วันอังคารที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556


 Exxon Mobil

     บริษัท เอสโซ่ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ดำเนินธุรกิจอย่างครบวงจร มีโรงกลั่นน้ำมันอันทันสมัยอยู่ที่ศรีราชา และเครือข่ายคลังน้ำมันที่จะจัดส่งน้ำมันสู่สถานีบริการทั่วประเทศ ผลิตภัณฑ์หลักได้แก่น้ำมันเชื้อเพลิงชนิดต่างๆ ผลิตภัณฑ์หล่อลื่นและปิโตรเคมี

ธุรกิจ

- โรงกลั่นน้ำมันระดับมาตรฐานโลก กำลังการผลิต 177,000 บาร์เรลต่อวัน
- โรงงานอะโรเมติกส์ กำลังการผลิตสารพาราไซลีน 500,000 ตันต่อปี
- หน่วยผลิตสารทำละลาย กำลังการผลิต 50,000 ตันต่อปี
- สถานีบริการน้ำมันเอสโซ่มากกว่า 570 แห่งทั่วประเทศ

เงินเดือนเริ่มต้น

- สำหรับวิศวกร 24000-36000 บาท
- วิศวกรฝ่ายผลิต 40000-55000 บาท
- ไม่มี OT

สวัสดิการ

- ค่ารักษาพยาบาลในส่วนของตัวเอง 100% ของครอบครัวไม่มี
- ทุนเรียนปริญญาโทในไทย ออกให้ 300,000 ที่เหลือจ่ายเอง
- ไป Business Trip บินเกิน หก ชั่วโมง ได้นั่ง Business Class
- คอร์สเทรนนิ่งต่างๆ จัดที่โรงแรมมีเทรนเนอร์ต่างชาติมาสอนประจำ ทำให้เก่งอังกฤษ
- ทำงานครบ สอง หรือ สามปี ถ้ามีพูดญี่ปุ่นได้และใบภาษาญี่ปุ่นระดับ 2 ได้เงินเพิ่มอีก 30% ของเงินเดือน
- โบนัส (Special payment guarantee) 1 เดือน
- การ์ดเติมน้ำมันฟรีตามอายุงาน
- มีฟิตเนสให้เล่นฟรี
- มีให้เรียนโยคะ เรียนเต้นรำ หรือกิจกรรมนันทนาการทุกสัปดาห์ฟรี 
- ไปต่างประเทศก็มีค่าเสื้อผ้าให้
- กู้ซื้อบ้านออกค่าดอกเบี้ยให้ตามจริง (แต่ไม่เกินห้าเปอร์เซ็นต์ ) 
- พวกกองทุน เงินช่วยเหลือ


cr:  http://www.esso.co.th


วันอาทิตย์ที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

                 

วิศวกรรมชีวการแพทย์ Biomedical Engineering

     วิศวกรรมชีวการแพทย์ หรือบางที่เรียกว่า ชีวเวช (biomedical engineering) หรือ วิศวกรรมการแพทย์ (medical engineering)  เป็นสาขาวิชาที่นำเอาความรู้ทางด้านคณิตศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ เช่น ความรู้กลศาสตร์ของไหล นำมาใช้กับการทำหัวใจเทียม หลอดเลือดเทียม , แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ (mathematical modeling) ความรู้ทางการแพทย์ และวิทยาศาสตร์แขนงต่างๆ มาประยุกต์ใช้ร่วมกัน เพื่อออกแบบ สร้างหรือพัฒนาซอฟต์แวร์ อุปกรณ์ หรือเครื่องมือทางการแพทย์ที่ได้มาตรฐาน สามารถใช้งานได้จริง รวมถึงการศึกษาค้นคว้าเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่มีความซับซ้อน และต้องการขั้นตอนการผลิตที่มีมาตรฐาน และ ประสิทธิภาพสูง เช่น นำมาอธิบายปรากฏการณ์การเปลี่ยนแปลงและการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็ง, ความรู้ทางกลศาสตร์และคอมพิวเตอร์ใช้ในการหุ่นยนต์นำการผ่าตัด เทคโนโลยีในเครื่องมือผ่าตัด เครื่องส่องดูอวัยวะในร่างกาย อุปกรณ์จ่ายยาอัตโนมัติ ข้อต่อหรืออวัยวะเทียม เครื่องวิเคราะห์สัญญาณหัวใจหรือสมอง อุปกรณ์ตรวจสอบระบบน้ำตาลในเลือด ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศทางการแพทย์ การออกแบบสร้างอุปกรณ์พิเศษที่จำเป็นต่อการบำบัดรักษา การตรวจวินิจฉัยทางการแพทย์ ไปจนถึงการสังเคราะห์โพลิเมอร์นำส่งยาเข้าสู่ร่างกาย รวมถึงการศึกษาและวิจัยอุปกรณ์เครื่องมือที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงทางการแพทย์ ต่างๆ
                
     สาขาวิศวกรรมชีวการแพทย์เป็นสาขาวิชาที่บูรณาการศาสตร์ต่างๆ ต่อไปนี้ วิศวกรรมศาสตร์ ทั้งไฟฟ้า คอมพิวเตอร์ เครื่องกล อิเล็กทรอนิกส์ นาโน วัสดุ หรือแม้แต่ความรู้ทางวิศวกรรมโยธาก็มีประโยชน์ในสาขานี้ค่ะ รวมถึงความรู้ในสาขาแพทยศาสตร์ ชีววิทยา เคมี ชีวเคมี เภสัชศาสตร์ รังสีวิทยา เทคนิคการแพทย์ เทคโนโลยีสารสนเทศ และอื่นๆ เพื่อนำความรู้มาใช้พัฒนาหรือสร้างเครื่องมือ ซอฟต์แวร์ หรืออุปกรณ์ทางการแพทย์โดยเฉพาะค่ะ
               

     ก็อย่างที่เรารู้กันอยู่ว่า การรักษานั้นต้องใช้เครื่องมือ ตั้งแต่ตรวจหาโรค วิเคราะห์ผล ลงมือทำการรักษา จนถึงการดูแลไม่ให้กลับมาเป็นโรคอีก เครื่องมือ เทคโนโลยีและซอฟท์แวร์ทั้งหมดนั่นแหละค่ะที่วิศวกรสาขานี้จะเป็นผู้เกี่ยวข้อง

     ตอนที่เรายังไม่มีสาขานี้ ก็ต้องใช้วิศวกรในสาขาอื่น (เช่น ไฟฟ้า เครื่องกล คอม ) ซึ่งไม่มีความรู้ความชำนาญเฉพาะลงไปในเรื่องของชีววิทยาและระบบร่างกายของคน หรือมีหมอเป็นผู้ทำการวิจัยซึ่งไม่มีความสามารถในด้านวิศวกรรมเพียงพอ หรือให้นักเทคนิคการแพทย์ขยับจากผู้ใช้เครื่องมือ มาทดลองสร้างเครื่องมือซะเอง หรือต้องจ้างวิศวกรชาวต่างชาติมา แต่เราเองก็มีประสิทธิภาพมากพอที่จะพัฒนาในส่วนได้ด้วยตนเองนะคะ เทคโนโลยีของเราอาจจะยังตามเค้าอยู่มาก แต่ถ้าเราไม่เริ่มก้าวกันตั้งแต่วันนี้ แล้วเมื่อไรที่เราจะตามหรือแซงหน้าเค้าได้ละคะ
           
     สำหรับน้องๆคนไหนที่มีความคิดอยากช่วยเหลือหรือมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพ กายและใจของผู้ป่วยทั้งหลายซึ่งก็คือเราๆทุกคน แต่ว่ายังมีความคิดสับสนเพราะไม่ชอบงานในงานบริการในลักษณะนั้นของพยาบาล หมอ นักสาธารณสุข และอื่นๆ ..  " วิศวกรรมชีวการแพทย์ " ก็คงเป็นอีกทางเลือกที่จะทำให้น้องได้มีส่วนร่วมในการช่วยหลือเพื่อนมนุษย์ ด้วยวิธีและความถนัดของเรานะคะ แต่ก็ต้องเน้นว่าต้องชอบวิศวกรรมและเรื่องราวทางการแพทย์จริงๆนะคะ ไม่งั้นสาขานี้จะเป็นนรกดีๆนี่เอง เพราะว่ามันก็เฉพาะทางลงไปในระดับหนึ่งแล้วค่ะ
             
     ซึ่งจากที่กล่าวมาเห็นได้ว่าวิศวกรรมชีวการแพทย์เป็นศาสตร์ที่มีความสำคัญและจำ เป็นอย่างยิ่ง ที่ต้องพัฒนาควบคู่ไปกับการพัฒนาเทคโนโลยีวิทยาศาสตร์สุขภาพและด้านการแพทย์ เพื่อประโยชน์ต่อสุขภาพของคนไทยและมนุษยชาติค่ะ



วันเสาร์ที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556


"คณะวิศวกรรมศาสตร์ ภาคพิเศษ EBM"


     EBM คือ โครงการวิศวกรรมศาสตร์และการจัดการเชิงธุรกิจ ซึ่งเป็นภาควิชาหนึ่งของคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เพื่อตอบโจทย์ความต้องการในด้านอุตสาหกรรมที่ต้องการคนที่มีความรู้ความสามารถทั้งทางด้านวิศวกรรมและศาสตร์ทางด้านการบริหาร

ลักษณะเด่นของหลักสูตร

     โครงการวิศวกรรมศาสตร์และการจัดการเชิงธุรกิจเป็นการบูรณาการและเชื่อมต่อองค์ความรู้ทางวิศวกรรมศาสตร์และพาณิชย์ศาสตร์เข้าด้วยกัน โดยการที่ยังคงองค์ความรู้ที่สำคัญและจำเป็นสำหรับการประกอบวิชาชีพวิศวกรรม ไว้ในขณะเดียวกันหลักสูตรได้จัดให้มีวิชาทางพาณิชยศาสตร์ที่เป็นความรู้ที่ สำคัญในการประกอบวิชาชีพและเป็นรากฐานที่จำเป็นให้นักศึกษาในระดับปริญญาตรี มีความพร้อมในการรับการถ่ายทอดองค์ความรู้ในระดับที่สูงขึ้นไปทางด้านพาณิชยศาสตร์ในระดับปริญญาโทด้วย

 

ชื่อปริญญา

ชื่อเต็มภาษาไทย วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วิศวกรรมโยธาและการบริหารการก่อสร้าง)
 
ชื่อเต็มภาษาอังกฤษ Bachelor of Engineering (Civil Engineering and Construction Management)
 
ชื่อย่อภาษาไทย วศ.บ. (วิศวกรรมโยธาและการบริหารการก่อสร้าง)
 
ชื่อย่อภาษาอังกฤษ B.Eng. (Civil Engineering and Construction Management)


คุณสมบัติเฉพาะของผู้สมัคร

  1. เป็นผู้ที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 สายสามัญ เน้นวิทย์-คณิตฯ และมีคะแนนเฉลี่ยสะสม ม.4 - ม.6 รวม 5 ภาค ไม่ต่ำกว่า 2.50  หรือ
  2. เป็นผู้ที่สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย สายสามัญ เน้นวิทย์ – คณิตฯ และมีคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 2.50

เงื่อนไขการสมัคร

      ผู้สมัครต้องยื่นหลักฐานการศึกษาของโรงเรียนต้นสังกัด พร้อมทั้งสำเนาเอกสารแสดงผลการสอบมาตรฐานอื่นๆ อย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้ 
  1. คะแนน SMART-I ประกอบด้วย 
            - ความสามารถด้านคณิตศาสตร์                                                 
            - ความสามารถด้านการอ่าน                               
            - ความสามารถด้านภาษาอังกฤษ                  
            - ความสามารถด้านความรู้รอบตัว
     
  2. คะแนนทดสอบมาตรฐานที่จัดสอบโดคสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) ประกอบด้วย
    • สำหรับผู้ที่สำเร็จการศึกษา ต้องยื่นคะแนน O-NET และ/หรือ GAT + PAT 1 + PAT 3
    • สำหรับผู้ที่กำลังศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย สายสามัญ ม. 6 ต้องยื่นคะแนน GAT + PAT 1 + PAT 3.
       
  3. คะแนนทดสอบมาตรฐาน SAT (Scholastic Aptitude Test) 
           -  (SAT I) Scholastic Assessment Test
           -  (SAT II) SAT Subject Tests

วิธีการคัดเลือก

การคัดเลือกผู้มีสิทธิ์สอบสัมภาษณ์ (คะแนนเต็ม 90%) 
  1. โดยพิจารณาจาก 3 ส่วน ดังนี้
    1.1   เกรดเฉลี่ย   20 %  (คิดเป็นค่าเฉลี่ยน้ำหนักเท่ากับ 20 โดยค่าสูงสุดคือ 4.00 ให้คิดเป็นคะแนนเต็ม)
    1.2   คะแนนผลการสอบมาตรฐานอื่นๆ ที่ระบุตามเงื่อนไขการสมัครข้างต้น 30 % (คิดเป็นค่าเฉลี่ยน้ำหนักเท่ากับ 30 ของคะแนนเต็ม)
    1.3   คะแนนสอบ Aptitude Test  40 % ของคะแนนเต็ม
     
  2. การคัดเลือกผู้มีสิทธิ์เข้าศึกษา (คะแนนเต็ม 100 %) โดยพิจารณาจาก
    2.1   คะแนนสอบตามวิธีการคัดเลือก ข้อ 1. (90%)
    2.2   คะแนนสอบสัมภาษณ์ (10%) คะแนนสอบสัมภาษณ์ไม่ผ่านให้ถือว่าไม่ผ่านการคัดเลือก

กำหนดการการรับสมัคร ปีการศึกษา 2556

กิจกรรม วัน/เดือน/ปี
รับสมัคร  1 พ.ย.56 - 17 ก.พ. 57
ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบและสถานที่สอบ (ทางเว็ปไซต์ http://www.ebm.engr.tu.ac.th) 19 ก.พ. 57
สอบ ข้อเขียน วิชาคณิตศาสตร์ และความถนัดทางด้านวิศวกรรม (09.00 - 11.00 น.) 22 ก.พ. 57
ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบสัมภาษณ์และสถานที่สอบ (ทางเว็ปไซต์ http://www.ebm.engr.tu.ac.th) 25 ก.พ.57
สอบสัมภาษณ์ (09.00-12.00 น.) 27 ก.พ.57
ประกาศรายชื่อผู้ผ่านการคัดเลือกทางเว็ปไซต์  www.ebm.engr.tu.ac.th 5 มี.ค. 57
กำหนดชำระเงินค่ารักษาสิทธิ์ในการเข้าศึกษา* 6 - 15 มี.ค.57
ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้าศึกษา 25 มี.ค.57
หมายเหตุ:  * ค่ารักษาสิทธิ์ในการเข้าศึกษา ไม่ได้รับคืนหากสละสิทธิ์

จำนวนที่เปิดรับสมัคร

 

          - ปีการศึกษาละ 80 คน
 
 

 

