วันอังคารที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556


 Exxon Mobil

     บริษัท เอสโซ่ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ดำเนินธุรกิจอย่างครบวงจร มีโรงกลั่นน้ำมันอันทันสมัยอยู่ที่ศรีราชา และเครือข่ายคลังน้ำมันที่จะจัดส่งน้ำมันสู่สถานีบริการทั่วประเทศ ผลิตภัณฑ์หลักได้แก่น้ำมันเชื้อเพลิงชนิดต่างๆ ผลิตภัณฑ์หล่อลื่นและปิโตรเคมี

ธุรกิจ

- โรงกลั่นน้ำมันระดับมาตรฐานโลก กำลังการผลิต 177,000 บาร์เรลต่อวัน
- โรงงานอะโรเมติกส์ กำลังการผลิตสารพาราไซลีน 500,000 ตันต่อปี
- หน่วยผลิตสารทำละลาย กำลังการผลิต 50,000 ตันต่อปี
- สถานีบริการน้ำมันเอสโซ่มากกว่า 570 แห่งทั่วประเทศ

เงินเดือนเริ่มต้น

- สำหรับวิศวกร 24000-36000 บาท
- วิศวกรฝ่ายผลิต 40000-55000 บาท
- ไม่มี OT

สวัสดิการ

- ค่ารักษาพยาบาลในส่วนของตัวเอง 100% ของครอบครัวไม่มี
- ทุนเรียนปริญญาโทในไทย ออกให้ 300,000 ที่เหลือจ่ายเอง
- ไป Business Trip บินเกิน หก ชั่วโมง ได้นั่ง Business Class
- คอร์สเทรนนิ่งต่างๆ จัดที่โรงแรมมีเทรนเนอร์ต่างชาติมาสอนประจำ ทำให้เก่งอังกฤษ
- ทำงานครบ สอง หรือ สามปี ถ้ามีพูดญี่ปุ่นได้และใบภาษาญี่ปุ่นระดับ 2 ได้เงินเพิ่มอีก 30% ของเงินเดือน
- โบนัส (Special payment guarantee) 1 เดือน
- การ์ดเติมน้ำมันฟรีตามอายุงาน
- มีฟิตเนสให้เล่นฟรี
- มีให้เรียนโยคะ เรียนเต้นรำ หรือกิจกรรมนันทนาการทุกสัปดาห์ฟรี 
- ไปต่างประเทศก็มีค่าเสื้อผ้าให้
- กู้ซื้อบ้านออกค่าดอกเบี้ยให้ตามจริง (แต่ไม่เกินห้าเปอร์เซ็นต์ ) 
- พวกกองทุน เงินช่วยเหลือ


cr:  http://www.esso.co.th


วันอาทิตย์ที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

                 

วิศวกรรมชีวการแพทย์ Biomedical Engineering

     วิศวกรรมชีวการแพทย์ หรือบางที่เรียกว่า ชีวเวช (biomedical engineering) หรือ วิศวกรรมการแพทย์ (medical engineering)  เป็นสาขาวิชาที่นำเอาความรู้ทางด้านคณิตศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ เช่น ความรู้กลศาสตร์ของไหล นำมาใช้กับการทำหัวใจเทียม หลอดเลือดเทียม , แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ (mathematical modeling) ความรู้ทางการแพทย์ และวิทยาศาสตร์แขนงต่างๆ มาประยุกต์ใช้ร่วมกัน เพื่อออกแบบ สร้างหรือพัฒนาซอฟต์แวร์ อุปกรณ์ หรือเครื่องมือทางการแพทย์ที่ได้มาตรฐาน สามารถใช้งานได้จริง รวมถึงการศึกษาค้นคว้าเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่มีความซับซ้อน และต้องการขั้นตอนการผลิตที่มีมาตรฐาน และ ประสิทธิภาพสูง เช่น นำมาอธิบายปรากฏการณ์การเปลี่ยนแปลงและการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็ง, ความรู้ทางกลศาสตร์และคอมพิวเตอร์ใช้ในการหุ่นยนต์นำการผ่าตัด เทคโนโลยีในเครื่องมือผ่าตัด เครื่องส่องดูอวัยวะในร่างกาย อุปกรณ์จ่ายยาอัตโนมัติ ข้อต่อหรืออวัยวะเทียม เครื่องวิเคราะห์สัญญาณหัวใจหรือสมอง อุปกรณ์ตรวจสอบระบบน้ำตาลในเลือด ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศทางการแพทย์ การออกแบบสร้างอุปกรณ์พิเศษที่จำเป็นต่อการบำบัดรักษา การตรวจวินิจฉัยทางการแพทย์ ไปจนถึงการสังเคราะห์โพลิเมอร์นำส่งยาเข้าสู่ร่างกาย รวมถึงการศึกษาและวิจัยอุปกรณ์เครื่องมือที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงทางการแพทย์ ต่างๆ
                
