วันอาทิตย์ที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2556


งานก่อสร้างและธุรกิจรับเหมาจะเติบโต

     นายประสงค์ ธาราไชย ประธานกรรมการ บริษัท โปรเจค แพลนนิ่ง เซอร์วิส จำกัด หนึ่งในผู้ประกอบธุรกิจวิศวกรควบคุมงานก่อสร้างรายใหญ่ เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า จากภาพรวมธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง ทั้งงานโครงการขนาดใหญ่ งานอาคาร และโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าที่มีปริมาณงานเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในปีนี้ และคาดว่าแนวโน้มจะมีเพิ่มขึ้นอีกไปจนถึงปีหน้า ส่งผลให้ค่าจ้างวิศวกร โดยเฉพาะค่าจ้างวิศวกรที่มีประสบการณ์ทำงานตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไปมีแนวโน้มจะพุ่งสูงขึ้นรวดเร็ว เนื่องจากเป็นที่ต้องการของบริษัทต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก 

     ประเมินว่าในปีหน้าอัตราเฉลี่ยรายได้ (เงินเดือน+เบี้ยเลี้ยง) ในตลาดที่รับเดือนละประมาณ 2.5-3 หมื่นบาท (ขึ้นอยู่กับความสามารถ) มีโอกาสจะปรับฐานขึ้นไปอีก 15-20% ขณะที่มาตรฐานการปรับเงินเดือนประจำปีของตำแหน่งงานทั่วไปเฉลี่ยอยู่ที่ 5-7% เนื่องจากเป็นที่ต้องการตัว ซึ่งประเมินว่าตลาดมีความต้องการวิศวกรอายุงานตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไปอีก 1-2 หมื่นอัตรา

     นายประสงค์กล่าวต่อว่า ส่วนวิศวกรจบใหม่ เนื่องจากมีโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่เพิ่มขึ้น จึงมีแนวโน้มจะไม่เพียงพอเช่นกัน เนื่องจากแต่ละปีมีวิศวกรที่เรียนจบระดับปริญญาตรีและเข้าสู่อาชีพวิศวะจริง ๆ ไม่ถึง 50% ของทั้งหมด ส่วนที่เหลือกระจายไปอยู่ในแวดวงนักบริหาร นักการเงิน-การธนาคาร หรือเรียนต่อปริญญาโท

     อย่างไรก็ตาม แนวโน้มค่าจ้างของวิศวกรจบใหม่อาจจะปรับขึ้นเท่ากับเกณฑ์ค่าเฉลี่ยทั่วไป เพราะตลาดแรงงานมีความต้องการวิศวกรที่มีประสบการณ์ตั้งแต่ 3-5 ปีขึ้นไปมากกว่า ซึ่งปัจจุบันวิศวกรจบใหม่รับเงินเดือน 1.7-1.8 หมื่นบาท รวมกับเบี้ยเลี้ยงเป็นเดือนละประมาณ 2 หมื่นบาท

     "นอกจากวิศวกรที่มีประสบการณ์ ซูเปอร์ไวเซอร์ หรือนายช่างควบคุมงาน ที่จบวุฒิ ปวส. หรือประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ก็เป็นตำแหน่งมีปัญหาขาดแคลนมา 3-4 ปีแล้ว ที่ผ่านมาจึงได้รับค่าจ้างเกือบจะใกล้เคียงกับวิศวกร โดยระดับพนักงานจบใหม่จะมีส่วนต่างรายได้ต่ำกว่าวิศวกรต่อเดือนประมาณ 2 พันบาท หรือมีรายได้เริ่มต้น 1.5-1.6 หมื่นบาท"

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตอุเทนถวาย
   
     นายประสงค์กล่าวต่อว่า ส่วนกรณีที่สมาคมธุรกิจรับสร้างบ้านได้ร่วมกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตอุเทนถวาย พัฒนาหลักสูตรเทคนิเชียลซูเปอร์ไวเซอร์ การันตีเงินเดือนจบใหม่สูงถึง 2.5 หมื่นบาท อาจเป็นเพราะมีปัญหาขาดแคลนจริง ๆ ประกอบกับส่วนหนึ่งอาจจะต้องไปทำงานกับบริษัทรับเหมาก่อสร้างที่มีชื่อเสียง 

     "ตำแหน่งซูเปอร์ไวเซอร์ถือว่าขาดแคลนมากกว่าวิศวกรที่มีประสบการณ์อีก เรียกว่าสามารถรับได้ไม่จำกัด สาเหตุที่ขาดแคลนเพราะค่านิยมคนไทยมองว่าให้ลูกเรียนวิศวะทำงานสบายกว่า บางคนเรียนจบแล้วก็ให้ลูกเรียนต่อระดับปริญญาตรีด้านวิศวะ" 

     ขณะที่นายวิโรจน์ เจริญตรา กรรมการผู้จัดการ บริษัท พรีบิลท์ จำกัด (มหาชน) ผู้ประกอบธุรกิจรับเหมาก่อสร้างอาคาร เปิดเผยว่า จากสถานการณ์ธุรกิจรับเหมาที่อยู่ในช่วงขาขึ้น ขณะนี้ค่าจ้างวิศวกรจึงเริ่มปรับสูงขึ้น ขณะเดียวกันก็เริ่มเห็นการดึงตัวกันมากขึ้น โดยเฉพาะวิศวกรที่มีประสบการณ์ 2-3 ปี 

     นายวิโรจน์ให้รายละเอียดว่า จาก 3 ปีก่อน เดิมวิศวกรที่มีประสบการณ์ 2-3 ปี เงินเดือนเริ่มต้นจะตกประมาณ 1.5 หมื่นบาท แต่ปีนี้บริษัทได้ปรับขึ้นเป็นเดือนละประมาณ 2.5 หมื่นบาท และยังมีรายได้อื่น ๆ ได้แก่ ค่าเดินทางตรวจงานต่างจังหวัด ค่าล่วงเวลาอีกเดือนละ 7-8 พันบาท รวมแล้วมีรายได้เฉลี่ยเดือนละ 3.2-3.3 หมื่นบาท ถึงแม้เงินเดือนจะสูงกว่า

     ซูเปอร์ไวเซอร์ไม่มากนัก แต่การปรับขึ้นเงินเดือนต่อปีจะมีอัตราสูงกว่า และเมื่อปรับตำแหน่งเป็น "วิศวกรอาวุโส" หลังจากทำงานได้ 3-4 ปี จะมีเงินเดือนเฉลี่ย 4-5 หมื่นบาทเป็น "ผู้จัดการโครงการ" เงินเดือนเฉลี่ย 9 หมื่น-1 แสนบาท

     "ปัจจัยที่ทำให้วิศวกรมีค่าตัวสูงขึ้น มาจากงานก่อสร้างทั้งภาคเอกชนและภาครัฐที่มีจำนวนมากขึ้น และนโยบายภาครัฐปรับฐานเงินเดือนปริญญาตรีเป็น 15,000 บาทตั้งแต่ต้นปี ซึ่งพรีบิลท์เองได้รับวิศวกรเข้ามาเพิ่มอีกประมาณ 30 คน รวมเป็นประมาณ 100 คน เพื่อรองรับการเติบโตในปีหน้า และไม่ต้องเร่งรับวิศวกรเพิ่ม" นายวิโรจน์กล่าว


ฐานเงินเดือน วิศวกรจบใหม่ 

     น้องๆหลายคนคงอยากรู้กันใช่ไหมครับว่าคณะวิศวกรรมศาสตร์ที่เรากำลังเรียนอยู่นี่จบไปแล้วจะไปทำงานที่ไหน ทำงานประเภทไหน ที่ไหนเงือนเดือนเยอะ ที่ไหนโบนัสเยอะ ที่ไหนสวัสดิการเยอะ เราได้รวมรวมมาไว้ให้พิจารณากันดังนี้ครับ ไปดูกันเลย
ธุรกิจประกอบยานยนต์

