วันพฤหัสบดีที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2556


ใครๆก็บอกว่าหมอมั่นคงกว่าวิศวกรจริงหรือ ?

     หลายๆคนที่กำลังจะตัดสินใจเรียนวิศวกรรมอาจหนักใจเรื่องที่ว่าเมื่อเรียนจบแล้วจะมีงานทำไหม หนำซ้ำถึงหางานทำได้แล้วก็ยังไม่มีความมั่นคงเอาซะเลย ซึ่งเมื่อเทียบกับอาชีพที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในประเทศไทยอย่าแพทย์แล้วมันช่างเทียบกันไม่ติดเลย ทั้งเรื่องเงินเดือน ทั้งเรื่องความมั่นคง ดังนั้นเรามาดูความคิดเห็นต่างๆของบุคคลในวัยทำงานกันครับ ว่าเค้าคิดอย่างไรกันกับเรื่องนี้


จากคุณ : tainaruk 
     เห็นพวกพี่ๆวิศวะมาบ่นกัน ว่าเดี๋ยวนี้วิศวะไม่ได้รวยและมั่นคงอย่างที่ทุกคนคิด วิศวะ โดยส่วนใหญ่ของมอดัง จะได้เงินเดือน15000-สองหมื่นกว่า ขอย้ำว่าโดยส่วนใหญ่ อาจจะมีคนโดดเด่นที่ได้มากกว่านี้ แต่นั่นแหละ 1ใน100 เลยทีเดียว พวกรุ่นพี่เวลาแนะนำบอกให้เรียนหมอหรือหมอฟันไปเลย มั่นคงกว่า งานเหนื่อยน้อยกว่า ถ้าใครบอกหมองานหนักต้องไปดูหมอเอกชน หมอทำงานไม่กี่วันค่าแรงจะเท่ากับวิศวะทำงานเดือนนึง เสาอาทิตหมอรับงานตามคลีนิคได้เงินเยอะ แต่วิศวะทำไม่ได้ ถึงรับงานพวกเขียนโปรแกรมมา แต่มันก็เหนื่อยกว่าหมอ เพราะหมอแค่ไปนั่งตรวจๆเพราะส่วนใหญ่คลีนิคจะเป็นคนไข้อาการไม่หนัก หรือจะไปรับงานตามสถาบันความงามก็ได้ ถ้าบอกว่าหมอต้องอยู่เวร แต่หมอฟันก็ไม่ต้องอยู่นะ รับงานคลีนิคได้ด้วย วิศวะทำงานไปนานๆ อาจถูกจ้างออกได้ ส่วนหมอถึงแก่แล้วก็เปิดคลีนิคเองได้

จากคุณ : MAX
     หมอก็เหนื่อยไม่น้อยเหมือนกันนะครับ บ้างทีทำงานติดต่อกันเกิน 24 ชั่วโมงด้วยซ้ำ ส่วนเรื่องวิศวกร ผมว่าบอกคนอื่นว่าเป็นวิศวกรก็ฟังแล้วเท่ห์ดีนะครับ สาวที่ผมรู้จักคนหนึ่งเค้าก็บอกว่าเค้าจะต้องคบกับวิศวกรเท่านั้น ส่วนถ้าบอกอาชีพคนอื่นว่าเป็น IT Support หรือ Programmer ดูแล้วธรรมดามาก ๆ