     สาขาวิศวกรรมชีวการแพทย์เป็นสาขาวิชาที่บูรณาการศาสตร์ต่างๆ ต่อไปนี้ วิศวกรรมศาสตร์ ทั้งไฟฟ้า คอมพิวเตอร์ เครื่องกล อิเล็กทรอนิกส์ นาโน วัสดุ หรือแม้แต่ความรู้ทางวิศวกรรมโยธาก็มีประโยชน์ในสาขานี้ค่ะ รวมถึงความรู้ในสาขาแพทยศาสตร์ ชีววิทยา เคมี ชีวเคมี เภสัชศาสตร์ รังสีวิทยา เทคนิคการแพทย์ เทคโนโลยีสารสนเทศ และอื่นๆ เพื่อนำความรู้มาใช้พัฒนาหรือสร้างเครื่องมือ ซอฟต์แวร์ หรืออุปกรณ์ทางการแพทย์โดยเฉพาะค่ะ
               

     ก็อย่างที่เรารู้กันอยู่ว่า การรักษานั้นต้องใช้เครื่องมือ ตั้งแต่ตรวจหาโรค วิเคราะห์ผล ลงมือทำการรักษา จนถึงการดูแลไม่ให้กลับมาเป็นโรคอีก เครื่องมือ เทคโนโลยีและซอฟท์แวร์ทั้งหมดนั่นแหละค่ะที่วิศวกรสาขานี้จะเป็นผู้เกี่ยวข้อง

     ตอนที่เรายังไม่มีสาขานี้ ก็ต้องใช้วิศวกรในสาขาอื่น (เช่น ไฟฟ้า เครื่องกล คอม ) ซึ่งไม่มีความรู้ความชำนาญเฉพาะลงไปในเรื่องของชีววิทยาและระบบร่างกายของคน หรือมีหมอเป็นผู้ทำการวิจัยซึ่งไม่มีความสามารถในด้านวิศวกรรมเพียงพอ หรือให้นักเทคนิคการแพทย์ขยับจากผู้ใช้เครื่องมือ มาทดลองสร้างเครื่องมือซะเอง หรือต้องจ้างวิศวกรชาวต่างชาติมา แต่เราเองก็มีประสิทธิภาพมากพอที่จะพัฒนาในส่วนได้ด้วยตนเองนะคะ เทคโนโลยีของเราอาจจะยังตามเค้าอยู่มาก แต่ถ้าเราไม่เริ่มก้าวกันตั้งแต่วันนี้ แล้วเมื่อไรที่เราจะตามหรือแซงหน้าเค้าได้ละคะ
           