1.Mitsubishi Motor แหลมฉบัง ชลบุรี 18500 Bonus 6+13000
2.Toyota Motor Thailand(TMT) สมุทรปราการ 20100+1200 Bonus 8.0 (ปี56 ได้ข่าวว่า 10up) Require TOEIC Score 550
3.Isuzu Motor สมุทรปราการ 19500 Bonus 6.0+5000 TOEIC Score 450 ( สำหรับจบใหม่ตรงนี้ไม่ถึงไม่เป็นไร แต่จะพิจารณาเป็นพิเศษถ้าหากถึงเกณฑ์ แต่ส่วนมากเขาดูตอนเราสัมภาษณ์มากกว่า)
4.Honda Automobile ทำรถยนต์ โรจนะ อยุธยา 19500 + ค่าอาหาร 500 + ค่าภาษา TOEIC และ Japanese Leve 2000-4000 Bonus 6-7 เกรดต้องเกิน 2.70
5.Honda Motor ทำรถมอเตอร์ไซด์ สมุทรปราการ ประกอบมอเตอร์ไซด์ ได้เท่ากับ Honda Automobile
7.GM ปลวกแดง จ.ระยอง 27000-32000 โบนัส 5-7 ให้เยอะแต่ไม่มี OT
8.BMW 32000 โบนัส 4-5
9.NISSAN 18500Bonus 6.8(ปี55)
10.Honda R&D สวัสดิการเดียวกับ Honda อื่นๆครับ

ธุรกิจชิ้นส่วนยานยนต์
1.DENSO International สมุทรปราการ เทพารักษ์ 16800(ปี55) Bonus 6.0up
2.Siam DENSO อมตะนคร ชลบุรี 16800 Bonus 6.5 + 7000 สวัสดิการดี
3. บริดสโตน (รังสิต , วังน้อย) 21500 โบนัส 6.5+16000
4. สยามโตโยต้า ( Siam Toyota) 18500 Bonus 6.5


ธุรกิจเครื่องใช้ไฟฟ้าและชิ้นส่วนอิเลคทรอนิกส์ 
1.Thai Samsung ในเครือสหพัฒน์ ศรีราชา 19000 ทำงาน 5 วัน Bonus 2.5 แต่โอทีกระจายเดือนหนึ่งอาจถึง 30000 สำหรับใน Line การผลิต ไม่มีรถรับส่ง
2.DAIKIN INDUSTRY 18500+800+ อื่นๆเกือบ 22000 โบนัส 3-5เดือน โอทีเยอะ
3.Mineabea ลพบุรีและอยุธยา 21000ที่ลพบุรีมีที่พักให้ แต่ไม่มี OT โบนัส 2.0เดือน สัมภาษณ์ ภาษาอังกฤษ
4.Furukawa รายได้รวมต่อเดือนมากกว่า 19500
5. สยามคอมเพรสเซอร์ ( Siam Compressor) ทำ Compressor สำหรับเครื่องปรับอากาศ ในนาม Mitsubishi แหลงฉบัง ชลบุรี 19500+ อื่นๆ5000

ธุรกิจอื่นๆ

1.CPF อาหารคน และ อาหารสัตว์ 23000 มีที่พักฟรีห้องแอร์ โบนัส 2 เดือน ไม่มี OT
2.Ajinomoto 23000สวัสดิการและค่าตอบแทนอื่นๆ ดีมาก
3.คอตโต้ เซรามิก สระบุรี รวม 23000
4.Duth Milk นครปฐม 23000ทำงาน6วัน
5.Nikon (Thailand) นิคมโรจนะ อยุทธยา เงินเดือนประมาณ 22500+1000 บาท ทำงาน 5 วัน




วิศวะก็ยังคงติด 1 ใน 5 อันดับแรก
     มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้เปิดเผยผลการสำรวจ "ภาวะการมีงานทําของบัณฑิตมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รุ่นปี การศึกษา 2554" ซึ่งจัดเก็บข้อมูลในเดือนสิงหาคม 2555 และติดตามภาวะการมีงานทําต่อเนื่องจนถึงเดือนพฤษภาคม 2556 
   โดยนําเสนอข้อมูลทั้งหมดในภาพรวมรายกลุ่มสาขาวิชา 3 กลุ่มสาขาวิชา ได้แก่ กลุ่มสาขาวิชาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ กลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และกลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ

โดยผลสํารวจภาวะการมีงานทําของบัณฑิตมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รุ่นปี การศึกษา 2554 พบว่า บัณฑิตระดับปริญญาตรีภาคปกติ สําเร็จการศึกษาทั้งสิ้น 5,693 คน และได้ตอบแบบสํารวจภาวะการมีงานทํา 5,107 คน (ร้อยละ 90.75) ในจํานวนนี้

- มีงานทําแล้ว ร้อยละ 71.33 (3,643 คน)
- ยังไม่ได้ทํางาน ร้อยละ 1.53 (78 คน)
- ศึกษาต่อ/อื่น ๆ ร้อยละ 27.14 (1,386 คน)

เมื่อพิจารณาข้อมูลการมีงานทําของบัณฑิตในรายคณะ เรียงลําดับตามร้อยละการมีงานทําเทียบกับผู้สําเร็จการศึกษาสูงสุด
อันดับแรก คือ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี คณะแพทยศาสตร์ คณะสหเวชศาสตร์ คณะทันตแพทยศาสตร์ และคณะพยาบาลศาสตร์ บัณฑิตมีงานทําสูงสุด ร้อยละ 100 เท่ากัน

อันดับ 2 คือ คณะสาธารณสุขศาสตร์ ร้อยละ 98.57

อันดับ 3 คือ สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร ร้อยละ 98.54

อันดับ 4 คือ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง ร้อยละ 98.26

อันดับ 5 คือ คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา ร้อยละ 97.92



ส่วนประเภทงานที่ทำ

พนักงานบริษัท/องค์กรธุรกิจเอกชน ร้อยละ 68.71 (2,503 คน)

ข้าราชการ/เจ้าหน้าที่หน่วยงานของรัฐ ร้อยละ 12.93 (471 คน)

ธุรกิจอิสระ/เจ้าของกิจการ ร้อยละ 7.91 (288 คน)

ประกอบอาชีพอื่น ๆ ร้อยละ 4.97 (181 คน)

พนักงาน/ลูกจ้างรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 1.78 (65 คน)

พนักงานองค์การต่างประเทศ/ระหว่างประเทศ ร้อยละ 1.15 (42 คน)

ไม่ระบุ ร้อยละ 2.55 (93 คน)

โดยบัณฑิตที่ได้งานทําแล้วได้รับเงินเดือนเฉลี่ย 21,059.69 บาท โดยคณะที่บัณฑิตได้รับเงินเดือนเฉลี่ยสูงสุดเรียงลำดับ ได้แก่

1. คณะแพทยศาสตร์ 46,477.74 บาท
2. คณะทันตแพทยศาสตร์ 38,030.85 บาท
3. สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร 23,577.91 บาท
4. คณะวิศวกรรมศาสตร์ 23,532.06 บาท
5. คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี 22,902.01 บาท
6. คณะเศรษฐศาสตร์ 20,142 บาท
7. คณะศิลปศาสตร์ 19,813.05 บาท
8. คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน 19,112 บาท
9. คณะศิลปกรรมศาสตร์ 18,826.75 บาท
10. คณะสหเวชศาสตร์ 18,693.14 บาท
11. คณะรัฐศาสตร์ 18,450.84 บาท
12. คณะพยาบาลศาสตร์ 17,977.80 บาท
13. คณะนิติศาสตร์ 17,577.93 บาท
14. คณะสถาปัตยกรรมและการผังเมือง 17,026.53 บาท
15. คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 16,722.40 บาท
16. คณะสาธารณสุขศาสตร์ 16,638.21 บาท
17. คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา 16,561.64 บาท
18. คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ 14,552.77 บาท
19. วิทยาลัยสหวิทยาการ 13,482.53 บาท


