วันอังคารที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2556

"วิศวะเครื่องกลกับวิศวะโยธา"


     วิศวะเครื่องกลกับวิศวะโยธาเป็นหนึ่งในสาขาแรกสุดของวิศวกรรม โดยทั้งสองสาขานี้มีข้อดีข้อเสียแตกต่างกัน น้องๆหลายคนอาจจะสงสัยและตั้งคำถามว่า เรียนวิศวะอะไรดี ? เมื่อมองมาถึงสาขาที่เก่าแก่และเป็นรากฐานของวิศวกรรมสาขาอื่นอีกหลายสาขา โยธากับเครื่องกลคงมาเป็นตัวเลือกแรกๆแน่ๆ วันนี้เราจะมาดูกันครับว่าทั้งสองสาขาต่างกันยังไง ทั้งการเรียน ทั้งการทำงาน แต่ไม่สามารถบอกได้หรอกนะครับว่าสาขาไหนดีกว่ากัน เพราะมันแล้วแต่คนจะชอบและมีความสุขที่จะทำมันครับ

เอกลักษณ์ของภาควิชา

โยธา :  เกียร์คอนกรีต
เครื่องกล :  เกียร์เทอร์โม

บุคลิกภาพของผู้เรียน

โยธา : รูปหล่อ พ่อรับเหมา บ้านขายเสา บ้านขายปูน เก็กนิดๆตามสไตร์คนจะมาเป็นหัวหน้าคนงาน จริงจังใส่ใจทุกรายละเอียด
เครื่องกล : หล่อแบบเถื่อนๆ แฟนไม่ค่อยมี บ้านเปิดอู่ ดูเถื่อนในสายตาคนภายนอก ดูบ้าบอเมื่อสนิท ไม่ค่อยเครียดกับอะไร เรียนๆเล่น ชิวๆ

วัตถุประสงค์ของสาขาวิชา

โยธา : สร้างวิศวกรที่มีความสามารถในการออกแบบ วิเคราะห์และควบคุม งานในสาขาวิศวกรรมโยธา ซึ่งเป็นงานที่มีผลกระทบต่อสังคมสูง ครอบคลุมความรู้หลายแขนง อาทิเช่น วิศวกรรมโครงสร้าง วิศวกรรมปฐพี วิศวกรรมขนส่ง วิศวกรรมแหล่งน้ำ วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม และรวมถึงการบริหารงานก่อสร้าง
เครื่องกล : เป็นสาขาวิชาชีพหลักสาขาหนึ่งทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ที่มีความจำเป็นต่อการพัฒนาประเทศ   โดยศึกษาการออกแบบและการควบคุมใช้งานระบบทางกลของ เครื่องจักรอุปกรณ์ยานยนต์ และระบบทางพลังงาน เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการใช้งาน โดยมุ่งเน้นสู่การเป็น "Practical engineer" ผู้เชี่ยวชาญและนักปฏิบติ ที่เป็นที่ต้องการของภาคธุรกิจอุตสาหกรรม โดยมีแขนงความเชี่ยวชาญในด้านวิศวกรรมพลังงาน วิศวกรรมยานยนต์ วิศวกรรมระบบ ควบคุมอัตโนมัติ วิศวกรรมออกแบบเครื่องจักรกลและระบบทางอาคาร (เช่น ระบบปรับอากาศ   ระบบท่อ ระบบขนส่ง   ฯลฯ)