     สำหรับน้องๆคนไหนที่มีความคิดอยากช่วยเหลือหรือมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพ กายและใจของผู้ป่วยทั้งหลายซึ่งก็คือเราๆทุกคน แต่ว่ายังมีความคิดสับสนเพราะไม่ชอบงานในงานบริการในลักษณะนั้นของพยาบาล หมอ นักสาธารณสุข และอื่นๆ ..  " วิศวกรรมชีวการแพทย์ " ก็คงเป็นอีกทางเลือกที่จะทำให้น้องได้มีส่วนร่วมในการช่วยหลือเพื่อนมนุษย์ ด้วยวิธีและความถนัดของเรานะคะ แต่ก็ต้องเน้นว่าต้องชอบวิศวกรรมและเรื่องราวทางการแพทย์จริงๆนะคะ ไม่งั้นสาขานี้จะเป็นนรกดีๆนี่เอง เพราะว่ามันก็เฉพาะทางลงไปในระดับหนึ่งแล้วค่ะ
             
     ซึ่งจากที่กล่าวมาเห็นได้ว่าวิศวกรรมชีวการแพทย์เป็นศาสตร์ที่มีความสำคัญและจำ เป็นอย่างยิ่ง ที่ต้องพัฒนาควบคู่ไปกับการพัฒนาเทคโนโลยีวิทยาศาสตร์สุขภาพและด้านการแพทย์ เพื่อประโยชน์ต่อสุขภาพของคนไทยและมนุษยชาติค่ะ



วันเสาร์ที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556


"คณะวิศวกรรมศาสตร์ ภาคพิเศษ EBM"


     EBM คือ โครงการวิศวกรรมศาสตร์และการจัดการเชิงธุรกิจ ซึ่งเป็นภาควิชาหนึ่งของคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เพื่อตอบโจทย์ความต้องการในด้านอุตสาหกรรมที่ต้องการคนที่มีความรู้ความสามารถทั้งทางด้านวิศวกรรมและศาสตร์ทางด้านการบริหาร

ลักษณะเด่นของหลักสูตร

     โครงการวิศวกรรมศาสตร์และการจัดการเชิงธุรกิจเป็นการบูรณาการและเชื่อมต่อองค์ความรู้ทางวิศวกรรมศาสตร์และพาณิชย์ศาสตร์เข้าด้วยกัน โดยการที่ยังคงองค์ความรู้ที่สำคัญและจำเป็นสำหรับการประกอบวิชาชีพวิศวกรรม ไว้ในขณะเดียวกันหลักสูตรได้จัดให้มีวิชาทางพาณิชยศาสตร์ที่เป็นความรู้ที่ สำคัญในการประกอบวิชาชีพและเป็นรากฐานที่จำเป็นให้นักศึกษาในระดับปริญญาตรี มีความพร้อมในการรับการถ่ายทอดองค์ความรู้ในระดับที่สูงขึ้นไปทางด้านพาณิชยศาสตร์ในระดับปริญญาโทด้วย

 

ชื่อปริญญา

ชื่อเต็มภาษาไทย วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วิศวกรรมโยธาและการบริหารการก่อสร้าง)
 
ชื่อเต็มภาษาอังกฤษ Bachelor of Engineering (Civil Engineering and Construction Management)
 
ชื่อย่อภาษาไทย วศ.บ. (วิศวกรรมโยธาและการบริหารการก่อสร้าง)
 
ชื่อย่อภาษาอังกฤษ B.Eng. (Civil Engineering and Construction Management)


คุณสมบัติเฉพาะของผู้สมัคร

  1. เป็นผู้ที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 สายสามัญ เน้นวิทย์-คณิตฯ และมีคะแนนเฉลี่ยสะสม ม.4 - ม.6 รวม 5 ภาค ไม่ต่ำกว่า 2.50  หรือ
  2. เป็นผู้ที่สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย สายสามัญ เน้นวิทย์ – คณิตฯ และมีคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 2.50

เงื่อนไขการสมัคร

      ผู้สมัครต้องยื่นหลักฐานการศึกษาของโรงเรียนต้นสังกัด พร้อมทั้งสำเนาเอกสารแสดงผลการสอบมาตรฐานอื่นๆ อย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้ 
  1. คะแนน SMART-I ประกอบด้วย 
            - ความสามารถด้านคณิตศาสตร์                                                 
            - ความสามารถด้านการอ่าน                               
            - ความสามารถด้านภาษาอังกฤษ                  
            - ความสามารถด้านความรู้รอบตัว
     