โดยความรู้ความสามารถพิเศษที่ทําให้ได้งานทําสอดคล้องกับกลุ่มสาขาวิชาที่สําเร็จการศึกษา คือ

กลุ่มสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ คือ ด้านภาษาต่างประเทศ ร้อยละ 44.04
กลุ่มวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คือ ด้านการใช้คอมพิวเตอร์ ร้อยละ 41.31
กลุ่มวิทยาศาสตร์สุขภาพ คือ อื่น ๆ (ซึ่งระบุว่า เป็นความรู้เฉพาะสาขาวิชาชีพ) ร้อยละ 25.67

โดยบัณฑิตส่วนใหญ่ได้งานทําตรงสาขาที่สําเร็จ ร้อยละ 96.90 (3,530 คน) และสามารถนําความรู้ที่เรียนมาประยุกต์ใช้กับงานที่ทําได้ในระดับมาก ร้อยละ 37.47 (1,365 คน) และพึงพอใจต่องานที่ทํา ร้อยละ 85.59 (1,819 คน)

ส่วนบัณฑิตที่ไม่พึงพอใจในงานที่ทํา มีสาเหตุเนื่องจาก

ไม่พอใจค่าตอบแทน ร้อยละ 25.14 (132 คน)
ไม่ได้ใช้ความรู้ที่เรียนมา ร้อยละ 21.90 (115 คน)
ระบบงาน ร้อยละ 20.00 (105 คน)
ขาดความก้าวหน้า ร้อยละ 11.81 (62 คน)
ขาดความมั่นคง ร้อยละ 8.95 (47 คน)
สาเหตุอื่น ๆ ร้อยละ 8.19 (43 คน)
ผู้ร่วมงาน ร้อยละ 4.00 (21 คน)


สําหรับบัณฑิตยังไม่ได้ทํางาน (78 คน) นั้น มีสาเหตุมาจาก

ยังไม่ประสงค์จะทํางาน ร้อยละ 43.59 (34 คน)
รอฟังคำตอบจากหน่วยงาน ร้อยละ 32.05 (25 คน)
สาเหตุอื่น ๆ ร้อยละ 21.79 (17 คน)
ไม่ระบุ ร้อยละ 3.70 (2 คน)


สําหรับบัณฑิตที่กำลังศึกษาต่อ (1,371 คน) ส่วนใหญ่กำลังศึกษาต่อในระดับปริญญาโท ร้อยละ 70.75 (970 คน) โดย

เลือกศึกษาต่อในสาขาวิชาเดิม ร้อยละ 49.23 (675 คน)
เลือกศึกษาต่อในสาขาวิชาใหม่ ร้อยละ 47.12 (646 คน)
ไม่ระบุ ร้อยละ 3.65 (50 คน)


เมื่อพิจารณาแหล่งการศึกษาต่อ พบว่า

ศึกษาต่อในประเทศ ร้อยละ 77.61 (1,064 คน)
ศึกษาต่อต่างประเทศ ร้อยละ 22.39 (307 คน)

เหตุผลที่ตัดสินใจศึกษาต่อส่วนใหญ่เนื่องจาก

งานที่บัณฑิตต้องการต้องใช้วุฒิการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี ร้อยละ 39.97 (548 คน)
เป็นความต้องการของบิดามารดาหรือผู้ปกครอง ร้อยละ 26.55 (364 คน)
เหตุผลอื่น ๆ ร้อยละ 24.29 (333 คน)
ไม่ระบุ ร้อยละ 4.67 (64 คน)
ได้รับทุนศึกษาต่อ ร้อยละ 4.52 (62 คน)




ขอบคุณที่มา sanook.com

วันอังคารที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2556

      
  "ในอนาคตอีก 5 ปีข้างหน้าจะเป็นอย่างไร"
     
     เมื่อวันที่ 5 ส.ค. นายจาตุรนต์ ฉายแสง รมว.ศึกษาธิการ เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 2 ส.ค.ที่ผ่านมา ตนพร้อมด้วยนายชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา นายบัณฑิตย์ ศรีพุทธางกูร เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน(กช.) ได้หารือร่วมกับนายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) และคณะจากสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เกี่ยวกับการผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษาให้สอดคล้องกับความต้องการของ ประเทศ ซึ่ง ส.อ.ท.ได้ให้ข้อมูลความต้องการแรงงานใน 14 กลุ่มอุตสาหกรรม ช่วง 5 ปีข้างหน้า (พ.ศ.2556-2560) ประกอบด้วยกลุ่มพลาสติก เครื่องนุ่งห่ม กลุ่มสิ่งทอ กลุ่มยานยนต์ กลุ่มเครื่องจักรกลการเกษตร กลุ่มชิ้นส่วนและอะไหล่ยานยนต์ กลุ่มไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ กลุ่มเครื่องปรับอากาศ กลุ่มผลิตภัณฑ์ยาง กลุ่มเครื่องจักรกลและโลหะการ กลุ่มอัญมณีและเครื่องประดับ กลุ่มการพิมพ์และบรรจุภัณฑ์ กลุ่มเซรามิก และกลุ่มเฟอร์นิเจอร์ ว่า ในปีนี้มีจำนวนแรงงานใน 14 กลุ่มดังกล่าว รวมทั้งสิ้น 3,399,922 คน แต่ในช่วง 5 ปีข้างหน้า จะมีความต้องการแรงงานเพิ่มขึ้นถึง 681,836 คน ในจำนวนนี้เป็นความต้องการของแรงงานที่จบไม่เกิน ม.6 จำนวน 395,772 คน หรือ ร้อยละ 11.64 รองลงมาคือ ระดับ ปวช./ปวส. 199,395 คน คิดเป็นร้อยละ 5.86 และระดับปริญญาตรีขึ้นไป จำนวน 86,669 คน คิดเป็นร้อยละ 2.55
      รมว.ศึกษาธิการ กล่าวต่อไปว่า เมื่อแยกเป็นรายสาขา พบว่า ระดับอาชีวศึกษา สาขาที่เป็นความต้องการมากที่สุด 5 อันดับแรก คือ ช่างกลโรงงาน 50% ช่างเชื่อม 20% และสาขาไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ แมคคาทรอนิกส์ และแม่พิมพ์ สาขาละ 10%  ส่วนระดับอุดมศึกษา สาขาที่เป็นความต้องการมากที่สุด 5 อันดับแรก คือ 
- วิศวกรรม 70% 
- การตลาด และคอมพิวเตอร์ 20% 
- บัญชีการเงิน กฎหมายและธุรการทั่วไป 10% 
     ซึ่งจากข้อมูลดังกล่าวจำเป็นที่ผู้ผลิตกำลังคนของภาครัฐ เช่น  สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา(สอศ.) สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา(สกอ.) และสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) ต้องมาวางแผนทำงานร่วมกับภาคเอกชนให้ใกล้ชิดมากยิ่งขึ้น พร้อมทั้งควรทบทวนกฎระเบียบกติกาต่างๆ ให้ผ่อนคลายลง เพื่อเอื้ออำนวยให้ภาคเอกชนเข้ามาร่วมจัดการศึกษาให้มากขึ้น เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการแรงงานใน 5 ปีข้างหน้าให้ได้มากที่สุด
      “ทั้งนี้จะมีการตั้งคณะทำงานร่วมกันเพื่อหาผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง เช่น ด้านการจัดทำหลักสูตร การฝึกอบรมและพัฒนา จากสถาบันการศึกษาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งของไทยและต่างประเทศ ให้มาร่วมกันกำหนดหลักสูตร คุณลักษณะ สมรรถนะหลัก และมาตรฐานฝีมือของแรงงานที่ต้องการในสาขาต่างๆ  รวมถึงสร้างเครือข่าย เพื่อให้บริษัทชั้นนำของไทยและต่างประเทศเข้ามาร่วมทำงานด้วยกันมากขึ้น จากนั้นกระทรวงศึกษาธิการจะจัดให้มีการประชุมเชิงปฏิบัติการ หรือ Workshop เกี่ยวกับการผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษาให้สอดคล้องกับความต้องการของ ประเทศร่วมกันทั้งภาครัฐและเอกชนภายในเดือนสิงหาคมนี้ โดยเน้นให้สังคมตื่นตัวและเห็นความสำคัญของการเรียนสายอาชีพในอนาคต ที่จบแล้วมีงาน มีรายได้สูง โดยเฉพาะนักเรียนนักศึกษาและผู้ปกครอง ซึ่งจะส่งผลต่อสัดส่วนผู้เรียนสายอาชีพในสาขาที่เป็นความต้องการของตลาดแรง งานได้”นายจาตุรนต์กล่าว