"EBM หลักสตรปริญญาตรีควบโท 5.5 ปี"

     หลังจากที่นักศึกษาเรียนจบ คณะวิศวกรรมศาสตร์ ภาคพิเศษ EBM ในระดับปริญญาตรีแล้ว สามารถที่จะเรียนต่อปริญญาโทได้ด้วยเวลาเพียง 1.5 ปีเท่านั้น

ชื่อปริญญา

 
ชื่อเต็มภาษาไทย วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (วิศวกรรมศาสตร์และการจัดการเชิงธุรกิจ)
 
ชื่อเต็มภาษาอังกฤษ Master of Engineering (Engineering and Business Management)
 
ชื่อย่อภาษาไทย วศ.ม. (วิศวกรรมศาสตร์และการจัดการเชิงธุรกิจ)
 
ชื่อย่อภาษาอังกฤษ M.Eng. (Engineering and Business Management)
 

คุณสมบัติผู้เข้าศึกษาและเกณฑ์การรับสมัคร/คัดเลือก

  1. เป็นผู้สำเร็จการศึกษาปริญญาวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต หรือปริญญาที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการคัดเลือกจาก สถาบันการศึกษาที่สภามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์รับรองวิทยฐานะ
  2. เป็นผู้มีคะแนนเฉลี่ยสะสมในระดับปริญญาตรีไม่ต่ำกว่า 2.50 หรือในกรณีที่ผู้สมัครมีคะแนนเฉลี่ยสะสมต่ำกว่า 2.50  ก็ให้อยู่ในการพิจารณาของคณะกรรมการคัดเลือก

การคัดเลือกผู้เข้าศึกษา

  1. นักศึกษาที่จบจากหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมโยธาและการบริหารการก่อสร้าง(ปริญญาตรี) และมีคะแนนเฉลี่ยสะสมตั้งแต่ 2.75 ขึ้นไป สามารถเข้าศึกษาต่อในหลักสูตรวิศวกรรมศาสตร์มหาบัณฑิตสาขาวิชาวิศวกรรม ศาสตร์และการจัดการเชิงธุรกิจ (ปริญญาโท) นี้ได้โดยไม่ต้องผ่านการสอบคัดเลือก
     
  2. นักศึกษาที่จบจากหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมโยธาและการบริหารการก่อสร้าง(ปริญญาตรี) และมีคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ถึง 2.75 สามารถเข้าศึกษาต่อในหลักสูตรวิศวกรรมศาสตร์มหาบัณฑิตสาขาวิชาวิศวกรรม ศาสตร์และการจัดการเชิงธุรกิจ(ปริญญาโท)ได้โดยต้องได้รับการคัดเลือกให้เข้า ศึกษาต่อตามเกณฑ์ที่คณะกรรมการคัดเลือกผู้เข้าศึกษาต่อประจำหลักสูตรกำหนด
     
  3. ผู้สมัครที่มิได้จบจากหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิตสาขาวิชาวิศวกรรมโยธาและ การบริหารการก่อสร้าง(ปริญญาตรี) แต่จบปริญญาตรีจากหลักสูตรทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ หรือหลักสูตรอื่นที่เทียบเท่าของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หรือของมหาวิทยาลัยอื่น สามารถเข้าศึกษาต่อในหลักสูตรวิศวกรรมศาสตร์มหาบัณฑิตสาขาวิชาวิศวกรรม ศาสตร์์และการจัดการเชิงธุรกิจ (ปริญญาโท) ได้โดยการสอบคัดเลือกเข้าศึกษาต่อตามเกณฑ์ที่คณะกรรมการคัดเลือกผู้เข้า ศึกษาต่อประจำหลักสูตรเป็นผู้กำหนด
     
  4. ผู้สมัครต้องยื่นผลคะแนนทดสอบความรู้ภาษาอังกฤษ อย่างใดอย่างหนึ่งที่มีอายุการทดสอบไม่เกิน 2 ปี นับถึงวันสมัครเข้าศึกษา คือ ผลคะแนนทดสอบความรู้ภาษาอังกฤษ (TU-GET) หรือผลคะแนน TOEFL หรือ ผลคะแนนIELTS
     ทั้งนี้คณะกรรมการประจำหลักสูตรอาจพิจารณากำหนดให้นักศึกษาที่ผ่านการคัด เลือกตามข้อ 3. บางรายต้อง ศึกษารายวิชาเพิ่มเติมบางรายวิชาหรือ ทุกรายวิชาวัดผลเป็น 2 ระดับ คือ ระดับ P (ผ่าน) และระดับ N (ไม่ผ่าน) โดย นักศึกษาจะต้องศึกษาได้ระดับ P(ผ่าน) ดังนี้
บช. 201      การบัญชีขั้นต้น   3  หน่วยกิต
กง. 201       การเงินธุรกิจ 3  หน่วยกิต
กต. 202       หลักพื้นฐานการตลาด 3  หน่วยกิต
ทม. 201       หลักการบริหาร 3  หน่วยกิต
 

กำหนดการการรับสมัคร

 
          วันนี้ - 31 มีนาคม 2556
 
 

จำนวนที่เปิดรับสมัคร

 
           ปีการศึกษาละ 50 คน
 
 
cr: http://www.ebm.engr.tu.ac.th

วันศุกร์ที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

 
"ทุนการศึกษา คณะวิศวะ ม.ธ"
 
     ทุนการศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หลักสูตรปีการศึกษา 2556 มีทั้งหมด 6 ประเภทดังนี้ครับ
1. ทุนเรียนดีเยี่ยม
 
เงื่อนไข
• เป็นนักศึกษาโครงการปกติคณะวิศวกรรมศาสตร์
• เป็นผู้มีคะแนนเฉลี่ยสูงสุดในแต่ละปีการศึกษาสูงสุดเป็นอันดับ 1 ของคณะวิศวกรรมศาสตร์ในแต่ละชั้นปีและมีคะแนนเฉลี่ยปีการศึกษานั้นไม่ต่ำากว่า 3.50 (โดยใช้คะแนนของชั้นปีที่ 1, 2, 3)
• ต้องเรียนตามแผนการศึกษาที่สาขาวิชากำาหนด
• นักศึกษาจะได้รับทุนค่าธรรมเนียมการศึกษาเพื่อการพัฒนามหาวิทยาลัยและค่าอุปกรณ์
การศึกษา 12,000 บาท ต่อปีการศึกษา พร้อมใบประกาศเกียรติคุณเป็นผู้ได้รับทุน
เรียนดีเยี่ยมอันดับหนึ่ง
• เป็นผู้มีจริยธรรมและไม่เคยมีพฤติกรรมกระทำาผิดวินัย
 
2. ทุนสนับสนุนเพื่อความจำาเป็นทางการศึกษา

เงื่อนไข
• เป็นนักศึกษาโครงการปกติ คณะวิศวกรรมศาสตร์
• เป็นผู้มีความขัดสนด้านทุนทรัพย์ เพื่อใช้จ่ายสำาหรับการศึกษาในหลักสูตร
• มีคะแนนเฉลี่ยในระดับที่คาดว่านักศึกษาสามารถศึกษาจนจบได้
• จำานวนเงินทุนการศึกษาขึ้นอยู่กับการพิจารณาของฝ่ายการนักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ตามความจำเป็นในแต่ละกรณี
• รายได้ผู้ปกครองของนักศึกษาที่ขอรับทุนการศึกษารวมกันไม่เกิน 200,000 บาท/ปี
• หากคณะตรวจสอบพบว่าข้อมูลในแบบขอรับทุนการศึกษาทุกช่องไม่เป็นความจริงนักศึกษาจะถูกถอนสิทธิ์ในการรับทุนการศึกษานั้นทันทีและต้องคืนทุนการศึกษาที่รับไปแล้วให้คณะวิศวกรรมศาสตร์ พร้อมทั้งถูกลงโทษทางวินัยและบันทึกประวัติ
• เป็นผู้มีจริยธรรมและไม่เคยมีพฤติกรรมกระทำาผิดวินัย

3. ทุนสงเคราะห์จ้างนักศึกษาทำางาน

เงื่อนไข
• เป็นนักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์
• เพื่อช่วยเหลือนักศึกษาที่ต้องการแบ่งเบาภาระของครอบครัว
• ให้คิดอัตราค่าจ้างสำาหรับงานทุกประเภทในอัตราเท่ากัน ชั่วโมงละ 50 บาท ในกรณีเหมาจ่ายเป็นรายวันต้องปฏิบัติงานไม่น้อยกว่าวันละ 6 ชั่วโมงให้คิดอัตราค่าจ้างวันละ 300 บาท

4. ประกาศนียบัตรรางวัลเรียนดี

เงื่อนไข
• เป็นผู้มีคะแนนเฉลี่ยสูงสุดในแต่ละปีการศึกษาสูงสุดเป็นอันดับ 1 ของคณะวิศวกรรมศาสตร์ ในแต่ละสาขาวิชา และชั้นปี และมีคะแนนเฉลี่ยไม่ต่ำากว่า 3.00  (โดยใช้คะแนนของชั้นปีที่ 1, 2, 3)
• ต้องเรียนตามแผนการศึกษาที่สาขาวิชากำาหนด
• นักศึกษาจะได้รับใบประกาศเกียรติคุณหรือโล่
• เป็นผู้มีจริยธรรมและไม่เคยมีพฤติกรรมกระทำาผิดวินัย

5. รางวัล Student Excellent Award

• รางวัลด้านวิชาการ
• รางวัลความคิดสร้างสรรค์ดีเด่น
• รางวัลด้านการบำาเพ็ญประโยชน์
• รางวัลด้านการส่งเสริมกิจกรรมภายในคณะวิศวกรรมศาสตร์ นักศึกษาที่มีสิทธิได้รับรางวัลต้องเป็นนักศึกษาในระดับปริญญาตรี

มีเงื่อนไขดังต่อไปนี้
• มีผลการเรียนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำากว่า 2.00
• รางวัลสามารถส่งได้ทั้งประเภทเดี่ยวหรือประเภททีม

6. ทุนเรียนดีแก่นักศึกษาโครงการหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิตสองสถาบันและโครงการหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิตภาคภาษาอังกฤษแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

เงื่อนไข
• คณะฯจะมอบใบประกาศเกียรติคุณให้แก่นักศึกษาทุกคนที่ศึกษาตามหลักสูตรและได้ระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมตลอดปีการศึกษาที่ผ่านมาไม่ต่ำากว่า 3.25
• คณะฯ จะจัดสรรทุนเรียนดีตามประกาศนี้ให้แก่นักศึกษาโครงการหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิตสองสถาบัน และ โครงการหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิตภาคภาษาอังกฤษ แห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ด้วยการยกเว้นค่าจดทะเบียนลักษณะวิชาที่ลงทะเบียนเรียนกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ในภาคการศึกษาที่ 1 ของแต่ละปีที่ได้รับทุน
• นักศึกษาที่มีสิทธิ์ได้รับทุนเรียนดีจะต้องเป็นผู้มีผลการศึกษาดีเด่นอยู่ในสามลำาดับแรกของชั้นปีในแต่ละโครงการฯ และจะต้องได้คะแนนเฉลี่ยสะสมเมื่อสิ้นภาคการศึกษาที่ 2 ของแต่ละปี ไม่ต่ำากว่า 3.50 โดยการพิจารณาคะแนนเฉลี่ยสะสมให้พิจารณาถึงทศนิยมตำแหน่งที่สาม โดยไม่มีการปัดเศษ แต่ทั้งนี้จะต้องไม่มีการเทียบโอนหน่วยกิตรายวิชาใดๆ
• ในกรณีที่มีปัญหาการตีความหรือประเด็นพิจารณาอื่นๆ นอกเหนือจากประกาศนี้ให้ คณะกรรมการประสานงานการบริหารโครงการหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิตสองสถาบันและโครงการหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิตภาคภาษาอังกฤษแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เป็นผู้วินิจฉัยชี้ขาด





วันเสาร์ที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2556



 

สำหรับคนที่มีแฟนเป็นวิศวกรนะครับ

    นี่เป็นปัญหาต่างๆที่คนที่มีแฟนหรือสามีเป็นวิศวกรมักมาปรึกษากับจิตแพทย์ เพราะว่าทุกใจกับลักษณะนิสัยของเขาเหล่านั้นครับ เป็นบทความจากนิตยสารสกุลไทยครับ

โดย ศ.ดร.นายแพทย์วิทยา นาควัชระ บทความจาก นิตยสารสกุลไทย

     สถิติเป็นเรื่องที่น่าศึกษาและน่าสนใจมาก  ผมมีสถิติที่สังเกตเอาเองในช่วงทำงานสุขภาพจิตมานานเกี่ยวกับอาชีพต่างๆกัน  บุคลิกภาพที่อยากเอามาเล่าให้ฟัง ในบรรดาผู้ชายที่มาปรึกษาผมที่คลินิก ผมนับได้ว่าอาชีพวิศวกรมาปรึกษามากและเรียนรู้ได้เร็ว พัฒนาตัวเองได้เร็วมากนี่พูดเฉพาะคนที่มาหานะครับ  พวกที่ยังไม่มา แต่ส่งภรรยาและลูกเมียมาปรึกษานั้นยังมีอีกมาก แต่ก็ยังดีที่สนใจอ่านคอลัมน์นี้ และยังเปิดใจยอมรับเมื่อมีปัญหา  แต่พวกที่ไม่สนใจ ไม่ใส่ใจนั้นก็ยังมีอีกมากมาย                                        
                                                                         
     มีภรรยาที่ทุกข์ใจจาก " บุคลิกลักษณะ " ของสามีวิศวกรมาปรึกษาผมที่คลินิกมากมาย ภรรยาเหล่านี้มักมีสภานภาพทางสังคมดี มีการงานและการเงินดี แต่มีความทุกข์ใจจากบุคลิก หรือ Personality ของบรรดาสามีวิศวกรเหล่านั้นผมได้รวบรวมลักษณะที่ภรรยาไม่ชอบและทุกข์ใจเหล่านั้นมาให้อ่านดังนี้