  2. คะแนนทดสอบมาตรฐานที่จัดสอบโดคสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) ประกอบด้วย
    • สำหรับผู้ที่สำเร็จการศึกษา ต้องยื่นคะแนน O-NET และ/หรือ GAT + PAT 1 + PAT 3
    • สำหรับผู้ที่กำลังศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย สายสามัญ ม. 6 ต้องยื่นคะแนน GAT + PAT 1 + PAT 3.
       
  3. คะแนนทดสอบมาตรฐาน SAT (Scholastic Aptitude Test) 
           -  (SAT I) Scholastic Assessment Test
           -  (SAT II) SAT Subject Tests

วิธีการคัดเลือก

การคัดเลือกผู้มีสิทธิ์สอบสัมภาษณ์ (คะแนนเต็ม 90%) 
  1. โดยพิจารณาจาก 3 ส่วน ดังนี้
    1.1   เกรดเฉลี่ย   20 %  (คิดเป็นค่าเฉลี่ยน้ำหนักเท่ากับ 20 โดยค่าสูงสุดคือ 4.00 ให้คิดเป็นคะแนนเต็ม)
    1.2   คะแนนผลการสอบมาตรฐานอื่นๆ ที่ระบุตามเงื่อนไขการสมัครข้างต้น 30 % (คิดเป็นค่าเฉลี่ยน้ำหนักเท่ากับ 30 ของคะแนนเต็ม)
    1.3   คะแนนสอบ Aptitude Test  40 % ของคะแนนเต็ม
     
  2. การคัดเลือกผู้มีสิทธิ์เข้าศึกษา (คะแนนเต็ม 100 %) โดยพิจารณาจาก
    2.1   คะแนนสอบตามวิธีการคัดเลือก ข้อ 1. (90%)
    2.2   คะแนนสอบสัมภาษณ์ (10%) คะแนนสอบสัมภาษณ์ไม่ผ่านให้ถือว่าไม่ผ่านการคัดเลือก

กำหนดการการรับสมัคร ปีการศึกษา 2556

กิจกรรม วัน/เดือน/ปี
รับสมัคร  1 พ.ย.56 - 17 ก.พ. 57
ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบและสถานที่สอบ (ทางเว็ปไซต์ http://www.ebm.engr.tu.ac.th) 19 ก.พ. 57
สอบ ข้อเขียน วิชาคณิตศาสตร์ และความถนัดทางด้านวิศวกรรม (09.00 - 11.00 น.) 22 ก.พ. 57
ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบสัมภาษณ์และสถานที่สอบ (ทางเว็ปไซต์ http://www.ebm.engr.tu.ac.th) 25 ก.พ.57
สอบสัมภาษณ์ (09.00-12.00 น.) 27 ก.พ.57
ประกาศรายชื่อผู้ผ่านการคัดเลือกทางเว็ปไซต์  www.ebm.engr.tu.ac.th 5 มี.ค. 57
กำหนดชำระเงินค่ารักษาสิทธิ์ในการเข้าศึกษา* 6 - 15 มี.ค.57
ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้าศึกษา 25 มี.ค.57
หมายเหตุ:  * ค่ารักษาสิทธิ์ในการเข้าศึกษา ไม่ได้รับคืนหากสละสิทธิ์

จำนวนที่เปิดรับสมัคร

 

          - ปีการศึกษาละ 80 คน
 
 

 

"EBM หลักสตรปริญญาตรีควบโท 5.5 ปี"

     หลังจากที่นักศึกษาเรียนจบ คณะวิศวกรรมศาสตร์ ภาคพิเศษ EBM ในระดับปริญญาตรีแล้ว สามารถที่จะเรียนต่อปริญญาโทได้ด้วยเวลาเพียง 1.5 ปีเท่านั้น