วันจันทร์ที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2556



"วิศวะแห่งองค์ราชา วิศวะมหิดล"

     มหิดลเป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดของประเทศในปัจจุบัน โดยเฉพาะด้านการสาธารณสุขและแพทยศาสตร์ซึ่งอาจพูดได้เลยว่าหมิดลเป็นอันดับหนึ่งของประเทศเลยในเวลานี้ ในแต่ละปีมหิดลจะมีผลงานวิจัยและการทดลองทางวิทยาศาสตร์ต่างๆที่เป็นผลงานระดับโลกออกมาเสมอ ดังนั้นจะเห็นได้ว่ามหิดลเป็นสุดยอดของมหาวิทยาลัยสายวิทยาศาสตร์ ทำให้คณะวิศวกรรมของที่นี่เป็นที่ยอมรับ ถึงจะเปิดคณะได้เพียงไม่นานนักแต่คุณภาพของวิศวกรที่จบจากมหิดลนั้นถือไม่ต่างจากมหาลัยแรกๆที่เปิดสอนทางด้านวิศวะเลย เนื่องด้วยอุปกรณ์ที่ทันสมัย คุณภาพของอาจารย์ผู้สอน และสภาพแวดล้อมต่างๆ ทำให้เป็นหนึ่งในทางเลือกที่ดีเลยครับสำหรับการเรียนวิศวกรรม 
     ในด้านของคะแนนแอดมิสชั่น คะแนนของคณะวิศวกรรมมหิดลนั้นจะถือว่าไม่สูงมาก ยกเว้นภาควิชาเคมีและภาควิชาชีวการแพทย์ซึ่งภาควิชาชีวการแพทย์นี้ถือว่าเป็นเป็นสาขาที่เป็นที่ต้องการในอนาคตอย่างมากและมีไม่กี่มหาวิทยาลัยในไทยที่เปิดสอนในระดับปริญญาตรี ส่วนภาควิชาอื่นๆนั้นคะแนนไม่สูงมาก ซึ่งอาจจะเป็นเพราะว่ามหิดลนั้นกำหนดเกณฑ์ขั้นต่ำว่าจะต้องได้คะแนนโอเน็ทขั้นต่ำ 30% ในห้าวิชาหลัก ถึงจะมีสิทธิแอดเข้าที่นี่ครับ



(ภาพตึกคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล)

      คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดรับนักศึกษารุ่นที่ 1 ในปีการศึกษา 2533 จัดการเรียนการสอนที่มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา โดยในช่วงแรกได้อาศัยอาคารโรงประลองของคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ เป็นสำนักงานและอาคารเรียนชั่วคราว จนกระทั่งในปี 2536 กลุ่มอาคารอำนวยการ (อาคาร 1) อาคารเรียนและปฏิบัติการรวม (อาคาร 2) ก่อสร้างแล้วเสร็จ สามารถใช้ดำเนินการเรียนการสอนได้อย่างเต็มรูปแบบ
      ต่อมายังได้รับงบประมาณตามแผนพัฒนาโดยมีอาคารเรียนและปฏิบัติการหลังใหม่ (อาคาร 3) ในปี ๒๕๔๒ นอกเหนือจากความพร้อมด้านอาคารสถานที่แล้ว คณะวิศวกรรมศาสตร์ยังได้รับงบประมาณสนับสนุนในการจัดซื้อครุภัณฑ์ เครื่องมือ อุปกรณ์ที่ทันสมัยเพื่อใช้ในการเรียนการสอน การทำวิจัย และการบริการวิชาการแก่สังคมอีกนับเป็นจำนวนหลายร้อยล้านบาท นับจากปี 2536 ซึ่งคณะวิศวกรรมศาสตร์เปิดการเรียนการสอนในระดับปริญญาตรีเพียง 4 หลักสูตร และมีนักศึกษารุ่นแรกเพียง 40 คน

ปัจจุบันคณะวิศวกรรมศาสตร์จัดการเรียนการสอนในระดับปริญญาตรี 9 หลักสูตร คือ
 - สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล 
- สาขาวิชาวิศวกรรมเคมี 
- สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า 
- สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ 
- สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ 
- สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา 
- สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้าสื่อสาร 
- สาขาวิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ 
- สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์



วันเสาร์ที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2556





(ภาพเฟรชชี่คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์)

 ในการเรียนระดับมหาวิทยาลัยความรับผิดชอบต้องมาก่อน
     เมื่อเราสามารถผ่านการสอบคัดเลือกเข้าไปศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยแล้ว ยังฟิตหาหนังสือเรียนที่จะใช้เรียนในมหาลัยมาอ่านกันหรอกครับ แต่พยายามเตรียนพร้อมและปรับตัวกับหลายสิ่งหลายอย่างที่กำลังจะเปลี่ยนไปจากการเรียนมัธยมเป็นอย่างมาก เพราะเราอาจจะคุ้นเคยกับการเข้าแถวเคารพธงชาติทุกวัน
แต่ในมหาวิทยาลัยไม่มีแล้วครับ บางครั้งแปดโมงเช้าแล้วเรายังนอนกลิ้งอยู่บนเตียงอยู่เลยเพราะว่าวันนี้ไม่มีเรียนตอนเช้า หรืออาจจะกำลังกินข้าวอยู่กับเพื่อนที่โรงอาหารเพราะมีเรียนตอนเก้าโมงเช้า ความเปลี่ยนแปลงที่สำคัญและน่ากลัวที่สุดของช่วงรอยต่อระหว่างมัธยมศึกษาและการเรียนระดับมหาวิทยาลัยก็คือ"ความรับผิดชอบ"ครับ เพราะในระดับมหาวิทยาลัยไม่มีใครมาสั่งคุณอีกแล้วครับว่าคุณต้องตื่นนะ คุณต้องเข้าเรียนนะ คุณต้องอ่านหนังสือนะ ทุกอย่างขึ้นอยู่กับความรับผิดชอบของตัวเองครับว่าต้องการที่จะทำอะไร ไม่มีคุณครูมาจู้จี้จุกจิกเรื่องส่วนตัวของพวกเราอีกแล้วครับ
    