โอกาสทางวิชาชีพ

โยธา : สาขาวิชาวิศวกรรมโยธาเป็นสาขาหนึ่งในงานวิศวกรรมควบคุม ซึ่งผู้จะทำงานทางด้านวิศวกรรมโยธาได้ต้องได้รับใบอนุญาตวิศวกรรมควบคุมจาก สภาวิศวกร ซึ่งจะได้รับใบอนุญาตก็ต่อเมื่อจบการศึกษาวิศวกรรมศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา และสอบผ่านเกณฑ์ของสภาวิศวกร อาชีพที่เกี่ยวข้องและจำเป็นต้องใช้วิศวกรโยธา มีทั้งงานในภาครัฐและเอกชน เช่นการเป็นผู้ออกแบบ ศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ การเป็นผู้ตรวจสอบหรือควบคุมงานก่อสร้าง หรือเป็นผู้รับเหมาก่อสร้าง เป็นต้น อย่างไรก็ตาม งานในสาขาวิศวกรรมโยธามีแขนงย่อยลงไปอีกหลายแขนง ประกอบด้วย

- แขนงวิศวกรรมโครงสร้าง (structural engineering)
- แขนงการบริหารงานก่อสร้าง (construction management)
- แขนงวิศวกรรมปฐพี (soil engineering หรือ geotechnical engineering)
- แขนงวิศวกรรมแหล่งน้ำ (water resource engineering) หรือวิศวกรรมชลประทาน (irrigation engineering)
- แขนงวิศวกรรมขนส่ง (transpotation engineering)
- แขนงวิศวกรรมสำรวจ (survey engineering)
- แขนงวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม (environmental engineering)
 
     ดังนั้นวิศวกรโยธามีโอกาสเลือกเข้าไปทำงานอยู่ในส่วนงานต่างๆที่หลากหลายไม่จำกัด แค่งานก่อสร้างเท่านั้น ถือได้ว่าโอกาสในการทำงานจริงแล้วมีไม่น้อย เพียงแต่ผู้เรียนทางสาขานี้ต้องแสวงหาความรู้และติดตามข่าวสารต่อเนื่องเปิด โอกาสของตนเองให้กว้างขึ้น

เครื่องกล : งานวิชาชีพหลักของสาขาวิศวกรรมเครื่องกล เกี่ยวข้องกับการคำนวณออกแบบควบคุมการผลิต การค้นคว้า วิเคราะห์ ทดสอบ วางโครงการ อำนวยการติดตั้ง และอำนวยการใช้ระบบและอุปกรณ์ คือ เครื่องต้นกำลัง เครื่องใช้กำลัง อุปกรณ์ถ่ายเทความร้อน เครื่องกำเนิดไอน้ำ หรือไออย่างอื่นๆ เตาเผา ภาชนะใส่ก๊าซภายใต้ความดัน เครื่องปรับอากาศ เครื่องทำความเย็น และระบบท่อส่งของไหลภายใต้ความดันและของไหลอันตราย

ตัวอย่างตำแหน่งงานของวิศวกรเครื่องกล
 
- วิศวกรออกแบบ-ติดตั้งระบบปรับอากาศ ระบบท่อประปา/สุขาภิบาล/ดับเพลิง ในอาคาร
- วิศวกรออกแบบ หรือ ติดตั้ง ระบบทางกล ในอาคารและโรงงานอุตสาหกรรม
- วิศวกร ออกแบบชิ้นส่วนทางกล ออกแบบผลิตภัณฑ์
- วิศวกรวางโครงการ บริหารโครงการ
- วิศวกรกระบวนการผลิต ในโรงงานอตสาหกรรม
- วิศวกร ซ่อมบำรุง รักษาเครื่องจักร ในโรงงาน
- วิศวกรควบคุมคุณภาพการผลิต
- วิศวกร บริหารจัดการอาคาร
- วิศวกรด้านวิเคราะห์ทุนในสถาบันทางการเงิน
- วิศวกรผู้รับผิดชอบด้านพลังงาน ในอาคารและโรงงานอุตสาหกรรม
- วิศวกรด้านอุตสาหกรรมพลังงาน หรือ พลังงานทางเลือก
- วิศวกรด้านการขายผลิตภัณฑ์ ระบบทางวิศวกรรม
- นักวิชาการ นักวิจัย นักพัฒนา ระบบทางกล เครื่องยนต์ ระบบพลังงาน
- เป็นผู้ประกอบการ