ชื่อปริญญา

 
ชื่อเต็มภาษาไทย วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (วิศวกรรมศาสตร์และการจัดการเชิงธุรกิจ)
 
ชื่อเต็มภาษาอังกฤษ Master of Engineering (Engineering and Business Management)
 
ชื่อย่อภาษาไทย วศ.ม. (วิศวกรรมศาสตร์และการจัดการเชิงธุรกิจ)
 
ชื่อย่อภาษาอังกฤษ M.Eng. (Engineering and Business Management)
 

คุณสมบัติผู้เข้าศึกษาและเกณฑ์การรับสมัคร/คัดเลือก

  1. เป็นผู้สำเร็จการศึกษาปริญญาวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต หรือปริญญาที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการคัดเลือกจาก สถาบันการศึกษาที่สภามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์รับรองวิทยฐานะ
  2. เป็นผู้มีคะแนนเฉลี่ยสะสมในระดับปริญญาตรีไม่ต่ำกว่า 2.50 หรือในกรณีที่ผู้สมัครมีคะแนนเฉลี่ยสะสมต่ำกว่า 2.50  ก็ให้อยู่ในการพิจารณาของคณะกรรมการคัดเลือก

การคัดเลือกผู้เข้าศึกษา

  1. นักศึกษาที่จบจากหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมโยธาและการบริหารการก่อสร้าง(ปริญญาตรี) และมีคะแนนเฉลี่ยสะสมตั้งแต่ 2.75 ขึ้นไป สามารถเข้าศึกษาต่อในหลักสูตรวิศวกรรมศาสตร์มหาบัณฑิตสาขาวิชาวิศวกรรม ศาสตร์และการจัดการเชิงธุรกิจ (ปริญญาโท) นี้ได้โดยไม่ต้องผ่านการสอบคัดเลือก
     
  2. นักศึกษาที่จบจากหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมโยธาและการบริหารการก่อสร้าง(ปริญญาตรี) และมีคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ถึง 2.75 สามารถเข้าศึกษาต่อในหลักสูตรวิศวกรรมศาสตร์มหาบัณฑิตสาขาวิชาวิศวกรรม ศาสตร์และการจัดการเชิงธุรกิจ(ปริญญาโท)ได้โดยต้องได้รับการคัดเลือกให้เข้า ศึกษาต่อตามเกณฑ์ที่คณะกรรมการคัดเลือกผู้เข้าศึกษาต่อประจำหลักสูตรกำหนด
     
  3. ผู้สมัครที่มิได้จบจากหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิตสาขาวิชาวิศวกรรมโยธาและ การบริหารการก่อสร้าง(ปริญญาตรี) แต่จบปริญญาตรีจากหลักสูตรทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ หรือหลักสูตรอื่นที่เทียบเท่าของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หรือของมหาวิทยาลัยอื่น สามารถเข้าศึกษาต่อในหลักสูตรวิศวกรรมศาสตร์มหาบัณฑิตสาขาวิชาวิศวกรรม ศาสตร์์และการจัดการเชิงธุรกิจ (ปริญญาโท) ได้โดยการสอบคัดเลือกเข้าศึกษาต่อตามเกณฑ์ที่คณะกรรมการคัดเลือกผู้เข้า ศึกษาต่อประจำหลักสูตรเป็นผู้กำหนด
     
  4. ผู้สมัครต้องยื่นผลคะแนนทดสอบความรู้ภาษาอังกฤษ อย่างใดอย่างหนึ่งที่มีอายุการทดสอบไม่เกิน 2 ปี นับถึงวันสมัครเข้าศึกษา คือ ผลคะแนนทดสอบความรู้ภาษาอังกฤษ (TU-GET) หรือผลคะแนน TOEFL หรือ ผลคะแนนIELTS
     ทั้งนี้คณะกรรมการประจำหลักสูตรอาจพิจารณากำหนดให้นักศึกษาที่ผ่านการคัด เลือกตามข้อ 3. บางรายต้อง ศึกษารายวิชาเพิ่มเติมบางรายวิชาหรือ ทุกรายวิชาวัดผลเป็น 2 ระดับ คือ ระดับ P (ผ่าน) และระดับ N (ไม่ผ่าน) โดย นักศึกษาจะต้องศึกษาได้ระดับ P(ผ่าน) ดังนี้
บช. 201      การบัญชีขั้นต้น   3  หน่วยกิต
กง. 201       การเงินธุรกิจ 3  หน่วยกิต
กต. 202       หลักพื้นฐานการตลาด 3  หน่วยกิต
ทม. 201       หลักการบริหาร 3  หน่วยกิต
 