     ฟังแล้วแล้วคงดูเหมือนสวรรค์ของน้องๆขาสั้นคอซองใช่ไหมครับ แต่ว่า.. ท่ามกลางสวรรค์นี้ก็ไม่ได้หมายความว่าจะมีแต่เรื่องดีๆเสมอไปเพราะการที่เราอยากทำอะไรก็ทำ ไม่มีใครมาบังคับเราแล้ว ทำให้ระดับความรับผิดชอบของเราลดต่ำลงอย่างไม่รู้ตัวครับ จากที่เคยไปเรียนสาย โดดเรียน ไม่มีเรียนโดยไม่มีเหตูผล ออกจากโรงเรียนทั้งที่ยังไม่เลิกเรียนซึ่งถือว่าเป็นเรื่องใหญ่ในระดับมัธยม ต้องถูกหักคะแนน ถูกทำโทษ ถูกเชิญผู้ปกครอง แต่ในระดับมหาลัยแล้วเรื่องพวกนี้แทบจะกลางเป็นเรื่องปกติ บางวิชาเราอาจเห็นเพื่อนบางคนแค่วันสอบเก็บคะแนนเท่านั้น


(ภาพเฟรชชี่คณะวิศวกรรมศาสตร์ ภาควิชา EBM มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์)

  
เรียนน้อยลงแต่เรียนยากขึ้น
     การเรียนการสอนในมหาวิยาลัยนั้นไม่ได้มีตารางเรียนแน่นสุดๆเหมือนระดับมัธยมปลายอีกแล้วที่จะมีเวลาพักเพียงช่วงพักเที่ยงเท่านั้น นักศึกษาปีหนึ่งนั้นทางมหาวิทยาลัยจะจัดตารางเรียนให้ก่อนซึ่ก็ไม่ได้หมายความว่าทุกวันจะเริ่มเรียนแปดโมงเช้าเสมอไป บางวันเรียนเก้าโมง บางวันเรียนสิบโมง บางวันเรียนแค่ตอนบ่ายหรืออาจจะไม่มีเรียนเลยทั้งวันก็เป็นได้ การเข้ารียนในระดับมหาวิทยาลัยนั้นบางวิชาจะไม่มีการเช็คชื่อ ไม่มีคะแนนจิตพิสัยให้เหมือนตอนมัธยม เข้าเรียนทุกคาบแต่ทำข้อสอบไม่ได้ก็ได้เกรด F ไปเป็นเรื่องปกติ บางคนไม่เข้าเรียนเลยแต่ตั้งใจอ่านหนังสือค้นคว้าด้วนตัวเองจนคว้าเกรด A มาได้ก็มีเหมือนกัน ดังนั้นสิ่งที่ต้องปรับตัวให้มากก็คือการมีความรับผิดชอบต่อตัวเองครับ บางคนว่างตอนเช้า นอนเพลินตื่นมาอีกทีก็บ่ายโมง ทำให้สุดท้ายไม่ได้เข้าเรียนคาบวิชาตอนบ่ายเสียอย่างนั้น เพราะอาจารย์ก็ไม่เช็คชื่อ ไม่รู้จะเข้าเรียนไปทำไม เข้าไปก็หลับ นักศึกษาหลายๆคนรู้สึกแบบนี้เมื่อได้มาเรียนมหาลัยครับ ซึ่งเป็นเรื่องปกติ ต่างกันอยู่ที่ว่าสำหรับคนที่มีความรับผิดชอบแล้วแม้ว่าเขาจะตื่นไปเรียนไม่ทัน เขาก็จะถามเพื่อนว่าเรียนเรื่องอะไร และก็ใช้เวลาคว้าเรื่องนั้นๆให้เข้าใจ เพื่อที่ว่าเวลาสอบจะได้ทำได้ครับ
ต่างจากคนที่ไม่มีความรับผิดชอบซึ่งเมื่อไม่ได้ไปเรียนแล้วก็ปล่อยให้มันผ่านไปเฉยๆสุดท้ายแน่นอนครับ ไม่มีทางทำข้อสอบที่เป็นข้อเขียนล้วนๆได้เลย ดังนั้น"ความรับผิดชอบ"จึงเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างมากๆในการเรียนระดับมหาวิทยาลัยครับ




(ภาพบรรยากาศการสอบสัมภาษณ์)

เตรียมตัวสอบสัมภาษณ์ คณะวิศวกรรมศาสตร์
     ในการที่จะเข้าเรียนในคณะวิศวกรรมศาสตร์การสอบข้อเขียนไม่ใช่ปราการเดียวที่จะชี้วัดว่าเราจะได้เข้าศึกษาไหม เมื่อคะแนน Onet gat และ pat ต่างๆ ของเราผ่านเกณฑ์ที่ทางสถาบันต้องการแล้ว อีกหนึ่งการสอบที่เราจะต้องพบคือการสอบสัมภาษณ์ครับ และการสอบสัมภาษณ์ในการเข้าศึกษาต่อนี้ สำหรับในรอบแอดมิสชั่นนั้นถือว่าไม่มีอะไรที่ต้องกังวลเลย พูดได้เลยว่าถ้าคะแนนเราถึงเกณฑ์ที่เขาต้องการแล้วถือว่า 99.99% แล้วล่ะครับ ที่เราจะได้เข้าไปเรียนในสถาบันนั้น แต่ถ้าเป็นรอบการรับตรงนี่ถือว่ามีส่วนสำคัญมากที่จะตัดสินอนาคตว่าเราจะได้เข้าศึกษาในสถาบันนี้เลยครับ เพราะการรับตรงหลายๆสถาบันจะคัดเอาคนที่มีบุคลิกภาพ ทัศนคติและศักยภาพที่เหมาะสมเข้าไปศึกษา ถ้าเห็นว่าไม่เหมาะสมก็สามารถให้ตกได้ทันทีแล้วค่อยไปรับเพิ่มในรอบแอดมิสชั่นเอา
     ดังนั้นการสอบสัมภาษณ์จึงมีความสำคัญระดับหนึ่งเลยล่ะครับ มาดูพื้นฐานที่ดีในการสอบสัมภาษณ์กันเลยครับ

     - พื้นฐานในการเตรียมตัวไปสอบสัมภาษณ์นั้นคณะใดๆก็ไม่ได้แต่ต่างกันครับในเรื่องของการแต่งตัวให้ถูกกฎระเบียบ ตรงนี้ถือเป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่งเพราะบอกเลยครับว่าจุดประสงค์ในการสอบสัมภาษณ์นี้เข้าจะดูบุคลิกภาพของเราด้วย
    
     - เมื่อทราบสถานที่ที่แน่นอนแล้ว เพื่อป้องกันการหลงทางในวันจริงควรลองไปสำรวจสถานที่นั้นก่อนครับ

     - เมื่อถึงวันสอบจริงควรไปถึงก่อนเวลานัดสัก15 นาที เพื่อกันการไปสายหรือเหตุขัดข้องอื่นๆ
    
     - การมีสัมมาคารวะและมารยาทที่ดีซึ่งควรปฎิบัติกันอยู่แล้วก็เอาไปปฎิบัติในห้องสอบด้วยนะครับ
    
     - เนื้อหาของคำถามที่มักจะเจอ
คำถามส่วนใหญที่เจอแน่ๆในการสอบสัมภาษณ์
1.มีอาชีพในฝันเป็นอะไร คิดว่าเรียนจบไปจะไปทำอะไร
2.บอกเหตุผลที่เลือกเข้ามาเรียนในคณะนี้ของมหาวิทยาลัยนี้หน่อย
3.ชอบวิชาอะไรและไม่ชอบวิชาอะไร
4.ถ้าไม่ได้เรียนที่นี่แล้วจะไปเรียนที่ไหน
5.สมมติว่าเรียนแล้วเกิดมีปัญหาที่ส่งผลต่อการจบการศึกษาแล้วจะทำอย่างไร
6.รู้รึเปล่าว่าคณะนี้เรียนเกี่ยวกับอะไร รู้อะไรเกี่ยวกับคณะนี้บ้าง
7.บ้านอยู่ไหน มีพี่น้องกี่คน เดินทางมียังไง กินข้าวหรือยัง กินกับอะไร อร่อยไหม ? ฯลฯ