บุคลิกที่น่าทุกข์ใจของวิศวกร

1. หัวแข็ง หัวดื้อ
2. หลงรักตัวเอง คิดว่าตัวเองเก่งมาก หลายรายมักว่าภรรยาโง่หรือคิดอะไรไม่เข้าท่า
3. ขาดอารมณ์ขัน
4. เอาจริงเอาจังกับงานมาก
5. เครียด ย้ำคิด ย้ำทำ
6. พูดไม่เป็น หรือพูดน้อย
7. ก้าวร้าวสูง
8. แข่งขันสูง
9. ไม่ชอบเห็นใครดีกว่า
10. ชมคนอื่นไม่เป็น ติเก่ง จับผิดเก่ง
11. ไม่รักคนอื่น
12. หลายคนไม่รักตัวเอง มีพฤติกรรมทำร้ายตัวเอง เช่น ติดเหล้า บุหรี่ หรือหักโหมทำงานมาก
13. ขาดความสุนทรีย์ในการดำเนินชีวิต
14. ไม่มีรสนิยมในการแต่งกาย แม้จะมีรายได้ดี
15. ขี้เหนียวในเรื่องเล็กๆน้อยๆ เช่นเรื่องค่าที่จอดรถ ค่าทิป แต่เรื่องบางเรื่องยอมเสียเงินมากๆ โดยไม่จำเป็น
16. เจ้าระเบียบมาก จุกจิกจู้จี้ ย้ำคิดย้ำทำ
17. ชอบสอนเสียจริงๆ สอนทั้งเมีย ทั้งลูก บางรายสอนพี่น้องหรือแม่ด้วยน้ำเสียงข่มขู่หรือจับผิด
      (กับพ่อมักไม่ค่อยกล้าสอนเพราะมักจะมีพ่อดุ)
18. เพื่อนน้อย
19. ขาดงานอดิเรก ถ้าเส่นกีฬาก็เอาจริงเอาจังจนเกินสนุก
20. ชอบขัดคอคน ต่อหน้าคนอื่นทำเรียบร้อย พอลับหลังนินทาหรือก้าวร้าว หรือด่าหยาบคาย
21. ปลอบคนไม่เป็น หลายรายสนุกกับการเล่นกับหมาได้มากกว่าพูดกับคน
22. มีปัญหาเรื่องลูกโดยเฉพาะกับลูกชาย แข่งขันกันหรือจับผิดลูกก้าวร้าวกับลูก
23. กลัวการเสียเปรียบมาก ไม่ยอมเสียเปรียบใคร
24. กลัวคนอื่นเก่งกว่า อิจฉาคนเก่งกว่า
25. กับพี่น้องก็อิจฉากันเอง ก้าวร้าวกันเองมาก
26. หลายรายเป็นคนสมถะมากโดยเฉพาะเรื่องแต่งกาย ไม่ชอบซื้อเสื้อใหม่ หรือเน็คไทใหม่ ภรรยาซื้อให้กลับถูกหาว่ายุ่งและไม่จำเป็น                                            
                                                                         
     ที่เขียนมาทั้งหมดนี้ผมไม่ได้จงใจจับผิดอาชีพวิศวกรเลย ทุกอาชีพก็มีจุดดี จุดเด่น มีทุกข์ มีสุข ได้ทั้งนั้น
แต่ที่ยกเอาอาชีพนี้ขึ้นมาอาจเป็นเพราะสถานภาพของครอบครัวและภรรยา เอื้อต่อการจะมาพบจิตแพทย์เพื่อปรึกษาเรื่องครอบครัวหรือการเลี้ยงลูกได้โดยไม่ลำบาก วิศวกรนั้นได้รับการยอมรับจากสังคมว่า  เป็นคนเรียนเก่งตั้งแต่สอบเอ็นทรานซ์ได้แล้ว เมื่อเรียนจบ มีการงานทำดี เงินเดือนมาก ก็ยังตระหนักในความเก่งของตัวเองมากเข้าไปอีก เข้าข่ายหลงรักตัวเองขั้นทุติยภูมิ (Secondary Narcissism)
คล้ายๆ อาชีพอื่นๆ อีก เช่น แพทย์ แต่วันนี้ยังไม่ขอเอ่ยถึงนะครับ วิศวกรต้องทำงานแข่งกับความสามารถของคนอื่นที่เก่งและเทคโนโลยีใหม่ๆตลอดเวลา ทำให้ต้องตื่นตัวและถีบตัวอยู่ตลอดเวลา งานที่ทำก็มักสัมผัสกับสิ่งที่แข็งกร้าน เช่น งานก่อสร้าง เครื่องจักร ฯลฯ

     บุคคลรอบข้างก็มีแต่ผู้ชายที่แข็งและแข่งขันกันเมื่ออยู่ใกล้กัน สิ่งที่เป็นความสุนทรีย์ที่งดงามก็พบได้น้อยในชีวิตรอบตัว นอกจากเขาจะขวนขวายหาเอง จึงทำให้ชีวิตมุ่งไปแต่การแสวงหาความสำเร็จชัยชนะงาน การแข่งขัน เอาจริงเอาจัง ลักษณะประจำอาชีพจึงเกิดขึ้นคล้ายๆกับที่ผมเขียนมาแล้วในตอนต้น                                                                                                                                                          
ความทุกข์ที่เกิดจากบุคลิกภาพและงานอาชีพของเขาก็มีมาก เช่น
- เครียด
- เป็นโรคจิตสรีระแปรปรวน (Psycho Somatic Disorder) เช่น
  ปวดหัว ปวดท้อง ปวดหลัง ความดันโลหิตสูง ภูมิแพ้ หรืออาจเป็นโรคหัวใจในโอกาสต่อไป
- มีปัญหาเรื่องการเลี้ยงลูก ไม่ถูกกับลูก เอาจริงเอาจังกับลูก
- ภรรยาทนไม่ได้ เกิดปัญหามากมาย
- ศัตรูมากขึ้นเพราะพูดไม่เป็น มักพูดตามความรู้สึก ยึดหลักความจริงหรือความคิดของตัวเองเป็นใหญ่ ไม่คำนึงถึงจิตใจคนอื่น
- มนุษยสัมพันธ์ไม่ดี
- เหงา หลายรายติดเหล้า                                                      

ที่จริงวิศวกรเป็นคนเก่ง เข้าใจอะไรได้ง่าย ถ้าเขาอยากจะหาความสุขในชีวิตให้มากขึ้นอย่างสร้างสรรค์
เขาก็ทำใด้ไม่ยากนัก แต่เขาจะต้องลดตัวและฝืนใจทำบางสิ่งบางอย่างมากขึ้น เช่นการสนใจเรื่องสุขภาพจิต การรู้จักออมชอม การพูดเพื่อสร้างมิตรภาพและมนุษยสัมพันธ์ การแสดงความรักเพื่อนมนุษย์ให้มากขึ้น ลดการแข่งขัน ก้าวร้าว รู้จักให้อภัยคนอื่น ชีวิตของเขาก็จะมีความสุขมากขึ้น และสามารถนำแนวคิดแนวปฏิบัติดีๆนั้นไปแนะนำลูกน้องได้อีกมาก ไม่เช่นนั้นเขาจะมีแต่งานและเงิน แต่เสมือนเขาทำชีวิตหาย

วันศุกร์ที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2556

"Computer Engineering"

     คอมพิวเตอร์ทุกสาขาจะหนีการเขียนโปรแกรมไม่พ้น คอมพิวเตอร์แต่ละสาขาเน้นคนละด้าน คอมพิวเตอร์ หลักสูตรวิทยาศาสตรจะมีหลายสาขาให้เลือกเรียนเยอะ แต่คอมพิวเตอร์หลักสูตรวิศวกรรมศาสตร์ จะเน้นไปที่ ซอฟต์แวร์ และ ฮาร์ดแวร์  โดยจะเน้นการเขียนโปรแกรม ภาษาจาวา  ซึ่งมีพื้นฐานมาจาก ภาษาซี คอมพิวเตอร์ทุกสาขา จะเรียนเหมือนกัน 3 วิชา ฐานข้อมูล Database , การสื่อสารข้อมูลและเครือข่าย Data Communication and Network , วิเคราะห์และออกแบบระบบ System Analysis SA จะต่างกันตรง ชื่อวิชา รหัสวิชาวิศวกรรมทุกสาขา ซึ่งในการเรียนวิศวะนั้น วิชาฟิสิกส์ต้องได้ และวิศวะทุกสาขาจะต้องเรียน ฟิสิกส์ คณิตศาสตร์ คำนวณ และภาษาซี แต่มีเพียงวิศวะคอมพิวเตอร์เท่านั้นที่จะไปเรียนจาวาต่อ

บุคลิกภาพของผู้เรียน

.   มีเหตุมีผลในการตัดสินใจ
.   มีความกระตือรือร้นในการเรียน
.   ติดตามความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ

สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์

      วิศวกรรมคอมพิวเตอร์เป็นสาขาที่เหมาะกับคนที่สนใจทั้งฮาร์ดแวร์และ ซอฟต์แวร์ ผู้ที่มีพื้นฐานด้านไฟฟ้า อิเลคทรอนิกส์ วิศวกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์ จะสามารถเรียนในสาขานี้ได้ดี การเรียนจะมุ่งเน้นทักษะการออกแบบระบบดิจิทัล  ระบบควบคุมที่ ใช้ซอฟต์แวร์ระดับแก่นโดยใช้ภาษา  C และ  Visual C++ ตลอดจนภาษา Java บางครั้งก็ต้องใช้ภาษา Assembly นักศึกษาจะสามารถออกแบบระบบ Digital ได้ซึ่งประกอบด้วย อุปกรณ์ฮาร์ดแวร์และซอฟตแวร์ที่สร้างพิเศษสำหรับงานนั้นทักษะหลักที่จะได้รับการศึกษา
 
.  ออกแบบระบบควบคุมด้วยดิจิตอล  และซอฟตแวร์ควบคุม
.  ออกแบบซอฟต์แวร์ควบคุมโดยภาษา C
.  ออกแบบระบบเว็บบอร์ด  โดยใช้ภาษา HTML
.  ออกแบบระบบคอมพิวเตอร์ระดับ  VLSI
 

อาชีพหลักที่นักศึกษาทำได้มีดังนี้

.  การบริการระบบ  Internet
.  วิศวกรรมคอมพิวเตอร์
.  วิศวกรควบคุม
.  Software Developer
.  System Engineer
.  Multimedia System Engineer
 
     ศึกษาพื้นฐานทั้งในด้านฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ของระบบคอมพิวเตอร์ การออกแบบ สร้าง ทดสอบทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ของระบบสมองกลฝังตัว (Embeded System) การออกแบบเพื่อประยุกต์ใช้งานด้าน VLSI(Very Large Scale Integrated Circuit) การออกแบบ ติดตั้งและควบคุมระบบเครือข่าย รวมทั้งการเขียนโปรแกรมที่ใช้ประยุกต์ใช้กับการบริหารจัดการข้อมูลของระบบสารสนเทศในรูปแบบต่างๆกัน

โอกาสในการทำงาน

       ขึ้นกับสาขาที่ได้เลือกศึกษา ผู้เรียนสามารถเลือกทำงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างกว้างขวาง   หรือเลือกทำงานในส่วนธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศ เช่น 

- นักออกแบบและพัฒนาเว็บไซต์ 
- ผู้ดูแลเว็บไซต์ นักวิเคราะห์และออกแบบระบบ 
- โปรแกรมเมอร์ 
- นักออกแบบและพัฒนาระบบเครือข่าย   
- ผู้ดูแลระบบเครือข่ายระบบฐานข้อมูลและระบบปฏิบัติการ   
- ผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศขององค์กรผู้ออกแบบฮาร์ดแวร์สมองกลฝังตัว   
- ผู้ออกแบบระบบ   VLSI   
- ผู้ออกแบบระบบสมองกลฝังตัว   
- ฯลฯ   

     นอกจากนี้ผู้เรียนสามารถสร้างกิจการ SME ที่เป็นของตนเอง รวมทั้งศึกษาต่อทั้งในและต่างประเทศได้อีกด้วย



"วิศวกรรมไฟฟ้า"

สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า

      สาขาวิศวกรรมไฟฟ้าเป็นสาขาที่มีบทบาทสำคัญยิ่งต่อกระบวนการภาคอุตสาหกรรม ด้านพลังงาน และความเป็นอยู่ในชีวิตประจำวัน สาขาวิศวกรรมไฟฟ้ามุ่งเน้นในการผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ความเชี่ยวชาญ เพียบพร้อมทั้งด้านทฤษฎี ด้านระบบความคิด และด้านปฏิบัติ ตอบสนองต่อเทคโนโลยีสมัยใหม่ ทั้งในด้านระบบไฟฟ้ากำลัง ระบบควบคุมการวัด ระบบอิเล็กทรอนิกส์ และการสื่อสารโทรคมนาคม เป็นต้น นอกจากนี้ยังเสริมสร้างความรู้และประสบการณ์ด้วยองค์ความรู้ในศาสตร์แขนงต่างๆที่ใกล้เคียง เพื่อให้ผู้เรียนได้สามารถเลือกศึกษาได้อย่างครบวงจร

โอกาสทางวิชาชีพ

      วิศวกรไฟฟ้าคือผู้ที่ประยุกต์ใช้ทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์เพื่อแก้ ปัญหาทางวิศวกรรมไฟฟ้าอย่างสมเหตุสมผลทางเศรษฐศาสตร์ งานของวิศวกรไฟฟ้าจึงเกี่ยวข้องกับการค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ใหม่ ๆ และเชื่อมโยงกับการประยุกต์ใช้ในการแก้ปัญหาทางวิศวกรรม นอกจากนี้งานของวิศวกรไฟฟ้ายังมีส่วนเกี่ยวข้องกับการออกแบบ วิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ รวมทั้งการทดสอบผลิตภัณฑ์ตามมาตรฐาน งานของวิศวกรรมไฟฟ้ายังมีโอกาสเกี่ยวข้องกับโรงงานอุตสาหกรรมในการดูแลระบบ ไฟฟ้าและกระบวนการผลิต ซึ่งต้องใช้การวิเคราะห์ทั้งทางด้านวิศวกรรม การวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์วิศวกรรม ประกอบการดำเนินงาน วิศวกรไฟฟ้ายังอาจทำงานที่เกี่ยวข้องกับการขายการตลาดสำหรับ อุปกรณ์ หรือ ระบบ ที่ต้องใช้ความรู้ทางวิศวกรรมไฟฟ้าในการให้คำปรึกษาทางเทคนิกการใช้งาน ติดตั้ง และการวางแผนของระบบ

ตัวอย่างงานของวิศวกรไฟฟ้า

วิศวกรออกแบบ-ติดตั้งระบบไฟฟ้า
วิศวกรวางแผน-ออกแบบระบบโครงข่ายโทรคมนาคม
วิศวกรโรงงาน
วิศวกรดูแลเครื่องจักรกลไฟฟ้า
วิศวกรระบบโทรคมนาคม
วิศวกรผู้จัดการอาคาร
วิศวกรระบบไฟฟ้ากำลัง
วิศวกรออกแบบแผ่นพิมพ์วงจร
วิศวกรด้านสมองกลฝังตัว
สร้างผลิตภัณฑ์
ที่ปรึกษาด้านพลังงาน
วิศวกรขายผลิตภัณฑ์ด้านวิศวกรรมไฟฟ้า
เป็นผู้ประกอบการ
ฯลฯ

"สถานที่ยอดฮิตของวิศวกรไฟฟ้า"

 

