วันจันทร์ที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2556


วิศวะลูกพระจอมฯ เทพวิศวะสายปฎิบัติ

      วิศวะลาดกระบังเป็นหนึ่งในสามสถาบันที่มีคะแนนแอดเข้าสูงสุดของประเทศ มีความภาคภูมิใจในการเป็นลูกพระจอมฯบิดาแห่งวิศวกรไทย ถือเป็นมหาลัยที่รวมรวมเด็กเก่งจากทั่วประเทศ ผลิตวิศวกรออกสู่ประเทศปีละหลายพันคน โดนการศึกษาที่สถาบันนั้นจะเน้นที่การปฎิบัติ ซึ่งจะทำให้เด็กที่จบจากสถาบันพระจอมเก่งเรื่องบู๊และเป็นที่ต้องการของหลากหลายบริษัทในภาคอุตสาหกรรม จนมีคำกว่าวที่ว่า"จบวิศวะลาดกระบังไม่มีทางตกงาน"ซึ่งก็ถือว่าไม่ได้กล่าวเกินจริงเลย

      จากจุดเริ่มต้นของศูนย์ฝึกโทรคมนาคม ในปีพ.ศ. 2503 ซึ่งมีนักศึกษารุ่นแรก 23 คน คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและมุ่งมั่นที่จะผลิตบัณฑิต ทางวิศวกรรมศาสตร์ที่มีความรู้ ความสามารถและมีคุณธรรมสู่สังคมอย่างต่อเนื่อง คณะวิศวกรรมศาสตร์ได้ เปิดการเรียนการสอนให้สาขาวิชาที่หลากหลาย โดยมีการดำเนินการจัดตั้งเป็นภาควิชาต่าง ๆ ดังนี้

พ.ศ. 2503 จัดตั้งภาควิชาวิศวกรรมโทรคมนาคม
พ.ศ. 2519 จัดตั้งภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า
พ.ศ. 2519 จัดตั้งภาควิชาอิเล็กทรอนิกส์
พ.ศ. 2519 จัดตั้งภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล
พ.ศ. 2521 จัดตั้งภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
พ.ศ. 2525 จัดตั้งภาควิชาวิศวกรรมระบบควบคุม
พ.ศ. 2525 จัดตั้งศูนย์วิจัยอิเล็กทรอนิกส์
พ.ศ. 2530 จัดตั้งภาควิชาวิศวกรรมเกษตร
พ.ศ. 2533 จัดตั้งภาควิชาวิศวกรรมโยธา (ชื่อเดิม ภาควิชาเทคโนโลยีการก่อสร้าง เมื่อพ.ศ. 2529)
พ.ศ. 2537 จัดตั้งภาควิชาวิศวกรรมเคมี
พ.ศ. 2538 จัดตั้งภาควิชาวิศวกรรมอาหาร
พ.ศ. 2540 จัดตั้งโครงการภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ
พ.ศ. 2543 จัดตั้งภาควิชาวิศวกรรมการวัดคุม (ชื่อเดิมภาควิชาเทคโนโลยีการวัดคุมทางอุตสาหกรรม เมื่อพ.ศ. 2526)
พ.ศ. 2544 จัดตั้งภาควิชาวิศวกรรมสารสนเทศ (ชื่อเดิม ภาควิชาเทคนิคอุตสาหกรรม เมื่อพุทธศักราช 2517)



ปรัชญา
- การศึกษาและการวิจัยทางด้านวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี พร้อมทั้งปลูกฝังด้านคุณธรรม และจริยธรรม เพื่อเป็นรากฐานของการพัฒนาสังคมและประเทศ
ปณิธาน
- มุ่งมั่นให้การศึกษาพร้อมทั้งสนับสนุนการวิจัยและนวัตกรรม ตลอดจนการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม เพื่อสร้างผู้นำ และเพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้สู่นักศึกษา และสังคมอย่างมีประสิทธิภาพ 

วิสัยทัศน์/พันธกิจ
- มุ่งเป็นคณะวิศวกรรมศาสตร์ที่เป็นเลิศทางด้านการศึกษา การวิจัย และนวัตกรรมในระดับสากล










0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

View My Blog
Subscribe to RSS Feed Follow me on Twitter!