     ซึ่งคำตอบนั้นมันไม่ได้ตายตัวอยู่แล้วครับ ขึ้นอยู่กับทัศนคติหรือเหตุผลของแต่ละคน แต่สิ่งที่สำคัญคือควรจะค้นข้อมูลเกี่ยวกับคณะและมหาวิทยาลัยที่เรียกเราไปสอบสัมภาษณ์ไว้ให้เยอะที่สุดไว้ก่อน จะเอาความรู้เกี่ยวกับวิศวกรรมที่เคยได้อ่านจากในหนังสือไปตอบก็ได้พยายามตอบให้เป็นกลางและเป็นตัวของตัวเองมาที่สุด ไม่ต้องเลิศหรู หรือพูดเหมือนว่าเราท่องสคริปต์มา ตอบให้ชัดเจนและฉะฉานพร้อมทั้งแสดงความมั่นใจในตัวเองเพื่อให้กรรมการสอบสัมภาษณ์เห็นศักยภาพที่แท้จริงในตัวเรา

   
 
(ภาพบรรยากาศการสอบสัมภาษณ์)


     - บางคำถามของการสอบสัมภาษณ์อาจอยู่เหนือการเตรียมตัว เพราะว่าเขาต้องการที่จะดูความสามารถในการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าของเรา คำถามที่ถามอาจจะเป็นคำถามที่ยากเกินได้หรือคำถามที่เขามั่นใจว่าเราไม่รู้แน่ๆแต่อย่าตกใจไปครับ ให้ลองหยุดคิดซักนิดและหาคำตอบที่ดีที่สุดในความคิดของเรามาตอบ แต่ถ้าไม่ทราบจริงๆ ก็ตอบไปว่าไม่รู้ครับ แต่อย่าตอบไปแค่ว่าไม่รู้เฉยๆนะ ให้พยามยามอธิบายว่าทำไมเราถึงไม่รู้ หรืออาจบอกไปว่าจะพยายามกลับไปศึกษาค้นคว้าเพื่อนหาคำตอบของคำถามครับ เพื่อที่จะแสดงให้เขาเห็นถึงความใฝ่รู้ของเรา
   
     - บางคำถามอาจออกแนวกดดัน คล้ายกวนๆเล็กน้อย ตรงนี้ของให้รู้ไว้เลยครับว่าเป็นแผนของกรรมการสอบสัมภาษณ์นะครับ คือเขาต้องการวัดวุฒิภาวะทางอารมณ์ของเราว่ามีแค่ไหน ถ้าเราเกิดแสดงอารมณ์โกรธ โมโห ใส่กรรมการสอบสัมภาษณ์ ก็เท่ากับว่าเราติดกับเขาครับ ถ้ารุนแรงอาจถึงขั้นทำให้เราตกสัมภาษณ์ได้เลยทีเดียว ด้วยเหตุผลว่าเขาต้องการคนที่มีความอดทนและสามารถอดทนอดกลั้นอารมณ์ได้ครับ
     - เทคนิคการตอบคำถามแบบกดดันและกวนๆอย่างเช่น "คณะนี้เรียนยากนะ ทั้งฟิสิกส์ ทั้งแคลคูลัส คุณจะเรียนไหวเหรอ ? แน่ใจรึเปล่า ?" ให้ตอบไปอย่างมั่นใจว่า "ไหวครับ ได้เข้ามาเรียนในคณะนี้แล้วผมจะตั้งใจและพยายามให้ดีที่สุดครับ"

     จะเห็นได้ว่าการสอบสัมภาษณืนี้ไม่ใช่เรื่องยากเลยครับ ถ้าเตรียมตัวค้นหาข้อมูลและซ้อมตอบคำถามต่างๆเหล่านี้ให้คล่อง แล้วการสอบผ่านการสัมภาษณ์นี้ถือว่าเป็นเรื่องง่ายดายเลยล่ะครับ การผ่านเข้าไปศึกษาในคณะวิศวกรรมศาสตร์นั้นถือว่าเป็นแค่จุดเริ่มต้นของว่าที่วิศวกรเท่านั้นครับ เพราะหนทางที่จะจบออกมาเป็นวิศวกรเต็มตัวนั้นต้องฝ่าฟันกันไปอีกถึง 4 ปีเต็ม ดังนั้นเรามาเตรียมตัวก้าวสู้รั้วคณะในฐานะน้องใหม่ Freshy ของลูกพระวิศณุกรรมกันเลยดีกว่าครับ



แอดมิชชันวิศวกรรมศาสตร์
      
     ตามระบบแอดมิชชันในปัจจุบัน สิ่งที่ว่าที่วิศวกรจะต้องใช้ในการสอบเข้าแข่งขันแบ่งได้ดังนี้

คะแนน GPAX 20%
     คือผลการเรียนตลอดหลักสูตรในระดับมัธยมปลาย ดังนั้นถ้าใครที่ตอนนี้เพิ่งเข้าเรียนมัธยมปลาย ก็เร่งฟิตทำเกรดให้สูงไว้จะได้เปรียบค่อนข้างมากเลยทีเดียว แต่ถ้าใครที่กำลังขึ้น ม.6 เพิ่มเกรดไม่ทันแล้วก็ไม่เป็นไรครับเพราะ GPAX เป็นเพียงแค่ส่วนหนึ่งเท่านั้น เราสามราถไปฟิตที่ตัวอื่นและทำให้ผลรวมของคะแนนสูงขึ้นมาก็ได้เช่นกัน
     ดังนั้นถ้าใครที่เกรดมัธยมปลายไม่ค่อยสูงเท่าไร แต่โอกาศที่จะสามารถเข้าไปเรียนในคณะวิศวกรรมศาสตร์ดังที่ใจหวังก็ยังมีสูงอยู่ครับ

คะแนน O-net 30%
      มาดูที่โอเน็ทกันบ้าง สำหรับข้อสอบนี้เป็นเหมือนการทดสอบความรู้ในระดับชั้นมัธยมปลายซึ่งการสอบในส่วนนี้จะมีวิชาภาษาไทยและสังคมศึกษาด้วย ดังนั้นจึงต้องฟิตวิชาเหล่านี้ด้วยเพื่อนช่วยดึงคะแนนโอเน็ทให้สูงขึ้น ใครที่เกรด GPAX ไม่ค่อยสูง ก็มาฟิตที่วิชาทั่วไปในโอเน็ทก็จะช่วยได้ไม่น้อยเลยทีเดียว เพราะสัดส่วนของโอเน็ตนั้นสูงถึง 30% เรียกได้ว่าสูงกว่าสัดส่วนของคะแนนอื่นๆทุกรูปแบบเลยก็ว่าได้
     ดังนั้นความรู้ทางด้านภาษาไทยและสังคมก็อย่าเพิ่งทิ้งนะครับ ไว้ให้สอบโอเน็ทเสร็จเรียบร้อยก่อนค่อยว่ากัน

คะแนน GAT 15%
     แกท เป็นข้อสอบที่วัดความถนัดทั่วไปแบ่งออกเป็นการวัดความสามารถทางด้านการอ่าน เขียน คิดวิเคราะห์ 50% และการสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษอีก 50% มีทั้งปรนัยและอัตนัย ข้อสอบแกทนี้ต้องลองหาตัวอย่างข้อสอบมาฝึกทำดูครับ แล้วจะได้รู้ว่ามันเป็นอย่างไร เราจะเจออะไร เพราะเรื่องของการคิดวิเคราะห์และความถนัดนั้นเป็นสิ่งที่ต้องฝึกฝนจึงจะชำนาญครับ