 "Mechanical vs Civil"

 

โอกาสในการทำงาน

โยธา : ภาครัฐ เช่น กระทรวงคมนาคม กระทรวงมหาดไทย กรมโยธาธิการและผังเมือง กรมทางหลวง กรมที่ดิน กรมทางหลวงชนบท กรมชลประทาน กรมทรัพยากรน้ำ รวมทั้งหน่วยงานในส่วนการปกครองท้องถิ่น อบต. อบจ. เทศบาล เป็นต้น

      รัฐวิสาหกิจ เช่น การไฟฟ้าฝ่ายผลิต การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค การไฟฟ้านครหลวง การประปา ปตท. เป็นต้น

      ภาคเอกชน เช่น บริษัทรับเหมาก่อสร้าง บริษัทที่ปรึกษาและออกแบบ บริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ บริษัทหรือหน่วยงานบริการทางเทคนิค เช่น งานสนับสนุนการขาย งานบริการทดสอบที่เกี่ยวข้อง ฯลฯ

เครื่องกล : วิศวกรงานระบบในโรงงานและอาคารทั้งในฐานะผู้ออกแบบควบคุมการติดตั้ง หรือ บริหารการใช้งานในระบบไฟฟ้า ระบบปรับอากาศ สื่อสารโทรคมนาคม ระบบควบคุมอัตโนมัติ รวมถึงระบบพลังงานและสิ่งแวดล้อม 
       วิศวกรสนามในโครงการการก่อสร้างหรือผู้ออกแบบโครงสร้างอาคาร ระบบขนส่ง รวมถึงการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำและสิ่งแวดล้อมของเมือง วิศวกรควบคุมออกแบบและบริหารการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรม
หรือธุรกิจวิศวกรรมอื่น   ๆ
       ผู้ออกแบบหรือบริหารควบคุมการใช้งาน เครื่องจักรอุปกรณ์ เช่น ยานยนต์ เครื่องจักรการผลิต ระบบอาคารสถาน ฯลฯ 
     นอกจากการเป็นวิศวกรในสาขาต่างๆข้างต้นแล้ว พื้นฐานทางด้านวิศวกรรมยังสามารถใช้ในการประกอบวิชาชีพอื่นๆได้เป็นอย่างดี เช่น นักประดิษฐ์ ผู้ประกอบการทางเทคโนโลยีและวิศวกรรมรวมถึงตำแหน่งงานอื่นๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน


ตัวอย่างสถานที่ทำงาน

- โรงงานอุตสาหกรรมทุกประเภท เช่น Toyota, TATA, CP, ปตท., ปูนซีเมนต์ไทย ฯลฯ
- บริษัทออกแบบ ก่อสร้าง ติดตั้ง ระบบทางกลในอาคาร (ระบบปรับอากาศ ลิฟท์ ประปา) เช่น Jardines Engineering, Italian Thai, พฤษา ฯลฯ
- บริษัทที่ปรึกษา ด้าน สิ่งแวดล้อม พลังงาน และ วิศวกรรมอื่นๆ
- สถาบันทางการเงิน ที่ต้องการการวิเคราะห์ทางด้านทุน ที่เกี่ยวข้องกับงานอุตสาหกรรม
- บริษัท จำหน่ายอุปกรณ์ทางวิศวกรรมเครื่องกล
- หน่วยงานรัฐ ที่เกี่ยวข้องกับด้านวิศวกรรม
- ฯลฯ





CR : ถามวิศวะ: วิศวกรรมโยธา จุฬาฯ http://www.youtube.com/watch?v=g9uhG2yuN3M
       ถามวิศวะ: วิศวกรรมเครื่องกล จุฬาฯ http://www.youtube.com/watch?v=IJ2-zo0FsA4

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

View My Blog
Subscribe to RSS Feed Follow me on Twitter!