จากคุณ : CMT
     มันเป็นวิชาชีพที่ต่างกัน คงเปรียบเทียบกันตรงๆไม่ได้หรอกครับ แพทย์มีจำนวนน้อยกว่ามากๆ อุทิศเวลาค่อนข้างมาก อย่ามองแต่เป็นแพทย์แล้วรวยอย่างเดียว ที่ไม่รวยมีอีกมากครับ งานก็เครียด รักษาก็ต้องระวังทำอะไรพลาดมีหวังจบเห่ ผมมีลูกค้าเป็นหมออยู่หลายคนเหมือนกัน คุยดูแล้วรู้ได้เลยว่าสิ่งที่เค้าทำควรได้รับการตอบแทนที่คุ้มค่าครับ  
     วิศวะจบปีนึงเยอะมากๆครับ เหมือนหลักการ demand / supply ครับ อะไรที่มีเยอะๆราคาก็ต้องต่ำหน่อยครับ ส่วนความสำคัญของวิชาชีพ ก็มีความสำคัญของตัวเอง หน้าที่ใครหน้าที่มันครับ ค่าตอบแทนที่เป็นเงินเดือนอาจจะไม่เยอะ แต่ก็มีช่องทางทำอย่างอื่นได้ แล้วแต่ใครจะทำอะไรได้แค่ไหนครับ
     สมัยก่อนโน้น มันมีสอบโควต้าเข้าม.ในภูมิภาค ผมสอบได้คณะแพทย์ แต่สละสิทธิ์ไปเพราะว่า กลัวเลือด และ ชอบวิชาพวกคำนวณมากกว่าครับก็เลยมาสอบ Entrance (ในสมัยนั้น) เข้ามาเรียนวิศวะ เพื่อนๆที่เรียนด้วยกันจบไปก็มีหลายแบบ ทำงานวิศวะ ,เป็นอาจารย์, ทำงานด้านการเงิน, เป็นทนาย, เป็นผู้ใหญ่บ้าน..

ส่วนตัวผมเอง ทุกวันนี้ทำค้าขายครับ เวลาเขียนอาชีพ ก็จะบอกว่าเป็น นักธุรกิจ  

จากคุณ :  Bee Senior
      เพื่อนเป็นหมอเด็ก อยู่โรงพยาบาลเอกชน รายได้เยอะ ทำงานจันทร์-เสาร์ เจอหน้าลูกแค่วันอาทิตย์  วันธรรมดาคนไข้อาจไม่เยอะ  แต่วันเสาร์กินข้าวเที่ยงแบบจานด่วนตลอด คนไข้แน่นตลอดวัน  เวลาหายใจแทบไม่มี  เข้าห้องน้ำก็ไม่ได้ พ่อแม่ผู้ปกครองอุ้มลูกรอหน้าห้องตรวจตลอด   ท่านว่าดีไหม..?
     เพื่อนอีกคนเป็นหมอโรงพยาบาลรัฐ ผู้หญิงหน้าตา OK ทำงานหนักทุกวันจนเป็นโสดทุกวันนี้ คนไข้มารอตั้งแต่ ตี 5 ลงตรวจตั้งแต่ 8-9 โมง กว่าจะเคลี่ยร์คนไข้เสร็จ เกือบเคารพธงชาติเย็นทุกวัน  ท่านว่าดีไหม....?

ส่วนวิศวกร
     ถ้าอยู่เอกชนมีทั้งรุ่งและไม่รุ่ง ถ้าไม่รุ่งเงินเดือนเยอะๆก็เห็นหลายคนออกมาเปิดกิจการส่วนตัวทั้งนั้น รอดหรือเปล่า...คนละประเด็น อยู่รัฐวิสาหกิจ อยู่ราชการ เงินเดือนประจำ เริ่มต้นไม่เยอะงานสบายๆอยู่ไปนานๆสำหรับคนดีปกติเงินเดือนเพิ่มขึ้นตามเวลา

ปล 1.ข้อความด้านบน เฉพาะจากประสบการณ์ที่ผมเคยเจอกับตัวเองนะครับ  ที่เพื่อนๆ ผมมันเป็นกัน
    2. ไม่ได้เหมารวม หมอทุกคน ไม่ได้เหมารวม วิศกรทุกคน นะครับ  
  
จากคุณ : Miata

ความเห็นผมนะครับ

ด้านการผลิตบุคลากร

     ประมาณ 10-20 ปีก่อน ประเทศอยู่ในช่วงเร่งพัฒนา มีนโยบายให่เพิ่มนักศึกษาวิศวะเพื่อป้อนเข้าสู่ตลาดงาน ม.รัฐ มีการรับนักศึกษาเพิ่มขึ้นอย่างมาก ในหนึ่งรุ่นมีนักเรียน 3-5 ร้อยคนเลยทีเดียว จากนั้น ม.เอกชน เริ่มมีการเปิดคณะวิศวกรรมศาสตร์กันเยอะขึ้น รวมถึงสถาบันเทคโนโลยีและสถาบันราชภัฏ