ตัวอย่างสถานที่ทำงาน

การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
การไฟฟ้านครหลวง
การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) (องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยเดิม)
บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน)
บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)
บริษัทเอกชนผู้ประกอบการที่ใช้บริการด้านการสื่อสาร เครือข่ายโทรคมนาคม
บริษัทผลิตไฟฟ้าเอกชน
บริษัทสำรวจและผลิต ผลิตภัณฑ์ด้านปิโตเลียม
บริษัทผู้ประกอบการด้านปูนซีเมนต์
บริษัทเอกชนที่รับงานด้านวิศวกรรมไฟฟ้าจากหน่วยงานของรัฐวิสาหกิจและหน่วยงานของรัฐ
บริษัทเอกชนที่ผลิต จำหน่าย ผลิตภัณฑ์ทางวิศวกรรมไฟฟ้า
โรงงานอุตสาหกรรม
บริษัทออกแบบ-ติดตั้งระบบไฟฟ้า ระบบเครือข่ายโทรคมนาคม
ฯลฯ

โอกาสทางการศึกษา หรือ โอกาสในการทำงาน

- วิศวกรงานระบบในโรงงานและอาคาร ทั้งในฐานะผู้ออกแบบควบคุมการติดตั้งหรือบริหารการใช้งาน ในระบบไฟฟ้า ระบบปรับอากาศ สื่อสารโทรคมนาคม ระบบควบคุมอัตโนมัติรวมถึงระบบพลังงานและสิ่งแวดล้อม

- วิศวกรสนามในโครงการการก่อสร้างหรือผู้ออกแบบโครงสร้างอาคาร ระบบขนส่ง รวมถึงการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำและสิ่งแวดล้อมของเมือง

- วิศวกรควบคุมออกแบบและบริหารการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรม หรือธุรกิจวิศวกรรมอื่นๆ

- ผู้ออกแบบหรือบริหารควบคุมการใช้งาน เครื่องจักรอุปกรณ์ เช่น ยานยนต์ เครื่องจักรการผลิต ระบบอาคารสถาน  ฯลฯ

- นอกจากการเป็นวิศวกรในสาขาต่างๆ พื้นฐานทางด้านเทคโนโลยีและวิศวกรรมยังสามารถใช้ในการประกอบ วิชาชีพอื่นๆได้เป็นอย่างดี เช่น นักประดิษฐ์ ผู้ประกอบการ รวมถึงตำแหน่งงานอื่นๆทั้งภาครัฐและเอกชน ฯลฯ

ความเห็นเพิ่มเติม

- มหาวิทยาลัยเอกชน จะลงทุนในเรื่อง อุปกรณ์การเรียนการสอน

- มหาวิทยาลัยเอกชน  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร  จะดังเกี่ยวกับ คณะวิศวกรรมศาสตร์

- มหาวิทยาลัยเอกชน  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร มหาวิทยาลัยศรีปทุม มหาวิทยาลัยรังสิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จะเป็นที่ยอมรับพอสมควรในแวดวงวิศวกร

- มหาวิทยาลัยรัฐบาลหลักๆที่มีชื่อเสียงเกี่ยวกับวิศวะ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สามพระจอม ขอนแก่น เชียงใหม่ สงขรา



"วิศวกรเคมีกับนักเคมี ?"

วิศวกรรมเคมี → วิศวกรเคมี

วิทยาศาสตร์เคมี → นักเคมี

วิศวกรเคมี จะมีหน้าที่ในการออกแบบและการปฏิบัติการในกระบวนการผลิตขั้นตอนต่างๆ ของโรงงานอุตสาหกรรม มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนา และการประยุกต์ใช้กระบวนการทางเคมี หรือฟิสิกส์เพื่อเปลี่ยนวัตถุดิบเป็นผลิตภัณฑ์ ซึ่งอาจจะนำไปสู่การผลิตผลิตภัณฑ์อื่นๆ อีกมากมาย

นักเคมี มักทำ งานเพื่อค้นคว้าหรือปรับปรุงคุณภาพของผลผลิตด้วยเครื่องมือทดลองรวมทั้งการ คิดค้นวิธีการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น เมื่อนักเคมีได้ทำการค้นพบวิธีการแก้ปัญหา ที่จะทำให้ผลิตภัณฑ์มีคุณภาพสูงขึ้นแล้ว วิศวกรเคมีจะเป็นผู้คิดวิธีที่จะนำไปปรับสภาวะต่างๆ ซึ่งมักเกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์และสังเคราะห์ผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ในกระบวนการผลิตต่อไป

     วิศวกรรมเคมี กับ เคมีเทคนิค คิดว่ามันคงจะคล้ายกันมากพอสมควรครับ เคมีเทคนิคจบมาแล้วสามารถไปสอบเอาใบประกอบวิชาชีพวิศวกรรม (กว.) ได้ครับ แต่จริงๆแล้วใบประกอบวิชาชีพวิศวกรรมสาขาเคมี ไม่มีนะ ถ้าอยากได้จริงๆ อาจจะไปสอบของเครื่องกล (ความจริงสำหรับวิศวกรเคมี พี่ว่าไม่จำเป็นต้องมีใบ กว. หรอก)

     ที่ทำงานเก่าพี่มีอยู่สองคนที่จบเคมีเทคนิคหรือเคมีประยุกต์ มาจากคณะวิทยาศาสตร์ แล้วมาทำงานเป็นวิศวกร ก็เห็นทำงานได้ดีนะ เพื่อนพี่คนนึงจบเคมีเทคนิคที่จุฬาฯ ตอนนี้ก็ทำงานในตำแหน่งวิศวกรที่บริษัทแห่งหนึ่ง

     ที่ต่างกันแน่ๆ ก็ใบปริญญาหน่ะครับ อันนึงเป็นวิศวะ อีกอันนึงจะเป็นวิทยาศาสตร์ แต่พี่คิดว่าความรู้สำคัญกว่าชื่อปริญญานะ ถ้ามาสมัครงานตำแหน่งวิศวกรกับพี่ ระหว่างคนจบวิศวะจบมาด้วยเกรด 2 จุด จุ๋มจิ๋ม กับคนจบเคมีเทคนิคเกรด 3 จุดกว่าๆ พี่คงเลือกคนหลังอ่ะ

     แต่ถ้าเป็นวิศวะเคมีกับวิทยาศาสตร์เคมี อันนี้ต่างกันเยอะครับ คนละเรื่องเลย วิศวะเคมี เดิมคือสาขาหนึ่งของวิศวะเครื่องกล (ที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหรรมเคมี) เพราะฉะนั้นจะเรียนหลายๆ อย่างคล้ายๆ วิศวะเครื่องกลครับ เช่นเรื่อง Fluid Dynamics, Thermodynamics, Heat Transfer, Process Control, etc. 



CR:http://www.unigang.com/Article/1086

วันอังคารที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2556

"วิศวะเครื่องกลกับวิศวะโยธา"


     วิศวะเครื่องกลกับวิศวะโยธาเป็นหนึ่งในสาขาแรกสุดของวิศวกรรม โดยทั้งสองสาขานี้มีข้อดีข้อเสียแตกต่างกัน น้องๆหลายคนอาจจะสงสัยและตั้งคำถามว่า เรียนวิศวะอะไรดี ? เมื่อมองมาถึงสาขาที่เก่าแก่และเป็นรากฐานของวิศวกรรมสาขาอื่นอีกหลายสาขา โยธากับเครื่องกลคงมาเป็นตัวเลือกแรกๆแน่ๆ วันนี้เราจะมาดูกันครับว่าทั้งสองสาขาต่างกันยังไง ทั้งการเรียน ทั้งการทำงาน แต่ไม่สามารถบอกได้หรอกนะครับว่าสาขาไหนดีกว่ากัน เพราะมันแล้วแต่คนจะชอบและมีความสุขที่จะทำมันครับ

เอกลักษณ์ของภาควิชา

โยธา :  เกียร์คอนกรีต
เครื่องกล :  เกียร์เทอร์โม

บุคลิกภาพของผู้เรียน

โยธา : รูปหล่อ พ่อรับเหมา บ้านขายเสา บ้านขายปูน เก็กนิดๆตามสไตร์คนจะมาเป็นหัวหน้าคนงาน จริงจังใส่ใจทุกรายละเอียด
เครื่องกล : หล่อแบบเถื่อนๆ แฟนไม่ค่อยมี บ้านเปิดอู่ ดูเถื่อนในสายตาคนภายนอก ดูบ้าบอเมื่อสนิท ไม่ค่อยเครียดกับอะไร เรียนๆเล่น ชิวๆ

วัตถุประสงค์ของสาขาวิชา

โยธา : สร้างวิศวกรที่มีความสามารถในการออกแบบ วิเคราะห์และควบคุม งานในสาขาวิศวกรรมโยธา ซึ่งเป็นงานที่มีผลกระทบต่อสังคมสูง ครอบคลุมความรู้หลายแขนง อาทิเช่น วิศวกรรมโครงสร้าง วิศวกรรมปฐพี วิศวกรรมขนส่ง วิศวกรรมแหล่งน้ำ วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม และรวมถึงการบริหารงานก่อสร้าง
เครื่องกล : เป็นสาขาวิชาชีพหลักสาขาหนึ่งทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ที่มีความจำเป็นต่อการพัฒนาประเทศ   โดยศึกษาการออกแบบและการควบคุมใช้งานระบบทางกลของ เครื่องจักรอุปกรณ์ยานยนต์ และระบบทางพลังงาน เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการใช้งาน โดยมุ่งเน้นสู่การเป็น "Practical engineer" ผู้เชี่ยวชาญและนักปฏิบติ ที่เป็นที่ต้องการของภาคธุรกิจอุตสาหกรรม โดยมีแขนงความเชี่ยวชาญในด้านวิศวกรรมพลังงาน วิศวกรรมยานยนต์ วิศวกรรมระบบ ควบคุมอัตโนมัติ วิศวกรรมออกแบบเครื่องจักรกลและระบบทางอาคาร (เช่น ระบบปรับอากาศ   ระบบท่อ ระบบขนส่ง   ฯลฯ)

โอกาสทางวิชาชีพ

โยธา : สาขาวิชาวิศวกรรมโยธาเป็นสาขาหนึ่งในงานวิศวกรรมควบคุม ซึ่งผู้จะทำงานทางด้านวิศวกรรมโยธาได้ต้องได้รับใบอนุญาตวิศวกรรมควบคุมจาก สภาวิศวกร ซึ่งจะได้รับใบอนุญาตก็ต่อเมื่อจบการศึกษาวิศวกรรมศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา และสอบผ่านเกณฑ์ของสภาวิศวกร อาชีพที่เกี่ยวข้องและจำเป็นต้องใช้วิศวกรโยธา มีทั้งงานในภาครัฐและเอกชน เช่นการเป็นผู้ออกแบบ ศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ การเป็นผู้ตรวจสอบหรือควบคุมงานก่อสร้าง หรือเป็นผู้รับเหมาก่อสร้าง เป็นต้น อย่างไรก็ตาม งานในสาขาวิศวกรรมโยธามีแขนงย่อยลงไปอีกหลายแขนง ประกอบด้วย

- แขนงวิศวกรรมโครงสร้าง (structural engineering)
- แขนงการบริหารงานก่อสร้าง (construction management)
- แขนงวิศวกรรมปฐพี (soil engineering หรือ geotechnical engineering)
- แขนงวิศวกรรมแหล่งน้ำ (water resource engineering) หรือวิศวกรรมชลประทาน (irrigation engineering)
- แขนงวิศวกรรมขนส่ง (transpotation engineering)
- แขนงวิศวกรรมสำรวจ (survey engineering)
- แขนงวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม (environmental engineering)
 
     ดังนั้นวิศวกรโยธามีโอกาสเลือกเข้าไปทำงานอยู่ในส่วนงานต่างๆที่หลากหลายไม่จำกัด แค่งานก่อสร้างเท่านั้น ถือได้ว่าโอกาสในการทำงานจริงแล้วมีไม่น้อย เพียงแต่ผู้เรียนทางสาขานี้ต้องแสวงหาความรู้และติดตามข่าวสารต่อเนื่องเปิด โอกาสของตนเองให้กว้างขึ้น

เครื่องกล : งานวิชาชีพหลักของสาขาวิศวกรรมเครื่องกล เกี่ยวข้องกับการคำนวณออกแบบควบคุมการผลิต การค้นคว้า วิเคราะห์ ทดสอบ วางโครงการ อำนวยการติดตั้ง และอำนวยการใช้ระบบและอุปกรณ์ คือ เครื่องต้นกำลัง เครื่องใช้กำลัง อุปกรณ์ถ่ายเทความร้อน เครื่องกำเนิดไอน้ำ หรือไออย่างอื่นๆ เตาเผา ภาชนะใส่ก๊าซภายใต้ความดัน เครื่องปรับอากาศ เครื่องทำความเย็น และระบบท่อส่งของไหลภายใต้ความดันและของไหลอันตราย

ตัวอย่างตำแหน่งงานของวิศวกรเครื่องกล
 
- วิศวกรออกแบบ-ติดตั้งระบบปรับอากาศ ระบบท่อประปา/สุขาภิบาล/ดับเพลิง ในอาคาร
- วิศวกรออกแบบ หรือ ติดตั้ง ระบบทางกล ในอาคารและโรงงานอุตสาหกรรม
- วิศวกร ออกแบบชิ้นส่วนทางกล ออกแบบผลิตภัณฑ์
- วิศวกรวางโครงการ บริหารโครงการ
- วิศวกรกระบวนการผลิต ในโรงงานอตสาหกรรม
- วิศวกร ซ่อมบำรุง รักษาเครื่องจักร ในโรงงาน
- วิศวกรควบคุมคุณภาพการผลิต
- วิศวกร บริหารจัดการอาคาร
- วิศวกรด้านวิเคราะห์ทุนในสถาบันทางการเงิน
- วิศวกรผู้รับผิดชอบด้านพลังงาน ในอาคารและโรงงานอุตสาหกรรม
- วิศวกรด้านอุตสาหกรรมพลังงาน หรือ พลังงานทางเลือก
- วิศวกรด้านการขายผลิตภัณฑ์ ระบบทางวิศวกรรม
- นักวิชาการ นักวิจัย นักพัฒนา ระบบทางกล เครื่องยนต์ ระบบพลังงาน
- เป็นผู้ประกอบการ


 "Mechanical vs Civil"

 

โอกาสในการทำงาน

โยธา : ภาครัฐ เช่น กระทรวงคมนาคม กระทรวงมหาดไทย กรมโยธาธิการและผังเมือง กรมทางหลวง กรมที่ดิน กรมทางหลวงชนบท กรมชลประทาน กรมทรัพยากรน้ำ รวมทั้งหน่วยงานในส่วนการปกครองท้องถิ่น อบต. อบจ. เทศบาล เป็นต้น

      รัฐวิสาหกิจ เช่น การไฟฟ้าฝ่ายผลิต การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค การไฟฟ้านครหลวง การประปา ปตท. เป็นต้น

      ภาคเอกชน เช่น บริษัทรับเหมาก่อสร้าง บริษัทที่ปรึกษาและออกแบบ บริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ บริษัทหรือหน่วยงานบริการทางเทคนิค เช่น งานสนับสนุนการขาย งานบริการทดสอบที่เกี่ยวข้อง ฯลฯ

