคณะที่มีการแข่งขันมากและเป็นคณะวิศวะกรรมที่อยู่บนจุดสูงสุดของประเทศ



"ทีม NewKrean  นิสิต ชั้นปีที่ 3 หลักสูตรนานาชาติ สาขาวิศวกรรมสารสนเทศและการสื่อสาร คว้ารางวัลชนะเลิศ Imagine Cup Thailand 2011 ประเภท Software Design"
  
คะแนนปัจจุบัน 2556
คณะวิศวะกรรมศาสตร์ ภาควิชาวิศวกรรมศาสตร์ Max -  24152.1500 Min - 20761.4000

   ข้อดี/ข้อเสีย ของคณะวิศวะกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ข้อดี
- เป็นศุนย์รวมของเด็กเก่งจากทั่วประเทศ ทำให้สังคมรอบตัวช่วยกระตุ้นเราให้กระตือรือร้น
- มีสายงานจำนวนมาก เนื่องจากคณะวิศวะจะมีความเหนี่ยวแน่นในคณะ และจะช่วยเหลือกันเมื่อเรียนจบ ปัจจุบัน วิศวะ จุฬามีถึงเกียร์ 96 แล้ว
- แบ่งภาคปี 2 เพราะอาจมีบางคนที่เข้าปี 1 มา แต่ยังไม่รู้ว่าจะเลือกภาควิชาอะไรดี เพราะยังไม่ค่อยรู้ข้อมูล
- เป็นที่ยอมรับของบริษัทเอกชนใหญ่ๆ เช่น ptt scg toyota honda
- อยู่ติดสยาม มีห้างให้เดินเล่น ซื้อของ
- มหาวิทยาลัยสวย มีต้นไม้เยอะ ร่มรื่น ไม่ร้อน
- สาวสวย รวย เก่ง
- คุณภาพอาจารย์ยอดเยี่ยม

 ข้อเสีย
- แข่งขันกันสูงมาก
- ข้อสอบโคตรยาก
- ระเบียบในมหาลัยเยอะ ต้องแต่งตัวเรียบร้อยตลอด
- ค่าใช้จ่ายสูง ถ้าไม่ได้พักหอในนี่ หอนอกที่คุณภาพดีๆหาจาก ถึงหาได้ก็แพง แต่ไม่มีปัญหาถ้าบ้านใกล้ หรือบ้านมีเงิน
- รถติดเป็นเรื่องปกติ การเดินทาง 2-3 กิโล อาจต้องใช้เวลา ครึ่ง ชม.







View My Blog
Subscribe to RSS Feed Follow me on Twitter!