คะแนน PAT1 15%
     เป็นการวัดศักยภาพทางคณิตศาสตร์ล้วนๆครับ เพราะสำหรับวิศวกรต้องรักการคำนวนเป็นชีวิตจิตใจ ดังนั้นความรู้ในแต่ละบทที่ได้เรียนมาในชั้น ม.ปลาย หรืออาจจะรวม ม.ต้น ด้วยนิดหน่อยก็จะได้เอามาใช้ประโยชน์ในตอนนี้แหละครับ ถึงแม้ว่า pat1 จะมีสัดส่วนเพียง 15% แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าไม่สำคัญนะ เพราะ pat1 คือการทดสอบวัดความถนัดทางด้านการคำนวนของเรา ก่อนที่จะเข้าไปเจอความโหดร้ายที่มากกว่าหลายเท่าตัวในระดับมหาวิทยาลัย ดังนั้นคะแนนในส่วนนี้จึงเป็นเครื่องชี้วัดได้อีกทางหนึ่งเลยครับว่าเราจะสามารถต่อกรกับคณิตศาสตร์ระดับสูงในมหาวิทยาลัยได้มากน้อยเพียงใด แต่ก็ไม่ใช่เพียงแค่คณิตศาสตร์ครับที่ต้องใช้ยังมีอีกส่วนที่สำคัญกว่าและมีสัดส่วนถึง 20% คือ pat3 นั่นเอง

คะแนน PAT3 20%
     เป็นการวัดศักยภาพความถนัดทางวิศวกรรมศาสตร์มีทั้งเรื่องของความถนัดทางเชิงช่าง การคิดวิเคราะห์ ความคิดเชิงตรรกะ สามัญสำนึกเรื่องความปลอดภัยกับสิ่งแวดล้อม การแก้ปัญหาและธรรมชาติของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งประเด็นเหล่านี้จะถือเป็น 15% ของคะแนนทั้งหมดใน pat3 เรียกได้ว่าจะเป็นวิศวกรก็ต้องมีความรู้พื้นฐานการช่างกันบ้าง ส่วนอีก 85% ที่เหลือแทบจะเป็นฟิสิกส์เน้นๆเลย มีทั้งเรื่องกลศาสตร์ เช่น แรง มวล กฎการเคลื่อนที่ต่างๆ ไฟฟ้า แม่เหล็กไฟฟ้า คลื่น แสง เสียง พลังงานความร้อน ของไหล และรวมทั้งวิชาเคมีอย่างสารและสมบัติของสารด้วย



  
     จะเห็นได้ว่า pat1 และ  pat3 ทำให้ชีวิตของวิศวกรเกี่ยวข้องกับการคำนวนขนาดไหน  คณิตศาสตร์เปรียบเสมือนเครื่องมือช่วยให้การวิเคราะห์และการออกแบบเป็นไปได้ โดยใช้ศาสตร์ที่เรียกว่าฟิสิกส์หรือที่เรียกว่าวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ เข้ามาร่วมด้วย สองวิชานี้เปรียบเสมือนเครื่องมือหากินของวิศวกรเลยครับ เพราะเมื่อรวมกันแล้วมีสัดส่วนถึง 35% มากกว่า O-NET ซะอีก

 
     แต่การ admission ก็ไม่ได้เป็นเพียงหนทางเดียวในการสอบเข้ามหาลัยนะ แต่ละสถาบันก็จะมีการสอบตรงเข้าคณะวิศวกรรมศาสตร์ได้เลยเช่นกัน โดยใช้คะแนน GPAX Gat และ Pat ซึ่งแต่ละแห่งก็จะใช้สัดส่วนของคะแนนแตกต่างกันไป บ้างก็ใช้  pat1 บ้างก็ใช้ pat2 ต้องลองเช็คดูตามเว็บของแต่ละมหาลัยครับ  ยังไงก็ลองเช็ดดูด้วยตัวเองเพื่อความมั่นใจครับ เผื่อมหาวิทยาลัยในฝันจะเปิดรับตรง จะได้เตรียมสอบ Pat ได้ตรงตามที่สถาบันต้องการที่จะเข้าไปเรียนครับ

วันศุกร์ที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2556


อันดับ 5 Imperial College London
(United Kingdom)


      Imperial College London หรือชื่ออย่างเป็นทางการว่า The Imperial College of Science, Technology and Medicine แห่งกรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร เป็นสถาบันที่มีชื่อเสียงมากโดยเฉพาะในด้านวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีค่ะ โดยวิทยาลัยแห่งนี้นั้น มักจะได้รับการจัดอันดับจากสำนักต่างๆให้อยู่ในระดับต้นๆของทวีปยุโรปเสมอ (คู่คี่สูสีมากับมหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด และ มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์เลยล่ะค่ะ) นอกจากนี้บุคลากรของวิทยาลัยแห่งนี้ก็เคยได้รับรางวัลโนเบลจำนวนทั้งหมด 15 รางวัลเลยด้วย และสำหรับคณะวิศวกรรมศาสตร์ของที่นี่ก็นับเป็นสถาบันหนึ่งที่เป็นผู้นำใน ด้านของการศึกษา และเป็นที่รู้จักและยอมรับกันไปทั่วโลกเลยล่ะค่ะ โดยเฉพาะในสาขาวิศวกรรมโยธา ที่ได้เป็นที่ 5 ของโลก และได้เป็นที่ 2 ในสหราชอาณาจักรค่ะ

สาขาที่เปิดสอน
- Aeronautics (วิศวกรรมการบินและอวกาศยาน)
- Bioengineering (วิศวกรรมชีวเวช)
- Chemical engineering (วิศวกรรมเคมี)
- Civil and Environmental Engineering (วิศวกรรมโยธาและสิ่งแวดล้อม)
- Computing (วิศวกรรมคอมพิวเตอร์)
- Earth Science and Engineering (วิทยาศาสตร์โลกและวิศวกรรมศาสตร์)
- Electrical and Electronic Engineering (วิศวกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์)
- Materials (วิศวกรรมวัสดุ)
- Mechanical Engineering (วิศวกรรมเครื่องกล)

 ค่าเล่าเรียนต่อปี
£ 24,500 (ประมาณ 1,230,000 บาท)



 อันดับ 4 University of California, Berkeley (UCB) 
(United States)


      University of California, Berkeley หรือ UC Berkeley แห่งนี้  เป็นมหาวิทยาลัยรัฐ ตั้งอยู่ในเมืองเบิร์กลีย์ ทางทิศตะวันออกของเมืองซานฟรานซิสโก ในมลรัฐแคลิฟอร์เนีย ก่อตั้งมาตั้งแต่ในปี ค.ศ.1868 ซึ่งนับว่าเป็นมหาวิทยาลัยเก่าแก่และมีชื่อเสียงที่สุดในกลุ่มมหาวิทยาลัยใน แคลิฟอร์เนียเลยค่ะ และก็ยังเป็นมหาวิทยาลัยอีกแห่งหนึ่งของโลกที่มีชื่อเสียงในสาขาวิศวกรรม ศาสตร์ด้วย โดยคณะวิศวะฯของที่นี่นั้นเป็นหนึ่งในทั้งหมด 14 คณะของ UC Berkeley และคณะวิศวกรรมศาสตร์ของสถาบันนี้ก็ถือว่าเป็นคณะหนึ่งที่ได้รับการยอมรับ อย่างสูง และมีชื่อเสียงเป็นอย่างมากในด้านของการเรียนการสอน โดยแสดงจุดยืนของตนเองในการใช้ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี เพื่อสร้างโอกาสให้กับนวัตกรรมใหม่ๆในทุกสาขาของวิศวกรรมเลยล่ะค่ะ