เครื่องกล : วิศวกรงานระบบในโรงงานและอาคารทั้งในฐานะผู้ออกแบบควบคุมการติดตั้ง หรือ บริหารการใช้งานในระบบไฟฟ้า ระบบปรับอากาศ สื่อสารโทรคมนาคม ระบบควบคุมอัตโนมัติ รวมถึงระบบพลังงานและสิ่งแวดล้อม 
       วิศวกรสนามในโครงการการก่อสร้างหรือผู้ออกแบบโครงสร้างอาคาร ระบบขนส่ง รวมถึงการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำและสิ่งแวดล้อมของเมือง วิศวกรควบคุมออกแบบและบริหารการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรม
หรือธุรกิจวิศวกรรมอื่น   ๆ
       ผู้ออกแบบหรือบริหารควบคุมการใช้งาน เครื่องจักรอุปกรณ์ เช่น ยานยนต์ เครื่องจักรการผลิต ระบบอาคารสถาน ฯลฯ 
     นอกจากการเป็นวิศวกรในสาขาต่างๆข้างต้นแล้ว พื้นฐานทางด้านวิศวกรรมยังสามารถใช้ในการประกอบวิชาชีพอื่นๆได้เป็นอย่างดี เช่น นักประดิษฐ์ ผู้ประกอบการทางเทคโนโลยีและวิศวกรรมรวมถึงตำแหน่งงานอื่นๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน


ตัวอย่างสถานที่ทำงาน

- โรงงานอุตสาหกรรมทุกประเภท เช่น Toyota, TATA, CP, ปตท., ปูนซีเมนต์ไทย ฯลฯ
- บริษัทออกแบบ ก่อสร้าง ติดตั้ง ระบบทางกลในอาคาร (ระบบปรับอากาศ ลิฟท์ ประปา) เช่น Jardines Engineering, Italian Thai, พฤษา ฯลฯ
- บริษัทที่ปรึกษา ด้าน สิ่งแวดล้อม พลังงาน และ วิศวกรรมอื่นๆ
- สถาบันทางการเงิน ที่ต้องการการวิเคราะห์ทางด้านทุน ที่เกี่ยวข้องกับงานอุตสาหกรรม
- บริษัท จำหน่ายอุปกรณ์ทางวิศวกรรมเครื่องกล
- หน่วยงานรัฐ ที่เกี่ยวข้องกับด้านวิศวกรรม
- ฯลฯ





CR : ถามวิศวะ: วิศวกรรมโยธา จุฬาฯ http://www.youtube.com/watch?v=g9uhG2yuN3M
       ถามวิศวะ: วิศวกรรมเครื่องกล จุฬาฯ http://www.youtube.com/watch?v=IJ2-zo0FsA4

วันจันทร์ที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2556



 "Mechanical Engineering"

     เรามารู้จักเกี่ยวกับ วิศวกรรมเครื่องกล กันดีกว่าว่าสาขานี้เขาเรียนอะไรกันอย่างไรและกินเหล้าแล้วเขาทำอะไรกันมั่ง และจบแล้วจะทำอะไรแล้วทำไมต้องเรียนสาขานี้ และช่วยอะไรวันหน้าจะเป็นเช่นไรเรามารู้จักกันดีกว่า

ตอนนี้กำลังเรียนคณะอะไร สาขาอะไรอยู่?

     ตอนนี้จบแล้วครับ ผมจบวิศวกรรมศาสตร์บัณฑิต สาขาวิศวกรรมเครื่องกลเมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๘ และ วิศวกรรมศาสตร์มหาบัณฑิต สาขา Advacned Manufacturing Technology เมื่อปีที่แล้วครับ
แต่รอบนี้จะพูดถึงวิศวกรรมเครื่องกลอันเป็นพื้นฐานหลักของผมก่อนครับ
—————————-

สาขาที่เรียน เรียนยังไง เรียนอะไรบ้าง?

     ผมไม่รู้หรอครับว่าที่โรงเรียนพิเศษเขาสอนให้คุณท่อง สูตรอะไรมาบ้าง แต่ที่แน่ ๆ ลืมมันไปได้เลยถ้าคิดว่าจะเรียนวิศวกรรมศาสตร์ครับ เพราะถ้าแค่จำได้แต่ไม่เข้าใจก็เตรียมตัวเข้าโลงครับ
การเรียนในคณะวิศวกรรมศาสตร์ในแต่ละสาขาอาจจะแตกต่างกัน ออกไป แต่มีสิ่งที่เหมือนกัน คือการเรียนเพื่อให้เข้าใจที่มาที่ไปของแนวคิดทางวิศวกรรมแต่ละอย่าง เพื่อที่จะได้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ต่อไปได้อย่างถูกต้องเหมาะสมครับ
     เคยมีคนมาถามผมครับว่า ทำยังไงให้ความจำดี เรียนวิศวกรรมศาสตร์ได้ ผมเผาให้ฟังตรงนี้เลยนะครับว่าความจริงแล้ว พวกวิศวกรอย่างผมไม่ค่อยคิดจะจำอะไรกันหรอกครับ เพราะเรามีข้อมูลที่ต้องหยิบมาอ้างอิงใช้เป็นเล่ม ๆ ดังนั้น วิศวกรคือนักเปิดตารางหาข้อมูลตัวยงครับ
นอกจากนี้ ในการทำงานของเรา มีตัวแปรไม่ทราบค่ามากมาย ดังนั้นในหลาย ๆ ครั้งเราจะทำงานกันด้วยวิธี “ลองผิดลองถูก” และชอบการสมมติเรื่องราวให้มันง่ายต่อการคิดมากขึ้นครับ ดังนั้นเราจึงเรียกได้ว่า “นักมั่วและเดาอย่างมีหลักการ” ครับ
แต่อ้อ ในงานหลาย ๆ จุดของเราที่มีความเสี่ยงอันจะก่อให้เกิดอันตรายจนถึงแก่ชีวิตเนี่่ย เราก็ไม่กล้ามั่วกันหรอกนะ พลาดมาทีก็ได้ย้ายไปนอนซังเตแหละคุณ

 "Machanic Drawing"

วิชาที่เรียนอาจจะพูดได้ว่า

ปี ๑ เรียนพื้นฐานวิทยาศาสตร์ + แคลคูลัส + เขียนแบบ
ปี ๒ เรียนวิชาพื้นฐานทางวิศวกรรม + สมการพีชคณิต / เมทริกซ์ / สมการเชิงอนุพันธ์
ปี ๓ เรียนวิชาเฉพาะทางของสายตัวเอง + ระเบียบวิธีเชิงตัวเลข (สถิติอาจจะไปโผล่ที่ปีไหนก็ได้ แต่อยู่แถว ๆ ปี ๒-๓ นี่แหละ)
ปี ๔ ทำโปรเจค + เรียนวิชาเฉพาะทางชั้นสูงของสายตัวเอง
ปี ๕ – ๘ แปลว่าซิ่วหนิ
ปี ๙ คุณใช้เวลาเรียนเกินโควตา กลับไปขายเต้าหู้เถอะ
———————-

สาขาที่เรียนเอาไปใช้ทำอะไรได้บ้าง?

     สมัยผมอยู่ ม ๖ ผมตัดสินใจแล้วครับว่าจะเรียนสาขานี้ แต่พอน้องโรงเรียนมาถามว่า “พี่ แล้วมันทำอะไรมั่งหล่ะพี่” ผมก็ตอบไปอย่างมั่นใจ “ออกแบบเครื่องจักรกลสิวะ”
พอขึ้นปี ๑ เจอน้องถามคำถามเดิมครับ แต่คำตอบนั้น ชักไม่มั่นใจ เพราะเริ่มรู้แล้วว่ามันกว้างกว่านั้น เลยตอบไปว่า “ไม่รู้หว่ะ”
สุดท้ายจบปี ๒ ถึงได้เข้าใจและตอบคำถามน้องได้ว่า “ที่ไหนมีพลังงานและการเคลื่อนไหว ที่นั่นมีพวกกู”
ใช่แล้วครับ ความจริงแล้ว งานของวิศวกรเครื่องกลนั้นครอบจักรวาลเลยครับ ลงไปได้ตั้งแต่ก้นบึ้งของมหาสมุมร (เรือดำน้ำ) ไปจนสุดขอบจักรวาล (ยานอวกาศ) และรอบ ๆ ตัวพวกคุณก็มีงานของพวกผมนะ
บ้านเราเนี่ย ร้อนจะตายชัก ยังไงก็ต้องมีพัดลม หรือมีแอร์กันมั่งแหละน่า พัดลม พวกผมเรียนกันในฐานะ Fluid Machinary หรือจักรกลของไหล (แต่ไปหนักปั๊มหรือคอมเพรสเซอร์มากกว่า)
     แอร์ เป็นวิชาเลือกครับ แต่ผมเรียนในวิชา Refrigeration and Air Conditioning (อันนี้บังคับ) กับ Air Conditioning ครับ ระบบท่อน้ำในบ้าน ก็สามารถอธิบายได้ในวิชา กลศาสตร์ของไหล และบางคนอาจจะเรียนวิชา Piping มาด้วยสิ
     เอางี้ดีกว่า อะไรที่ไม่มีพลังงานและการเคลื่อนไหว ไม่ใช่สิ่งที่วิศวกรเครื่องกลจะลงไปเสือกได้ครับ
กว้างดีไหมหล่ะ
———————–

บอกเคล็ดลับการเรียนในสาขานี้อย่างคนมีกึ๋นมา 1 ข้อ

     อย่างที่บอกในข้อแรก ๆ แหละครับว่า ต้องเรียนด้วยความเข้าใจมากกว่าแค่จำ ที่สำคัญต้องรักมันด้วยครับ ถ้าคุณรักในสิ่งที่เรียน ยังไงก็สนุกแหละ เชื่อสิที่สำคัญ ความสนุกของวิศวกรรมศาสตร์คือการได้ลงปฎิบัติครับ ซึ่งเราจะได้เห็นว่า ไอ้ที่เราปวดหัวเรียน ๆ กันมาเนี่ย พอเอาไปใช้จริงแล้วมันเป้นยังไงกันมั่ง
นอกจากนี้เราอาจจะได้มีโอกาสไปพบเจอกับอะไรที่คนอื่นเขาไม่เคยเจอไม่เคยเห็นครับ ผมเคยไปตะลุยโรงซ่อมเครื่องบินของการบินไทยมาแล้วหล่ะ ไปดูเครื่องบินที่เขาแกะออกมาเป็นชิ้น ๆ เหลือแต่โครง แค่เคยนั่งเก้าอี้ชั้น First Class เรอะ เฉย ๆ เพราะผมเอาตูดไปหย่อนลงบนเก้าอี้นักบินมาแล้ว “นุ๊ม นุ่ม”
สมัยฝึกงานที่เขื่อนศรีนครินทร์ ผมก็ลุยมาทั่วแหละ ลงไปตรวจอุปกรณ์ใต้แนวเขื่อน ปีนท่อส่งน้ำสูง ๒๕๐ เมตร เพื่อขันน็อต ที่ตัวใหญ่กว่ากำปั้นผมเสียอีก มองลงมา ตึง ๕ ชั้นมันเล็กนิดเดียวเอง “โอ๊ะ ลมเย็นจัง เหอ ๆ ๆ”
———————–

อยากบอกน้องๆ ที่จะเลือกคณะนี้ว่า??

     ใช่ครับ วิศวกรเป็นสาขาที่ใช้การคำนวนสูงมาก แต่ไม่ได้แปลว่าเราต้องคำนวนได้เก่ง ได้แม่นหมดหรอกครับ เพราะเอาเข้าจริงแล้ว เราใช้เครื่องคิดเลข/คอมพิวเตอร์ช่วยการคำนวนหมดแหละครับ
คณิตศาสตร์ที่เรียน ๆ มา ใช่ครับ ยากมหากาฬ โหดหินทมิฬชาติ แต่สุดท้ายแล้ว มีตารางช่วยหมดแหละครับ
สิ่งที่สำคัญไปกว่าการคำนวนสำหรับวิศวกรคือการตีความหมายจากการคำนวนครับ
     สมมติว่าค่าที่ได้มาคือ 50 .... 50 นิวตัน กับ 50 กิโลกรัม มันคนละเรื่องกันเลยนะครับถึงแม้ว่าหน่วยของแรงกับมวลนี้จะมีความสัมพันธ์ กันก็เถอะ แต่มันยังเป็นคนละตัวอยู่ดี หรือถ้าเราไปใส่ค่าว่า 50 มิลลิเมตร แทนที่ค่า 50 เมตร ความแตกต่างของสองค่านี้มันคือพันเท่านะครับ และถ้านี่เ็ป็นการออกแบบสิ่งก่อสร้างหล่ะก็ มันเจ๊งอย่างไม่ต้องสงสัยครับ
     นอกจากนี้ การคิดคำนวนอย่างมีที่มาที่ไปและมีลำดับขั้นตอนนั้น สำคัญที่สุดเลยครับ เพราะนี่คือชีวิตครับ ซึ่งการจะทำได้นั้น ต้องมีความเข้าใจในทฤษฎีที่นำมาใช้อย่างยวดยิ่งเลยครับ
นอกจากนี้ วิศวกรต้องเป็นนักประยุกต์ที่ชาญฉลาดด้วยครับ รู้จักคิดว่าจะใช้ประโยชน์จากสิ่งที่รู้อย่างไร หรือรู้ว่าจะใช้ความรู้ที่มีแก้ปัญหาอย่างไรครับ

โดยเนื้องานที่แท้จริงแล้ว วิศวกรเป้นนักแก้ปัญหาครับผม
——————————

โอกาสสำหรับวิศวกร (เพิ่มเติม)

     นี่อาจจะเรียกว่าอภิสิทธิ์พิเศษสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมอย่าง หนึ่งเลยก็ว่าได้ครับคือมีโอกาสถูกส่งไปดูงานสูงกว่าชาวบ้านครับ (แต่ไม่ทุกคนหรอกนะ แล้วแต่บริษัทด้วย แต่ทั่วไปแล้ว โอกาศสูงกว่าคนอื่นเขา)
     นอกจากนี้ วิชาชีพวิศวกรรมนั้น จัดได้ว่าเป็นเสาค้ำจุนระบบเศรษฐกิจวิชาชีพหนึ่งครับ ทุกที่ที่มีการผลิต ล้วนต้องใช้งานวิศวกร และนั่นส่งผลให้่วิศวกร เป็นที่ต้องการไปทั่วโลกครับ
ถ้าคุณเป็นวิศวกรที่มีทักษะทางภาษาดี มีหลาย ๆ ประเทศที่อ้าแขนรอรับคุณครับ เช่นออสเตรเลียครับ
“Join us engineers, let’s go to creat the world”
   

CR:http://capt-stg.exteen.com/20090914/entry

วันอาทิตย์ที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2556

     

 "อัตราการขึ้นเงินเดือน"