กำหนดการการรับสมัคร

 
          วันนี้ - 31 มีนาคม 2556
 
 

จำนวนที่เปิดรับสมัคร

 
           ปีการศึกษาละ 50 คน
 
 
cr: http://www.ebm.engr.tu.ac.th

วันศุกร์ที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

 
"ทุนการศึกษา คณะวิศวะ ม.ธ"
 
     ทุนการศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หลักสูตรปีการศึกษา 2556 มีทั้งหมด 6 ประเภทดังนี้ครับ
1. ทุนเรียนดีเยี่ยม
 
เงื่อนไข
• เป็นนักศึกษาโครงการปกติคณะวิศวกรรมศาสตร์
• เป็นผู้มีคะแนนเฉลี่ยสูงสุดในแต่ละปีการศึกษาสูงสุดเป็นอันดับ 1 ของคณะวิศวกรรมศาสตร์ในแต่ละชั้นปีและมีคะแนนเฉลี่ยปีการศึกษานั้นไม่ต่ำากว่า 3.50 (โดยใช้คะแนนของชั้นปีที่ 1, 2, 3)
• ต้องเรียนตามแผนการศึกษาที่สาขาวิชากำาหนด
• นักศึกษาจะได้รับทุนค่าธรรมเนียมการศึกษาเพื่อการพัฒนามหาวิทยาลัยและค่าอุปกรณ์
การศึกษา 12,000 บาท ต่อปีการศึกษา พร้อมใบประกาศเกียรติคุณเป็นผู้ได้รับทุน
เรียนดีเยี่ยมอันดับหนึ่ง
• เป็นผู้มีจริยธรรมและไม่เคยมีพฤติกรรมกระทำาผิดวินัย
 
2. ทุนสนับสนุนเพื่อความจำาเป็นทางการศึกษา

เงื่อนไข
• เป็นนักศึกษาโครงการปกติ คณะวิศวกรรมศาสตร์
• เป็นผู้มีความขัดสนด้านทุนทรัพย์ เพื่อใช้จ่ายสำาหรับการศึกษาในหลักสูตร
• มีคะแนนเฉลี่ยในระดับที่คาดว่านักศึกษาสามารถศึกษาจนจบได้
• จำานวนเงินทุนการศึกษาขึ้นอยู่กับการพิจารณาของฝ่ายการนักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ตามความจำเป็นในแต่ละกรณี
• รายได้ผู้ปกครองของนักศึกษาที่ขอรับทุนการศึกษารวมกันไม่เกิน 200,000 บาท/ปี
• หากคณะตรวจสอบพบว่าข้อมูลในแบบขอรับทุนการศึกษาทุกช่องไม่เป็นความจริงนักศึกษาจะถูกถอนสิทธิ์ในการรับทุนการศึกษานั้นทันทีและต้องคืนทุนการศึกษาที่รับไปแล้วให้คณะวิศวกรรมศาสตร์ พร้อมทั้งถูกลงโทษทางวินัยและบันทึกประวัติ
• เป็นผู้มีจริยธรรมและไม่เคยมีพฤติกรรมกระทำาผิดวินัย