สาขาที่เปิดสอน
- Bioengineering (วิศวกรรมชีวเวช)
- Civil & Environmental Engineering (วิศวกรรมโยธาและสิ่งแวดล้อม) 
- Electrical Engineering & Computer Sciences (วิศวกรรมไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์) 
- Industrial Engineering & Operations Research (วิศวกรรมอุตสาหการ) 
- Materials Science & Engineering (วิศวกรรมวัสดุ) 
- Mechanical Engineering (วิศวกรรมเครื่องกล) 
- Nuclear Engineering (วิศวกรรมนิวเคลียร์) 

ค่าเล่าเรียนต่อปีปริญญาตรี $18,669.25 (ประมาณ 585,000 บาท)
ปริญญาโท $15,043.25 (ประมาณ 470,000 บาท)




อันดับ 3 University of Cambridge 
(United Kingdom)


      มหาวิทยาลัย Cambridge ที่มีชื่อเสียงที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศอังกฤษ ได้อันดับที่สามในสาขาวิชาวิศวกรรมศาสตร์ในการจัดอันดับของโลกไปค่ะ โดยคณะวิศวะฯของมหาวิทยาลัยอันเก่าแก่แห่งนี้ (มหาวิทยาลัยก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 1209 นู่นแหนะค่ะ) นอกจากจะเป็นที่ยอมรับและมีชื่อเสียงในระดับโลกแล้ว คณะวิศวะฯของที่นี่ยังถือเป็นคณะที่ใหญ่ที่สุดในภาคพื้นทวีปยุโรป และใหญ่ที่สุดในบรรดาคณะต่างๆของ Cambridge ทั้งหมดด้วย อีกทั้งยังได้รับมาตรฐานในระดับสูงสุด ทั้งในด้านของการวิจัยและหลักสูตรการเรียนการสอนโดยรวม โดยชื่อเสียงที่โด่งดังไปในระดับสากลของที่นี่นั่นเอง ที่ช่วยดึงดูดนักเรียนนักศึกษาระดับหัวกะทิจากทั่วทุกมุมโลกให้มาสมัครเข้า เรียนค่ะ  


สาขาที่เปิดสอน
- Mechanical (วิศวกรรมเครื่องกล)
- Energy and the Environment (วิศวกรรมสิ่งแวดล้อมและพลังงาน)
- Aerospace and Aerothermal (วิศวกรรมการบินและอวกาศยา)น
- Civil, Structural and Environmental (วิศวกรรมโยธา โครงสร้างและสิ่งแวดล้อม)
- Electrical and Electronic (วิศวกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์)
- Information and Computer (วิศวกรรมสารสนเทศและคอมพิวเตอร์)
- Instrumentation and Control (วิศวกรรมระบบอุปกรณ์และการควบคุม)
- Engineering for the Life Sciences (วิศวกรรมเพื่อวิทยาศาสตร์สิ่งมีชีวิต)
- Chemical Engineering (วิศวกรรมเคมี)
- Manufacturing Engineering (วิศวกรรมอุตสาหการ)

 ค่าเล่าเรียนต่อปี
£19,800 ปอนด์ (ประมาณ 1,000,000 บาท)



อันดับ 2 Stanford University 
(United States)

      อันดับสองเป็นของมหาวิทยาลัยชื่อดังแห่งสหรัฐฯ อย่าง Stanford University ที่เป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางไปทั่วโลก ในฐานะสถาบันการศึกษาที่เป็นผู้นำในด้านการวิจัยและการสอนที่มีคุณภาพ ส่วนในด้านวิศวกรรมศาสตร์ของที่นี่นั้นก็มีชื่อเสียงไม่แพ้สาขาวิชาอื่นๆ โดยนักศึกษาวิชาวิศวะฯของที่นี่ จะได้รับการศึกษาในหลักสูตรที่ยอดเยี่ยมบนพื้นฐานของวิชาเอกที่นักศึกษาเป็น ผู้เลือก และในขณะเดียวกัน ก็จะได้รับโอกาสที่สำคัญในการเรียนรู้ทักษะต่างๆที่มีความจำเป็นในการเป็น ผู้นำ เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการทำงานในอนาคตภายหน้าด้วย นอกจากนี้ที่ Standford ยังเน้นการผลักดันเพื่อให้เกิดการค้นพบใหม่ๆที่สำคัญต่อการพัฒนาในวงการ วิศวกรรมอีกด้วยค่ะ สรุปแล้วเอาเป็นว่า ถ้าของเขาไม่ดีจริงก็คงไม่เป็นสถาบันที่มีชื่อเสียงขนาดนี้หรอกเนอะ

สาขาวิชาที่เปิดสอน
- Aeronautics and Astronautics (วิศวกรรมการบินและอวกาศยาน)
- Bioengineering (วิศวกรรมชีวเวช)
- Chemical Engineering (วิศวกรรมเคมี)
- Civil and Environmental Engineering (วิศวกรรมโยธาและสิ่งแวดล้อม)
- Computer Science (วิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์)
- Electrical Engineering (วิศวกรรมไฟฟ้า)
- Management Science and Engineering (วิทยาการจัดการและวิศวกรรม)
- Materials Science and Engineering (วิศวกรรมวัสดุ)
- Mechanical Engineering (วิศวกรรมเครื่องกล)

ค่าเล่าเรียนต่อปีปริญญาตรี $13,350 (ประมาณ 418,000 บาท)
ปริญญาโท $14,220 (ประมาณ 445,000 บาท)


อันดับ 1 Massachusetts Institute of Technology (MIT)
(United States)
     อันดับหนึ่งตกเป็นของตัวเต็งอย่าง Massachusetts Institute of Technology แห่งสหรัฐอเมริกา หรือที่เราคุ้นหูกันดีในชื่อของ MIT ที่ติดอันดับต้นๆในหลากหลายสาขาวิชา (ใครติดตามอ่านการจัดอันดับของเรามาตลอดคงจะจำกันได้ใช่มั้ยล่ะคะ) แต่สาขาวิชาที่สถาบันนี้เขาโด่งดังสุดๆ ก็ต้องเป็นคณะวิศวกรรมศาสตร์นี่ล่ะค่ะที่เป็นที่นิยมกันอย่างแท้จริง สถาบันแห่งนี้ก่อตั้งมาตั้งแต่ในปี 1861 แล้ว และคณะวิศวกรรมศาสตร์ของที่นี่ก็เป็นผู้นำในด้านของการเรียนการสอนที่มี คุณภาพมาโดยตลอด อีกทั้งมีบุคคลากรที่มีคุณภาพและได้รับรางวัลในหลากหลายสาขา แต่ข้อเสียของที่นี่นั้น ก็อย่างที่หลายๆคนคงจะทราบกันดีอยู่แล้ว...เรื่องค่าเล่าเรียนแพงลิบนั่นเอง

สาขาวิชาที่เปิดสอน
- Aeronautics and Astronautics (วิศวกรรมการบินและอวกาศยาน)
- Biological Engineering (วิศวกรรมชีวภาพ)
- Chemical Engineering (วิศวกรรมเคมี)
- Civil and Environmental Engineering (วิศวกรรมโยธาและสิ่งแวดล้อม)
- Electrical Engineering and Computer Science (วิศวกรรมไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์)
- Materials Science and Engineering (วิศวกรรมวัสดุ)
- Mechanical Engineering (วิศวกรรมเครื่องกล)
- Nuclear Science and Engineering (วิศวกรรมนิวเคลียร์)

ค่าเล่าเรียน
ปริญญาตรี  ประมาณ $55,270 (ประมาณ 1,700,000 บาท)
ปริญญาโท  ประมาณ $40,460 (ประมาณ 1,245,000 บาท)

#CR: http://www.dek-d.com/content/studyabroad/28590/




View My Blog
Subscribe to RSS Feed Follow me on Twitter!