     กลุ่มธุรกิจที่มีแนวโน้มการขึ้นเงินเดือนสูง ในปี 2556 นี้ 3 อันดับแรก ได้แก่ กลุ่มสาธารณูปโภค (พลังงาน-ไฟฟ้า) มีแนวโน้มปรับขึ้นเงินเดือน 7.54%, กลุ่มอุตสาหกรรมน้ำมันและก๊าซปรับขึ้น 7.01% และกลุ่มอุตสาหกรรมทั่วไป 6.80%

     ส่วนกลุ่มอุตสาหกรรมอื่นที่จะปรับสูงในปี 2556 เช่นเดียวกัน ได้แก่ กลุ่มปิโตรเคมีภัณฑ์ ปรับขึ้น 5.69%, กลุ่มธุรกิจการเงิน 6.63%, กลุ่มเทคโนโลยี 6.08%, กลุ่มธุรกิจการสื่อสารและคมนาคม 5.63%, กลุ่มสินค้าอุปโภคและบริโภค 5.98%, กลุ่มธุกิจอสังหาริมทรัพย์ 6.24% และอุตสาหกรรมทั่วไป 6.35% ทั้งนี้ โดยรวมแนวโน้มการขึ้นเงินเดือนของภาคอุตสาหกรรมมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 6.35% จากฐานเงินเดือนเดิม

     ดร.มานะกล่าวว่า จากการสำรวจพบว่ากลุ่มพนักงานระดับปฏิบัติการ ขึ้นเงินเดือนจากปี 2554-2555 เฉลี่ย 7.03% ขณะที่การคาดการณ์ปี 2556 จะมีการขึ้นเงินเดือนพนักงานระดับปฏิบัติการสูงกว่าระดับหัวหน้างาน และผู้บริหารระดับสูงวิชาชีพที่ได้รับเงินเดือนสูงสุด คือ วิศวกร เฉลี่ย 20,000-23,000 บาท ต่อเดือนเฉพาะบัณฑิตใหม่ รองลงมา คือนักวิจัย&พัฒนา, โลจิสติกส์&ซัพพลายเชน, ไอที, สุขภาพ และสิ่งแวดล้อม โดยอัตราเงินเดือนไม่แตกต่างมากนัก

 "กลุ่มธุรกิจค้าปลีก คือ กลุ่มที่โดดเด่นที่สุดในการปรับเพิ่มเงินเดือน"
 
     ด้านนายสุขวัฒน์ เพ็ญไภไคย ที่ปรึกษาบริษัท เอออน ฮิววิท ประเทศไทย จำกัด เปิดเผยผลสำรวจแนวโน้มการปรับอัตราเงินเดือนและโบนัสของพนักงานประจำปี 2555 ว่า อุตสาหกรรมที่มีความโดดเด่นในการขึ้นเงินเดือนปี 2556 ได้แก่ กลุ่มธุรกิจค้าปลีก ปรับขึ้น 9.9%, กลุ่มธุรกิจการเงิน 7.2% และอุตสาหกรรมยานยนต์ 5.9% ตามลำดับ นอกจากนี้ ยังพบอัตราการขึ้นเงินเดือนของกลุ่มเทคโนโลยี-ไอที 6.3% กลุ่มอุตสาหกรรมเคมี 5.8%, กลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภค 5.5%, กลุ่มอุตสาหกรรมยาและอาหารเสริม 5.5%
 
     ขณะเดียวกันจาการสำรวจอัตราการเทิร์นโอเวอร์ ของพนักงานในกลุ่มอุตสาหกรรมต่าง ๆ พบว่ามีแนวโน้มสูงขึ้นตลอด 3 ปีผ่านมา โดยปี 2553 มีอัตราการเทิร์นโอเวอร์ 8% สูงขึ้นเป็น 12% ในปี 2554 และปี 2555 สูงถึง 17% โดยพนักงานในกลุ่ม เทคโนโลยี-ไอทีมีอัตราการเทิร์นโอเวอร์สูงสุด 35.2% รองลงมา คือกลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภค 21.2% วิศวกรรม 14.4% และอุตฯเคมี 11.8%
 
   จากการสำรวจแนวโน้มการปรับเงินเดือนและจ่ายโบนัสของบริษัทพัฒนาที่ดินซึ่ง เป็นกลุ่มอุตสาหกรรมหนึ่งที่มีการปรับขึ้นเงินเดือนและจ่ายโบนัสสูงอันดับ ต้น ๆ พบว่า บมจ.แอล.พี.เอ็น.ดีเวลลอปเมนท์ จะจ่ายโบนัสพนักงานในปีนี้ใกล้เคียงหรือเท่ากับปีก่อนที่ 6-12 เดือน เนื่องจากผลประกอบการปี 2555 มีแนวโน้มเป็นไปตามประมาณการที่ตั้งไว้ 1.3 หมื่นล้านบาท ประกอบกับเมื่อเร็ว ๆ นี้เพิ่งปรับฐานเงินเดือนพนักงานจบใหม่ (ปริญญาตรี) เพิ่มขึ้นเป็นเดือนละ 15,000 บาท
 
   ส่วนวงการรับเหมาก่อสร้าง บมจ. พรีบิลท์ มีแผนจ่ายโบนัสไม่ต่ำกว่าปีที่ผ่านมาเฉลี่ย 3 เดือน เพราะผลประกอบการน่าจะเป็นไปตามเป้า 4,000 ล้านบาท ขณะที่ บมจ. ซิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่ง คอนสตรัคชัน ปีนี้นายอนุทิน ชาญวีรกูล ประกาศนโยบายจ่ายเงินโบนัสให้พนักงานขั้นต่ำ 10-12 เดือน เทียบกับปีที่แล้วจ่ายสูงสุด 6 เดือน เนื่องจากผลประกอบการเติบโตมากขึ้น โดยปีนี้บริษัทมีสัญญาก่อสร้างล่วงหน้า (แบ็กล็อก) กว่า 60,000 ล้านบาท ปีที่แล้วมีรายได้กว่า 14,000 ล้านบาท คาดว่าสิ้นปีนี้จะมีรายได้ 18,000-19,000 ล้านบาท
 
 
 
 


          "โบนัส คือ เงินค่าตอบแทนที่บริษัทจ่ายให้กับพนักงาน อันเนื่องมาจากบริษัทมีผลประกอบการที่ดี" 


     วันนี้เรามาดูโบนัสของบริษัทระดับบิ๊กๆของประเทศไทยกันนะครับ ว่าที่ไหนจ่ายโบนัสเยอะ ที่ไหนจ่ายโบนัสน้อย โดยผลการสำรวจนี้เป็รการสำรวจโบนัสของปี 2555 ซึ่งเป็นปีที่มีนโยบายรถคันแรกครับ จึงส่งผลให้บริษัทรถยนต์มียอดขายทะลุเป้า ดังนั้นโบนัสของพนักงานจึงเยอะตาม มากแค่ไหน ไปดูกันครับ
 
สรุปผลการจ่ายโบนัสในแต่ละอุตสาหกรรมตามข่าวที่ออกมา เป็นดังนี้
1. อุตสาหกรรมยานยนต์
- โตโยต้า 8.5 เดือน
- มิตซูบิชิ 7 เดือน
- ยามาฮ่า 5 เดือน
- ฮอนด้า 4-5 เดือน
- ผู้ผลิตชิ้นส่วน 4 เดือน + เงินพิเศษ

2. อุตสาหกรรมอาหาร เครื่องดื่ม สินค้าอุปโภคบริโภคและค้าปลีก
- สหพัฒนพิบูล 5 เดือน
- โออิชิ กรุ๊ป 2 เดือน (ขึ้นเงินเดือน 6-7%)
- เซ็นทรัล พัฒนา 3.5 เดือน
- ซีพีเอฟ 2 เดือน (เป็นวัฒนธรรมการจ่ายแบบ fix bonus เท่ากันทุกปี)
- โคคา-โคลา ไม่ระบุ แต่จะจ่ายเป็น variable bonus
- สหฟาร์ม ไม่จ่ายโบนัส
- ยูนิลีเวอร์ ยังไม่พิจารณาโบนัส เพราะมีรอบการจ่ายในเดือนเมษายนของทุกปี

3. อุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์-รับเหมาก่อสร้าง
- ซิโน ไทย  6-10 เดือน
- ศุภาลัย 5-9 เดือน
- พรีบิลท์ 4-6 เดือน
- ช.การช่าง 3 เดือน
- ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น  1 เดือน

4. อุตสาหกรรมการสื่อสารและโทรคมนาคม
- พี เอส ไอ 3-5 เดือน ขึ้นเงินเดือน 15%
- เอ ไอ เอส 4 เดือน
- กสท 4 เดือน
- ดี แทค 1 เดือน
- ที โอ ที 1 เดือน

5. กลุ่มสื่อหนังสือพิมพ์
- เดลินิวส์ 3-4 เดือน
- มติชน 2 เดือน
- กรุงเทพธุรกิจ 1-2 เดือน
- ฐานเศรษฐกิจ 1 เดือน
- โพสต์ทูเดย์ 0.5 เดือน

6. กลุ่มบริษัทหลักทรัพย์
- ดีบีเอส วิคเคอร์ส (ประเทศไทย) 2-3 เดือน
- ฟิลลิป 2 เดือน
- เมย์แบงก์กิมเอ็ง ขึ้นเงินเดือน 5-10%
- (บลจ.)กรุงศรี ขึ้นเงินเดือนไม่น้อยกว่า 5%
- ค่าเฉลี่ยในกลุ่มหลักทรัพย์ 2-3 เดือน ปรับเงินเดือน 5-10%

7. การคมนาคมขนส่ง
- ท่าอากาศยานไทย (ทอท.) 7.5 เดือน
- การทางพิเศษแห่งประเทศไทย  5 เดือน
- วิทยุการบินแห่งประเทศไทย 4 เดือน
- โรงแรมเคมปินสกี้ 1.5 เดือน
- บขส.  1 เดือน

8. อุตสาหกรรมการผลิตและส่งออก
- ไทยฮั้วยางพารา 3-6 เดือน
- แพรนด้า จิวเวลรี่ 1-2 เดือน

     สรุป ในปี 2555 มีอัตราเงินเฟ้ออยู่ที่ประมาณ 3.5 -7 % การจ่ายโบนัสส่วนใหญ่คือการจ่ายตามผลประกอบการของบริษัทและผลการปฏิบัติงาน ของพนักงาน กลุ่มค่ายรถยนต์มีการจ่ายโบนัสสูงสุด เนื่องมาจากอานิสงส์ของนโยบายคืนภาษีรถคันแรก ที่กระตุ้นความต้องการซื้อรถใหม่ทำลายสถิติสูงสุด คือ มียอดการผลิตทะลุ 2 ล้านคัน เฉพาะยอดสั่งจองในงานมอเตอร์เอ็กซ์โปปลายปีที่ผ่านมา ก็สูงเกือบ 9 หมื่นคัน เรียกได้ว่าเป็นนโยบายขายดี จนกรมสรรพสามิตต้องขยายเวลาเปิดรับให้ประชาชนยื่นคำร้องขอคืนภาษีรถคันแรก ได้ตั้งแต่ 7 โมง ถึง 2 ทุ่ม ตั้งแต่ 11 ธ.ค.55 เป็นต้นไป
  
      ผลสืบเนื่องจากยอดขายรถยนต์ทะลุเป้า ก็จะทำให้ธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับรถยนต์ได้รับอานิสงส์ไปตาม ๆ กัน เช่น ธุรกิจพลังงานเชื้อเพลิง ผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ การบำรุงรักษารถ อุปกรณ์ตกแต่ง การเดินทางท่องเที่ยว ทางด่วน การก่อสร้างเส้นทางคมนาคม ประกันภัยรถยนต์ ฯลฯ แต่ผลกระทบจากการออกรถใหม่เพิ่มขึ้นนี้ก็มีเช่นกัน คือ รถติดมากขึ้น รถมือสองจะยอดตก รวมทั้ง อุตสาหกรรมอื่นๆ ก็จะมียอดตกตามไปด้วย เพราะกำลังซื้อถูกดูดไปเป็นค่าผ่อนรถ ทำให้ผู้บริโภคที่มีภาระค่าผ่อนรถระยะยาวจะชะลอการตัดสินใจซื้อสินค้า ฟุ่มเฟือยประเภทอื่น แต่ถ้าใครอยากเกาะกระแสแรงแห่งปีก็ลองคิดโปรโมชั่นหรือทำการตลาดที่เกี่ยว เนื่องกับผู้ใช้รถก็น่าจะเป็นโอกาสที่น่าสนใจ

     ส่วนผลกระทบที่เกี่ยวข้องกับการบริหารทรัพยากรบุคคลก็คือ แนวโน้มของแรงดึงดูดในอุตสาหกรรมต่าง ๆ โดยเฉพาะกลุ่มยานยนต์ที่น่าจะมีความสามารถในการดึงดูดแรงงานเข้าสู่ อุตสาหกรรมได้มากกว่าอุตสาหกรรมอื่น เพื่อรองรับการขยายกำลังการผลิตที่กำลังมีความต้องการสูง สำหรับในปีหน้า 2556 ที่ค่าแรงจะขึ้นเป็น 300 บาท ทั่วประเทศ ก็น่าจะส่งผลให้มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างเงินเดือน โครงสร้างสัดส่วนแรงงาน ในหลายอุตสาหกรรม อันเนื่องมาจากการเคลื่อนย้ายแรงงานฝีมือ และแรงงานต่างด้าว ระดับของผลกระทบก็ขึ้นอยู่กับความต้องการในการพึ่งพาทักษะแรงงาน และปริมาณกำลังคนในแต่ละอุตสาหกรรมว่ามีความเข้มข้นมากน้อยแค่ไหน


cr:http://hilight.kapook.com/view/79890

วันเสาร์ที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2556


"บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน)"

      การบินไทยเป็นรัฐวิสาหกิจที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ดำเนินธุรกิจมาครบ 50 ปี สั่งสมชื่อเสียงมายาวนานแม้จะมีข่าวคราวทุจริตคอรัปชั่นภายในองค์กรมาอย่าง ต่อเนื่อง แต่ก็ยังเป็นบริษัทที่มีคนอยากร่วมงานด้วยเป็นจำนวนมาก ทั้งในแง่ความมั่นคงและสวัสดิการของการบินไทย โดยเฉพาะนโยบายเรื่องบัตรโดยสารฟรีและส่วนลดบัตรโดยสารที่เผื่อแผ่ไปยังคู่ สมรสและครอบครัว รวมถึงอัตราผลตอบแทนของผู้เกษียณอายุก่อนกำหนดที่ให้ผลตอบแทนงามตั้งแต่ 7-16 เท่าของเงินเดือน

      นอกจากนี้สำหรับตำแหน่งลูกเรือและนักบินแล้ว รายได้ที่มากกว่าอาชีพอื่นๆ ในช่วงวัยเดียวกัน รวมถึงมีโอกาสได้เดินทางไปยังสถานที่ต่างๆ ตามเส้นทางบินของการบินไทยที่มีกว่า จุดหมายนั้น ก็เป็นสิ่งดึงดูดสำคัญเช่นเดียวกัน แม้ระยะหลังๆ สวัสดิการต่างๆ จะถูกลดทอนลงบ้าง โดยเฉพาะหลังเกิดวิกฤตการบินโลกเมื่อปี 2551