3. ทุนสงเคราะห์จ้างนักศึกษาทำางาน

เงื่อนไข
• เป็นนักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์
• เพื่อช่วยเหลือนักศึกษาที่ต้องการแบ่งเบาภาระของครอบครัว
• ให้คิดอัตราค่าจ้างสำาหรับงานทุกประเภทในอัตราเท่ากัน ชั่วโมงละ 50 บาท ในกรณีเหมาจ่ายเป็นรายวันต้องปฏิบัติงานไม่น้อยกว่าวันละ 6 ชั่วโมงให้คิดอัตราค่าจ้างวันละ 300 บาท

4. ประกาศนียบัตรรางวัลเรียนดี

เงื่อนไข
• เป็นผู้มีคะแนนเฉลี่ยสูงสุดในแต่ละปีการศึกษาสูงสุดเป็นอันดับ 1 ของคณะวิศวกรรมศาสตร์ ในแต่ละสาขาวิชา และชั้นปี และมีคะแนนเฉลี่ยไม่ต่ำากว่า 3.00  (โดยใช้คะแนนของชั้นปีที่ 1, 2, 3)
• ต้องเรียนตามแผนการศึกษาที่สาขาวิชากำาหนด
• นักศึกษาจะได้รับใบประกาศเกียรติคุณหรือโล่
• เป็นผู้มีจริยธรรมและไม่เคยมีพฤติกรรมกระทำาผิดวินัย

5. รางวัล Student Excellent Award

• รางวัลด้านวิชาการ
• รางวัลความคิดสร้างสรรค์ดีเด่น
• รางวัลด้านการบำาเพ็ญประโยชน์
• รางวัลด้านการส่งเสริมกิจกรรมภายในคณะวิศวกรรมศาสตร์ นักศึกษาที่มีสิทธิได้รับรางวัลต้องเป็นนักศึกษาในระดับปริญญาตรี

มีเงื่อนไขดังต่อไปนี้
• มีผลการเรียนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำากว่า 2.00
• รางวัลสามารถส่งได้ทั้งประเภทเดี่ยวหรือประเภททีม

6. ทุนเรียนดีแก่นักศึกษาโครงการหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิตสองสถาบันและโครงการหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิตภาคภาษาอังกฤษแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

เงื่อนไข
• คณะฯจะมอบใบประกาศเกียรติคุณให้แก่นักศึกษาทุกคนที่ศึกษาตามหลักสูตรและได้ระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมตลอดปีการศึกษาที่ผ่านมาไม่ต่ำากว่า 3.25
• คณะฯ จะจัดสรรทุนเรียนดีตามประกาศนี้ให้แก่นักศึกษาโครงการหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิตสองสถาบัน และ โครงการหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิตภาคภาษาอังกฤษ แห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ด้วยการยกเว้นค่าจดทะเบียนลักษณะวิชาที่ลงทะเบียนเรียนกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ในภาคการศึกษาที่ 1 ของแต่ละปีที่ได้รับทุน
• นักศึกษาที่มีสิทธิ์ได้รับทุนเรียนดีจะต้องเป็นผู้มีผลการศึกษาดีเด่นอยู่ในสามลำาดับแรกของชั้นปีในแต่ละโครงการฯ และจะต้องได้คะแนนเฉลี่ยสะสมเมื่อสิ้นภาคการศึกษาที่ 2 ของแต่ละปี ไม่ต่ำากว่า 3.50 โดยการพิจารณาคะแนนเฉลี่ยสะสมให้พิจารณาถึงทศนิยมตำแหน่งที่สาม โดยไม่มีการปัดเศษ แต่ทั้งนี้จะต้องไม่มีการเทียบโอนหน่วยกิตรายวิชาใดๆ
• ในกรณีที่มีปัญหาการตีความหรือประเด็นพิจารณาอื่นๆ นอกเหนือจากประกาศนี้ให้ คณะกรรมการประสานงานการบริหารโครงการหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิตสองสถาบันและโครงการหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิตภาคภาษาอังกฤษแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เป็นผู้วินิจฉัยชี้ขาด





View My Blog
Subscribe to RSS Feed Follow me on Twitter!