ขณะเดียวกัน

     แพทย์ในประเทศไทยมีไม่เพียงพอต่อจำนวนประชากร แต่การจะเพิ่มนักศึกษาแพทย์ทำได้ยาก มักจะมีข้ออ้างเรื่องสรรพยากรในการสอนไม่เพียงพอ ทางแพทย์สภาก็ออกมากันท่า อ้างว่าแพทย์ที่ได้จะไม่มีคุณภาพ

ด้านการทำงาน

     วิศวกร จะพยายามกระจายงานไปสู่ระดับต่ำกว่า เช่นวิศวกรคิดคำนวณแล้วส่งงานให้พนักงานสายอาชีพ(ปวช. ปวส.) เป็นคนทำ งานบางอย่างสายอาชีพจะสามารถทำงานแทนได้ ตัดสินใจแทนได้
งานโรงงาน สายอาชีพหากทำงานมานาน ก็ปรับตำแหน่งเป็นวิศวกรได้ ส่วนแพทย์(ในไทย)จะรับงานเกือบทั้งหมดไว้ที่ตัวเอง พยาบาลไม่สามารถช่วยอะไรได้เท่าไหร่ (ด้วยเพราะกฏหมายไม่ได้ให้สิทธิ์ตรงนี้)
ทำให้อะไรๆก็ต้องแพทย์ตัดสินใจ

การทำงานส่วนตัว

     วิศวกรต่อให้เก่งมากแต่ถ้าไม่มีทุนคงไปสร้างอะไรออกมาขายได้ (ค่าสร้างโรงงาน ค่าเครื่องจักร)ไม่มีทุน ก็เป็นได้แค่ลูกจ้าง แพทย์ มีแต่ตัว(กับวุฒิ) โรงพยาบาลก็แทบจะมาเชิญไปทำงานแล้วมีตึกแถวห้องนึง ก็เปิดคลินิกได้
 
ปล. ผมจบวิศว 1 ใน 3 พระจอม   ถ้าย้อนเวลาได้  ตอนสอบ Entrance จะเลือกหมอแน่นอน  

2 ความคิดเห็น:

  1. แพทย์ รายได้ไม่ต่างกันมากเหมือนวิศวกร,นักกฎหมายและนักบัญชีที่ range กว้างมากๆ แต่ที่ต่างกัน แพทย์ต้องทำอะไรเองหมด ชี้นิ้วให้ลูกน้องทำแทนไม่ได้ และมีความเสี่ยงที่จะป่วยและติดโรคอีกด้วย แก่ยังไงก็ต้องตรวจเอง
    แต่วิศวกร,นักบัญชี,นักกฎหมาย สั่งให้ลูกน้องทำได้ แล้วตนเองตรวจสอบอีกที ถึงรับงานได้มาก เงินเดือนก็แพง ผมเกษียณแล้ว เพื่อนๆ ที่เป็นวิศวกร ,นักบริหาร กับแพทย์ ก็ไม่ได้รวยต่างกันอย่างมีนัยสำคัญเลย

    ตอบลบ
  2. พี่สาวผมเป็นแพทย์ บอกว่า ถ้าอยากรวย อาชีพอื่น งานอื่นที่รายได้ เงินเดือนมากกว่าแพทย์ มีถมไป ลูกพี่สาวบอก ตอนเรียนมหาวิทยาลัย เพื่อนรู้ว่าเป็นลูกหมอ ก็พูดว่า "อุ๊ย รวย" หลานสาวตอบ "ก็ดูสภาพฉันสิ เพิ่งขับรถมาเรียนตอนปี 4 และ เป็นรถเก่า 12 ปี"

    ตอบลบ

View My Blog
Subscribe to RSS Feed Follow me on Twitter!