จุดวิเคราะห์ความนิยม

     มีการเปรียบเปรยถึงองค์กรแห่งนี้ว่า… บินไปฮ่องกงถูกกว่านั่งรถทัวร์ไปเชียงใหม่...ยิ่งอยู่นานยิ่งได้สวัสดิการ ดี...ต้องการความมั่นคงในหน้าที่การงาน ...บริษัทมีชื่อเสียงในระดับแถวหน้าของประเทศไทย...ถ้าเป็นนักบินหรือ Cabin Attendant ได้บินต่างประเทศบ่อย ก็หิ้วของมาขาย...รายได้งาม นี่เป็นเพียงส่วนหนึ่งที่เร้าความสนใจของนิสิตนักศึกษาจบใหม่ ตลอดจนบัณฑิต มหาบัณฑิตที่ต้องการหางานใหม่ ถึงแม้จะมีข่าวคราวคอรัปชั่นกระเส็นกระสายออกมาเป็นระยะ แต่สำหรับรัฐวิสาหกิจรายใหญ่ของไทยที่ชื่อว่า “บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน)” ยังคงเนื้อหอมเสมอ

เกณฑ์การเลือกพนักงาน

     ประกาศคัดเลือกทางเว็บไซต์ www.thaiairways.com และทางหน้าหนังสือพิมพ์ โดยสำหรับตำแหน่งพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน หรือลูกเรือนั้น แต่ละครั้งมีผู้สมัครนับหมื่นคน นับเป็นตำแหน่งที่มีการแข่งขันสูงมาก แม้ในช่วงหลังจะมีการกำหนดสัญญาว่าจ้างเป็นระยะก็ตาม โดยคัดเลือกจากบุคลิก สัดส่วน ความสามารถทางภาษาอังกฤษ (TOEIC 600 คะแนนหรือ TOEFE 500 คะแนนขึ้นไป) รวมถึงภาษาอื่นๆ เช่น จีน ฝรั่งเศส เยอรมัน อิตาเลี่ยน ญี่ปุ่น และสเปน จะเป็นประโยชน์ในการพิจารณา และต้องเป็นผู้ที่มีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง ไม่สวมแว่นสายตา มีความกระตือรือร้น เอาใจใส่และรักงานบริการ มีมนุษยสัมพันธ์ดี

ผลตอบแทน

     สำหรับตำแหน่งลูกเรือและนักบิน โดยแบ่งเป็นรายได้จากเงินเดือนและค่า Perdium ที่เกิดจากการบินในแต่ละครั้งมากน้อยขึ้นอยู่กับระยะทาง โดยเฉลี่ยสำหรับลูกเรือเริ่มต้นจะมีรายได้ราว 50,000 บาทขึ้นไป ขณะที่นักบินจะมีรายได้หลักแสนบาทขึ้นไป ทั้งนี้รายได้จะแตกต่างกันขึ้นอยู่กับเส้นทางการบินและประเภทของเครื่องที่ ทำการบิน
  
     ในส่วนของวิศวกรนั้นโดยส่วนมากจะเป็น วิศวกรรมเครื่องกล วิศวกรรมไฟฟ้า วิศวกรรมการบินและอากาศยาน วิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งจะทำหน้าที่ในการซ่อมบำรุงและตรวจเช็คสภาพของเครื่องบินโดยมีผลตอบแทนอยู่ที่ 17000 - 21000 บาท

     พนักงานการบินไทยมีวันหยุดตามประเพณีปีละ 17 วัน และพนักงานจะได้รับบัตรโดยสารฟรีประเภทสำรองที่นั่งไม่ได้ ให้กับตนเอง คู่สมรส และบุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย เพื่อเดินทางไปต่างประเทศและภายในประเทศ ได้อย่างละ 1 เที่ยว (ไป-กลับ) หรือ 2 เที่ยวไปหรือกลับต่อปีงบประมาณ สำหรับพนักงานที่มีอายุงานไม่ครบ 1 ปี จะขอบัตรฟรีไปต่างประเทศได้เฉพาะเส้นทางบินในเอเชีย
 
      พนักงานที่มีอายุงานครบ 10 ปี สามารถขอบัตรฟรีดังกล่าวได้อย่างละ 2 ครั้ง (ไป-กลับ) หรือ 4 เที่ยวไปหรือกลับ

      โดยกำหนดอัตราการขึ้นเงินเดือนไม่เกินร้อยละ 6.5 ต่อปี และจ่ายโบนัส 3-4 เดือนต่อปี
 



สวัสดิการ

1. การบินไทยมีผลตอบแทนรวมแก่บุคลากรกว่า 25,000 คน (เงินเดือน ค่าครองชีพ เงินรางวัลประจำปี เบี้ยเลี้ยงเดินทาง เงินค่าล่วงเวลา ค่าใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ) เฉลี่ยปีละกว่า 30,000 ล้านบาท
2. ศูนย์สวัสดิการฟิตเนส สระว่ายน้ำ
3. ขอตั๋วฟรีแบบสำรองที่นั่งไม่ได้ให้แก่ตัวเอง คู่สมรสและบุตรได้ โดยสามารถขอตั๋วในประเทศและต่างประเทศอย่างละ 1 เที่ยว (ไป-กลับ)
4. ซื้อตั๋วแบบสำรองที่นั่งไม่ได้ในราคาถูก 10% ของราคาตั๋วปกติ แก่ตัวเอง คู่สมรสและบุตรได้ และหากอายุการทำงานเกิน 15 ปี จะสามารถขอตั๋วฟรีประเภทสำรองที่นั่งได้อีก 1 เที่ยว
5. พนักงานที่ทำงานครบ 1 ปีขอตั๋วฟรีได้ทุกเส้นทางที่บริษัททำการบิน

      ถึงแม้จะมีเสียงบ่นจากพนักงานว่าสวัสดิการของการบินไทยด้อยกว่ารัฐ วิสาหกิจทุกแห่งก็ตาม แต่ที่นี่ก็ยังมีคนใจจดใจจ่อที่จะเข้ามาอยู่ภายใต้ร่มจำปี หลังจากได้รับทราบถึงตัวอย่างสวัสดิการคร่าวๆ ของบริษัทนี้


ชั่วโมงการทำงาน 

     พนักงานตำแหน่งทั่วไปที่ไม่ได้ทำงานเป็นกะ มี Office Hour 08.00-17.00 น. ทำงานวันจันทร์ - ศุกร์ วันหยุดตามประเพณี 17 วันต่อปี ลาป่วยได้ไม่เกินปีงบประมาณละ 120 วัน (30 วันแรก จ่ายเงินเดือนเต็ม จากนั้นจ่ายครึ่งหนึ่ง ยกเว้นป่วยเพราะอุบัติเหตุจากการทำงานให้บริษัทฯ) พนักงานอายุ 1 ปีขึ้นไปแต่ไม่ถึง 5 ปี ลาหยุดพักผ่อนได้ 12 วันต่อปี และ 5 ปีขึ้นไปลา หยุดพักผ่อนได้ 18-28 วันต่อปี

ตำแหน่งฮอต

    เช่นเดียวกับบริษัทอื่นๆ การบินไทยมีหลายหน่วยงานรับผิดชอบหลายหน่วยงาน อาทิ THAI Maintenance, THAI Cargo, THAI Catering, THAI Shop แต่ตำแหน่งหน้าที่ที่ฮอตที่สุดที่หลายคนใฝ่ฝันก็คือ นักบิน แอร์โฮสเตท และสจ๊วต ล่าสุดกับตำแหน่ง Crew รุ่น TG2007 มีผู้สมัครเกือบ 4,000 คน รับเพียง 377 คน เท่านั้น เพราะได้แต่งตัวสวย หล่อกันแล้ว แม้จะได้เงินเดือนเมื่อแรกเริ่มทำงานเพียง 8,000 บาท แต่ได้ค่าเพอร์เดียมเป็นเงินสดในแต่ละไฟล์ทซึ่งเมื่อรวมรายได้ต่อเดือนจะ อยู่ที่ประมาณ 40,000-60,000 บาท แล้วแต่รอบและเส้นทางการบิน รวมถึงการได้เดินทางท่องเที่ยวทั่วโลก (ในระยะยาว) ขณะที่นักบินเพียงแค่เริ่มต้นเป็น Co-pilot ก็ได้รายได้เป็นหลักแสน

สถานที่ตั้ง

     สำนักงานใหญ่การบินไทย ถ.วิภาวดีรังสิต เป็นทำเลที่ไม่ดึงดูดนัก เพราะไม่มีรถไฟฟ้าผ่าน แต่ทั้งนี้ทำเลก็ไม่ใช่ปัจจัยในการเลือกทำงานที่การบินไทย แต่ก็รู้กันโดยทั่วไปว่า หลังสำนักงานใหญ่การบินไทย ถนนวิภาวดี ได้ชื่อว่าเป็นแหล่งช้อปปิ้งขนาดใหญ่ที่ขาช้อปรู้จักกันดี มีทั้งแผงลอย และร้านค้าขนาดย่อม ที่มีทั้งอาหารการกิน ตลอดจนเสื้อผ้า ข้าวของแบรนด์เนม ทั้งของจริงและก๊อบปี้มาให้ช้อปกันกระจาย


วันศุกร์ที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2556





     ท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจไทยที่ลุ่มๆ ดอนๆ หลายปีหลัง กลุ่มธุรกิจหนึ่งเดียวที่โดดเด่นขึ้นมาทั้งกำไร การขยายธุรกิจ และระคาหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ฯ เห็นจะเป็นพลังงาน ซึ่งผู้นำในไทยก็ไม่พ้น ปตท. และ ปตท.สผ. ที่นอกจากจะได้เต็มๆ จากการพุ่งขึ้นของราคาน้ำมันแล้ว ยังกระจายความเสี่ยงไปยังธุรกิจปิโตรเคมี และข้ามไปถือหุ้นโรงกลั่นเป็นการการันตีความมั่นคงระยะยาว

จุดวิเคราะห์ความนิยม

     เมื่อผลกำไรดี บริษัทมีระบบ หนีไม่พ้นเงินเดือน โบนัส และการขึ้นเงินเดือน ย่อมจูงใจหนุ่มสาวตั้งแต่นักศึกษาจบใหม่ขึ้นไปถึงคนทำงาน ให้เดินเข้าหาบริษัทในกลุ่ม ปตท. ด้วย Positioning ในใจว่าว่าผลตอบแทนต่างๆ ต้องสมน้ำสมเนื้อกับกำไรของบริษัทแน่นอน

     ส่วนในบริษัท ปตท. สผ. (สำรวจและผลิตปิโตรเลียม) นั้น แหล่งข่าวเผยว่า ฐานเงินเดือนใน ปตท.สผ. จะสูงกว่า ปตท. อยู่เล็กน้อย เพราะเข้าตลาดหลักทรัพย์ฯ มาแล้วถึง 20 ปี ในขณะที่ ปตท. เพิ่งเข้าได้เพียง 3 ปี

     ข้อมูลจากฝ่ายทรัพยากรบุคคล องค์กร บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เผยว่าการขึ้นเงินเดือนของ ปตท. จะดูภาวะเศรษฐกิจ ภาพรวมทิศทางธุรกิจว่าดีหรือไม่ รวมถึงดูอัตราเงินเฟ้อมาประกอบ และมองว่าการขึ้นเงินเดือนเป็นเครื่องมือการบริหาร เพื่อสร้างขวัญและกำลังใจ แต่ระยะยาวจะกลายเป็นต้นทุน การจ่ายค่าตอบแทนจะเทียบกับข้อมูลธุรกิจใกล้เคียง

     ที่ผ่านมา ปตท. ขึ้นเงินเดือน 4-10% แนวโน้มช่วง 5 ปีที่ผ่านมาบริษัทขึ้นเงินเดือนโดยเฉลี่ยแล้ว 5.4-5.9% ทุกปี ปตท. ในยุคเก่าที่ยังไม่เข้าตลาดหลักทรัพย์ฯ นั้นเงินเดือนค่อนข้างน้อย แต่โบนัสมาก ส่วนหลังจากเข้าตลาดหลักทรัพย์ฯ ฐานเงินเดือนเริ่มปรับขึ้น และจ่ายโบนัส 4-5 เดือน ส่วนหนึ่งดูผันแปรขึ้นกับประสิทธิภาพของแต่ละหน่วยงานหรือบุคคล แต่ทั้งนี้ทุกปีจะต้องทบทวนเรื่องนโยบายผลตอบแทนเสมอ เพราะยังมีข้อผูกมัดกับกระทรวงการคลังผู้ถือหุ้นใหญ่ว่าจะต้องถูกวัด Corporate Governance และผลปฏิบัติงานของบริษัท (Performance)

เกณฑ์การเลือกพนักงาน

ผู้สมัครที่จบปริญญาตรีสาขาอื่นๆ นอกจากวิศวกรรมศาสตร์ จะต้องมีคะแนนภาษาอังกฤษ TOEIC หรือ TOEFL (ปตท. จะเทียบเป็น TOEIC ให้) 550 คะแนนขึ้นไป (อายุไม่เกิน 2 ปี) และมีเกรดเฉลี่ยสะสมจาก
- สถาบันของรัฐ 2.70 ขึ้นไป
- มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ 2.70 ขึ้นไป
- สถาบันเอกชน 3.00 ขึ้นไป
ผู้สมัครระดับปริญญาโทหรือเอกก็ต้องมีผลคะแนนในระดับก่อนนั้นเข้าเกณฑ์ข้างต้นด้วย
ผู้สมัครที่ผ่านเกณฑ์นี้จึงจะมีสิทธิถูกเรียกสอบข้อเขียนและสอบสัมภาษณ์ต่อไป

ช่องทางการสมัครงาน
- สมัครงานด้วยตนเอง
- สมัครงานออนไลน์ www.pttplc.com, www.pttep.com



ตำแหน่งนี้ที่ต้องการ

ปตท. เป็นบริษัทที่ดำเนินธุรกิจปิโตรเลียมครบวงจร ตั้งแต่ “ต้นน้ำ” ปิโตรเลียม จนถึง “ปลายน้ำ” ปิโตรเคมี ดังนั้นจึงเป็นองค์กรที่มีลักษณะงานหลากหลายสายอาชีพ เช่นนอกจากสายวิศวกรรมปิโตรเลียม วิศวกร นักวิทยาศาสตร์ แล้ว ก็ยังมีสายเทคโนโลยีสารสนเทศ การเงิน และอื่นๆ ซึ่งทั้งหมดนี้ ปตท.จริงจังกับการวางระบบสมัยใหม่ และใช้เป็นเครื่องมือในการทำงานทั้งองค์กร รวมถึงการตลาด, ทรัพยากรบุคคล, ฯลฯ โดยจะต้องสอดคล้องกับตำแหน่งและหน่วยงาน

