วันเสาร์ที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2556



แอดมิชชันวิศวกรรมศาสตร์
      
     ตามระบบแอดมิชชันในปัจจุบัน สิ่งที่ว่าที่วิศวกรจะต้องใช้ในการสอบเข้าแข่งขันแบ่งได้ดังนี้

คะแนน GPAX 20%
     คือผลการเรียนตลอดหลักสูตรในระดับมัธยมปลาย ดังนั้นถ้าใครที่ตอนนี้เพิ่งเข้าเรียนมัธยมปลาย ก็เร่งฟิตทำเกรดให้สูงไว้จะได้เปรียบค่อนข้างมากเลยทีเดียว แต่ถ้าใครที่กำลังขึ้น ม.6 เพิ่มเกรดไม่ทันแล้วก็ไม่เป็นไรครับเพราะ GPAX เป็นเพียงแค่ส่วนหนึ่งเท่านั้น เราสามราถไปฟิตที่ตัวอื่นและทำให้ผลรวมของคะแนนสูงขึ้นมาก็ได้เช่นกัน
     ดังนั้นถ้าใครที่เกรดมัธยมปลายไม่ค่อยสูงเท่าไร แต่โอกาศที่จะสามารถเข้าไปเรียนในคณะวิศวกรรมศาสตร์ดังที่ใจหวังก็ยังมีสูงอยู่ครับ

คะแนน O-net 30%
      มาดูที่โอเน็ทกันบ้าง สำหรับข้อสอบนี้เป็นเหมือนการทดสอบความรู้ในระดับชั้นมัธยมปลายซึ่งการสอบในส่วนนี้จะมีวิชาภาษาไทยและสังคมศึกษาด้วย ดังนั้นจึงต้องฟิตวิชาเหล่านี้ด้วยเพื่อนช่วยดึงคะแนนโอเน็ทให้สูงขึ้น ใครที่เกรด GPAX ไม่ค่อยสูง ก็มาฟิตที่วิชาทั่วไปในโอเน็ทก็จะช่วยได้ไม่น้อยเลยทีเดียว เพราะสัดส่วนของโอเน็ตนั้นสูงถึง 30% เรียกได้ว่าสูงกว่าสัดส่วนของคะแนนอื่นๆทุกรูปแบบเลยก็ว่าได้
     ดังนั้นความรู้ทางด้านภาษาไทยและสังคมก็อย่าเพิ่งทิ้งนะครับ ไว้ให้สอบโอเน็ทเสร็จเรียบร้อยก่อนค่อยว่ากัน

คะแนน GAT 15%
     แกท เป็นข้อสอบที่วัดความถนัดทั่วไปแบ่งออกเป็นการวัดความสามารถทางด้านการอ่าน เขียน คิดวิเคราะห์ 50% และการสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษอีก 50% มีทั้งปรนัยและอัตนัย ข้อสอบแกทนี้ต้องลองหาตัวอย่างข้อสอบมาฝึกทำดูครับ แล้วจะได้รู้ว่ามันเป็นอย่างไร เราจะเจออะไร เพราะเรื่องของการคิดวิเคราะห์และความถนัดนั้นเป็นสิ่งที่ต้องฝึกฝนจึงจะชำนาญครับ

คะแนน PAT1 15%
     เป็นการวัดศักยภาพทางคณิตศาสตร์ล้วนๆครับ เพราะสำหรับวิศวกรต้องรักการคำนวนเป็นชีวิตจิตใจ ดังนั้นความรู้ในแต่ละบทที่ได้เรียนมาในชั้น ม.ปลาย หรืออาจจะรวม ม.ต้น ด้วยนิดหน่อยก็จะได้เอามาใช้ประโยชน์ในตอนนี้แหละครับ ถึงแม้ว่า pat1 จะมีสัดส่วนเพียง 15% แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าไม่สำคัญนะ เพราะ pat1 คือการทดสอบวัดความถนัดทางด้านการคำนวนของเรา ก่อนที่จะเข้าไปเจอความโหดร้ายที่มากกว่าหลายเท่าตัวในระดับมหาวิทยาลัย ดังนั้นคะแนนในส่วนนี้จึงเป็นเครื่องชี้วัดได้อีกทางหนึ่งเลยครับว่าเราจะสามารถต่อกรกับคณิตศาสตร์ระดับสูงในมหาวิทยาลัยได้มากน้อยเพียงใด แต่ก็ไม่ใช่เพียงแค่คณิตศาสตร์ครับที่ต้องใช้ยังมีอีกส่วนที่สำคัญกว่าและมีสัดส่วนถึง 20% คือ pat3 นั่นเอง

คะแนน PAT3 20%
     เป็นการวัดศักยภาพความถนัดทางวิศวกรรมศาสตร์มีทั้งเรื่องของความถนัดทางเชิงช่าง การคิดวิเคราะห์ ความคิดเชิงตรรกะ สามัญสำนึกเรื่องความปลอดภัยกับสิ่งแวดล้อม การแก้ปัญหาและธรรมชาติของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งประเด็นเหล่านี้จะถือเป็น 15% ของคะแนนทั้งหมดใน pat3 เรียกได้ว่าจะเป็นวิศวกรก็ต้องมีความรู้พื้นฐานการช่างกันบ้าง ส่วนอีก 85% ที่เหลือแทบจะเป็นฟิสิกส์เน้นๆเลย มีทั้งเรื่องกลศาสตร์ เช่น แรง มวล กฎการเคลื่อนที่ต่างๆ ไฟฟ้า แม่เหล็กไฟฟ้า คลื่น แสง เสียง พลังงานความร้อน ของไหล และรวมทั้งวิชาเคมีอย่างสารและสมบัติของสารด้วย



  
     จะเห็นได้ว่า pat1 และ  pat3 ทำให้ชีวิตของวิศวกรเกี่ยวข้องกับการคำนวนขนาดไหน  คณิตศาสตร์เปรียบเสมือนเครื่องมือช่วยให้การวิเคราะห์และการออกแบบเป็นไปได้ โดยใช้ศาสตร์ที่เรียกว่าฟิสิกส์หรือที่เรียกว่าวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ เข้ามาร่วมด้วย สองวิชานี้เปรียบเสมือนเครื่องมือหากินของวิศวกรเลยครับ เพราะเมื่อรวมกันแล้วมีสัดส่วนถึง 35% มากกว่า O-NET ซะอีก

 
     แต่การ admission ก็ไม่ได้เป็นเพียงหนทางเดียวในการสอบเข้ามหาลัยนะ แต่ละสถาบันก็จะมีการสอบตรงเข้าคณะวิศวกรรมศาสตร์ได้เลยเช่นกัน โดยใช้คะแนน GPAX Gat และ Pat ซึ่งแต่ละแห่งก็จะใช้สัดส่วนของคะแนนแตกต่างกันไป บ้างก็ใช้  pat1 บ้างก็ใช้ pat2 ต้องลองเช็คดูตามเว็บของแต่ละมหาลัยครับ  ยังไงก็ลองเช็ดดูด้วยตัวเองเพื่อความมั่นใจครับ เผื่อมหาวิทยาลัยในฝันจะเปิดรับตรง จะได้เตรียมสอบ Pat ได้ตรงตามที่สถาบันต้องการที่จะเข้าไปเรียนครับ

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

View My Blog
Subscribe to RSS Feed Follow me on Twitter!