อัตราเงินเดือนและโบนัส

ปตท. ไม่ได้กำหนดอัตราตายตัวไว้ แต่ใช้หลักการบริหารค่าตอบแทนไว้ดังนี้
1. ต้องสอดคล้องกับผลการปฏิบัติงาน ได้แก่ ความรู้ ความสามารถ ผลการปฏิบัติงาน และความยากง่ายของหน้าที่ความรับผิดชอบที่แตกต่างกัน
2. ต้องสามารถแข่งขันได้กับธุรกิจชั้นนำในอุตสาหกรรมประเภทเดียวกัน
3. ต้องขึ้นอยู่กับความสามารถของ ปตท. และไม่ทำให้เป็นภาระค่าใช้จ่ายที่ “เกินตัว” ต่อองค์กรในระยะยาว
สวัสดิการที่น่าสนใจ

- รูปแบบตัวเงิน : เงินเดือน โบนัส ค่าล่วงเวลา สวัสดิการรักษาพยาบาล เงินช่วยเหลือการศึกษาบุตร เป็นต้น
- รูปแบบที่ไม่เป็นตัวเงิน : การยกย่องชมเชยในรูปแบบต่างๆ เช่น พนักงานดีเด่นประจำปี รางวัลทางด้านกิจกรรมพิเศษต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อองค์กร เช่น รางวัลเพิ่มผลผลิต รางวัลด้านความปลอดภัย รางวัลด้านการบริหารองค์ความรู้ในองค์กร ฯลฯ

ทำเล

     สำนักงานใหญ่ในกรุงเทพฯ เป็นอาคารของ ปตท. เอง ตั้งอยู่ริมถนนวิภาวดีรังสิต สะดวกต่อการขับรถยนต์ ส่วนตัวไป อยู่ใกล้สถานีรถไฟฟ้า BTS หมอชิต และยังอยู่ติดกับสวนรถไฟ ซึ่งเป็นสวนสาธารณะยอดนิยมอีกแห่งของคนทำงาน ด้วยบรรยากาศน่าเดิน วิ่ง หรือขี่จักรยานออกกำลังกาย และน่านั่งเล่นผ่อนคลายความเครียด

เวลาเข้าออกการทำงาน

- งานการผลิต : ต้องมีผู้เข้าเวรปฏิบัติงานตลอด 24 ชั่วโมง แบ่งเป็น 2กะ ความยาวกะละ 12 ชั่วโมง โดยกะแรกคือ 8:00 ถึง20:00 น. และกะที่สองคือ 20:00 ถึง 8:00น. เช้าของอีกวัน
- งานสำนักงาน : วันละ 8 ชั่วโมง เหลื่อมกัน 3 ช่วงในลักษณะ “Flexi Time” คือ 8.00 -17.00 น., 8.30 -17.30 น. และ 9.00-18.00 น. เพื่อให้พนักงานเลือกตามความสะดวกในการมาจากต่างทำเลบ้านกันไป และช่วยให้สภาพจราจรรอบสำนักงานไม่แออัดเกินไป

 
 SCG (Siam Cement Group)

     ด้วยภาพลักษณ์ขององค์กรมหาชนขนาดใหญ่ที่มีความมั่นคง มีข่าวสารด้านการสร้างสรรค์ผลงานและนวัตกรรมสู่สังคมไทยอย่างต่อเนื่อง ทำให้ SCG เป็นหนึ่งในบริษัทที่ใครหลายๆคนอยากที่จะเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งขององค์กรนี้

     นอกจากนี้ SCG ยังมีการดำเนินธุรกิจในต่างประเทศทั้งด้านการผลิตและการขาย ปัจจุบันมีสำนักงานขายที่ต่างประเทศถึง 36 สาขาใน 22 ประเทศ และขยายฐานตลาดสู่ภูมิภาคอื่นๆ กว่า 100 ประเทศทั่วโลก ปัจจุบัน SCG มีพนักงานทั่วโลกทั้งหมด 28,000 คน เป็นพนักงานต่างชาติ 3,002 คน หรือประมาณ 10% ของพนักงานทั้งหมด

จุดวิเคราะห์ความนิยม

     หากเลือกได้คุณจะทำงานในบริษัทแบบไหน แน่นอนคนจำนวนมากขอความมั่นคง ผลตอบแทนคุ้มค่า นอกเหนือจากความท้าทายในเนื้องาน ซึ่งคำตอบสำหรับหลายคนอยู่ที่บริษัทปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) หรือ SCG บริษัทที่ได้รับการโหวตน่าทำงานในอันดับ 2

     แม้จะเติบโตในแง่ผล ประกอบการอย่างน้อยปีละประมาณ 10% แต่เครือปูนฯ ก็ยังคงไม่หยุดนิ่ง ในการสร้างเสน่ห์ดึงดูดคนเข้าทำงาน จนสามารถเลือกสรรคนคุณภาพเข้าไปช่วยสร้างบริษัทในเครือปูนฯจำนวนมาก ความเปลี่ยนแปลงของบริษัทในเครือปูนฯ ยังเห็นได้ชัดเจนจากการเริ่มมีพนักงาน และผู้บริหารที่จบจากสถาบันต่างๆ มากขึ้น จากเดิมมักจะมีผู้ที่จบจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในสัดส่วนที่มากกว่า มหาวิทยาลัยอื่น ไอเดียของกรรมการผู้จัดการใหญ่ “กานต์ ฮุนตระกูล” ล่าสุด ยังสร้างความกระฉับกระเฉงให้กับกลุ่มปูนฯ มากขึ้น ด้วยแผนรีแบรนด์ให้เป็น “องค์กรแห่งนวัตกรรม” หรือ Innovation ด้วยแคมเปญที่ทำอยู่ คือ Innovation Change for Better Tomorrow ทั้งในด้านการปรับแผนธุรกิจให้คล่องตัวทันสมัย และการพัฒนาบุคคลากร และการตั้งเป้าเพิ่มพนักงานระดับปริญญาเอกมากขึ้น

เกณฑ์การเลือกพนักงาน
      “ตอนนี้เราเป็นสีรุ้งแล้ว” อภิฤดี พัฒนะลีนะกุล ผู้จัดการฝ่ายคัดเลือกและสรรหา สำนักงานทรัพยากรบุคคลกลาง ของ SCG พยายามบอกกับ POSITIONING ว่าภาพลักษณ์องค์กรที่เคยเป็น “สีชมพู” ในวันนี้ได้เปลี่ยนไปแล้ว และไม่ได้คัดเฉพาะมหาวิทยาลัยรัฐบาลเท่านั้น แต่ยังเปิดโอกาสให้นักศึกษาจากมหาวิทยาลัยเอกชนได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของ องค์กรด้วยเช่นกัน ซึ่งจะมีการรับพนักงานใหม่ปีละ 500-800 คน จากผู้สมัครจำนวนไม่ต่ำกว่า 1,000 ราย

“เก่งและดี” เป็นคุณสมบัติหลักในการคัดเลือกพนักงาน SCG

     คุณสมบัติคนเก่งในระดับปริญญาตรีต้องมีเกรด (GPA) ไม่ต่ำกว่า 2.7 และไม่ต่ำกว่า 3.3 สำหรับปริญญาโท รวมถึงคะแนน TOEIC (Test of English for International Communication) ไม่ต่ำกว่า 550 คะแนน

     ส่วนคนดีจะวัดจากการใช้เครื่องมือสัมภาษณ์ของคณะกรรมการเพื่อวัดความรับ ผิดชอบต่อตนเองและสังคม ซึ่งอภิฤดีบอกว่าปีนี้จะมีเครื่องมือวัดคนดีในรูปแบบการสอบข้อเขียนที่พัฒนา ร่วมกับอาจารย์ในมหาวิทยาลัยต่างๆ ร่วมกับกฎระเบียบด้านจริยธรรมและจรรยาบรรณของ SCG เพื่อให้มีความเป็นรูปธธรมมากขึ้น เมื่อคัดเลือก “ว่าที่พนักงาน” จบใหม่ระดับหัวกะทิได้แล้ว จะมีการพาไปกิจกรรม SCG Career Camp เป็นเวลา 2 วัน 1 คืนที่จังหวัดสระบุรีเพื่อทำความรู้จักองค์กรให้มากขึ้นจากนั้นจะมีการคัดเลือกเพื่อเข้าสู่การสัมภาษณ์จริงอีกครั้ง

"คนปูน ส่วนหนึ่งของ scg"

ตำแหน่งนี้ที่ต้องการ

     7 ตำแหน่งหลักที่ SCG ต้องการคือ วิศวกร ตัวแทนขาย เจ้าหน้าที่การตลาด นักบัญชี เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม เจ้าหน้าที่ทรัพยากรบุคคล เจ้าหน้าที่วิเคราะห์โครงการ เนื่องจาก SCG มีทั้งด้านการผลิตและการขายจึงมีสัดส่วนของพนักงานด้านวิศวกรและการตลาด (รวมตัวแทนขาย) ถึง 60% รวมทั้งการเป็นองค์กรนวัตกรรมจึงต้องการนักวิจัยมากขึ้น โดยตั้งเป้าเพิ่มจำนวนพนักงานด้าน R&D ในระดับปริญญาเอกให้ได้ถึง 50 คนภายในปี 2554 เพื่อเสริมกำลังด้านองค์กรนวัตกรรมอีกด้วย

อัตราเงินเดือนและโบนัส
 
- ปริญญาตรีสายวิศวะเริ่มต้นที่ 22,000-25,000 บาท สายสังคมเริ่มที่ 19,000-21,000 บาท
- ปริญญาโทด้านวิศวะเริ่มต้นที่ 27,00-28,000 บาท ด้านสังคมอยู่ที่ 22,000-25,000 บาท
- ผู้สมัครมีประสบการณ์ทำงานแล้วจะเพิ่มเงินเดือนให้สูงขึ้น รวมทั้งมีค่าเช่าบ้านให้สำหรับตำแหน่งที่ต้องทำงานในพื้นที่ต่างจังหวัด
- อัตราโบนัสขึ้นอยู่กับอัตราเฉลี่ยของผลประกอบการ ซึ่งโดยเฉลี่ยแล้วอยู่ที่ปีละ 3 เดือน

การขึ้นเงินเดือน

- เฉลี่ยปีละ 6%
- โบนัส ค่าเฉลี่ยโบนัสประมาณ 4-6 เดือน

สวัสดิการที่น่าสนใจ
 
- ให้สิทธิ์แก่พนักงานในกรณีคนไข้นอกสามารถรักษาได้ถึงพ่อแม่ ส่วนคนไข้ในสามารถรักษาได้ทั้งครอบครัว (สามี ภรรยา บุตร) รวมทั้งให้สิทธิ์รักษาโรคที่เป็นต่อเนื่อง และมีโรงพยาบาลในสังกัดที่อำนวยความสะดวกพนักงานได้โดยไม่ต้องเสียค่าใช้ จ่าย
- ให้ทุนการศึกษาสำหรับลูกพนักงานตั้งแต่ระดับประถมจนถึงมหาวิทยาลัย คัดเลือกจากการสอบแข่งขัน
- มีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพให้พนักงานออมเงินไว้ใช้หลังเกษียณ
- จัดพื้นที่ให้พนักงานได้ออกกำลังกายภายในสำนักงานใหญ่ และพื้นที่ให้พักสายตาจากห้องทำงานโดยมีเครือข่าย Wi-Fi ไว้บริการ
- มีโปรแกรม Career Development โดยพนักงานทุกคน จะได้รับการอบรม 3 ด้าน คือ 1.Leadership 2.Business Concept และ 3.Functional เพื่อให้พนักงานได้พัฒนาตัวเอง และมีระบบงาน Talent Management เป็นโปรแกรมการประเมินผลการให้รางวัลทั้งที่เป็นตัวเงินและไม่เป็นตัวเงิน
- มีทุนการศึกษาส่งพนักงานไปเรียนในมหาวิทยาลัยชั้นนำของยุโรปและอเมริกาทั้ง ด้าน MBA และด้าน Technical โดยออกค่าใช้จ่ายทุกอย่างให้พนักงานทั้งหมดและให้เงินเดือนระหว่างเรียนด้วย ภายใต้เงื่อนไขคือทำงานให้ SCGอย่างน้อย 3 เท่าของที่เรียนมา
- วันลาหยุดพักร้อน เฉลี่ยปีละ 8-21 วัน ขึ้นอยู่กับอายุงาน และสามารถสะสมวันหยุดได้สำหรับปีถัดไป หากใช้สิทธิ์หยุดไม่ครบกำหนดเมื่อลาออกจะได้เงินตอบแทนหลังจากเกษียณ
- วัน ลาคลอด ได้สิทธิ์ลาได้ 3 เดือน หรือ 90 วัน หากมาทำงานก่อน เช่นลาเพียง 2 เดือนจะได้เงินผลตอบแทนพิเศษที่มาทำงานก่อนเวลา ในอัตราเงิน 5 หลัก



CR : http://www.positioningmag.com/magazine/details.aspx?id=86506


"วิศวกรรมชีวการแพทย์ medical engineering"

สายงานที่รองรับ

1. เรียนต่อ
     ตอนนี้ในประเทศมีหลายที่ให้นักศึกษาสามารถศึกษาต่อได้ อย่างที่มหิดลมีหลักสูตร ป.โท และกำลังจะเปิด ป. เอก และยังมีที่อื่นๆอีกหลายที่เช่น จุฬา บางมด เชียงใหม่ ลาดกระบัง สงขลา ซึ่งเราจะเห็นได้ว่าสาขานี้กำลังเริ่มเป็นที่รู้จักกัน อย่างเด็กที่จบจาก ป. โท จากสาขานี้ยังไม่ตกงานสักคน และมีบริษัทจากที่ฮ่องกงโทรมาถามว่ามีเด็กจบออกไปอีกไหม อยากได้มาทำงานที่บริษัท และถ้าจะไปเรียนต่อต่างประเทศ สาขานี้มีที่ให้น้องเรียนต่อได้มากมาย  สาขาวิชานี้เป็นที่สนใจอย่างมากในต่างประเทศทีเดียวค่ะ  ไปดูหลักสูตรในต่างประเทศ เปิดกันเยอะมากเลยค่ะ แทบจะทุกมหาวิทยาลัย

2. ทำงาน
2.1 ทำงานบริษัทและโรงพยาบาล
    เนื่องจากความรู้ที่เราได้ศึกษาจากสาขานี้เน้นการพัฒนาเทคโนโลยีได้เอง จึงแตกต่างจากการไปเรียนรู้แค่การใช้งานเครื่องมือเหมือนในสาขาอื่นๆ อย่างสาขาพวกอุปกรณ์การแพทย์ หรือเทคนิคการแพทย์นั้น นักศึกษาจะได้เรียนรู้ว่าเครื่องมือแพทย์นั้นทำงานอะไร แล้วใช้อย่างไร แต่ถ้าจบจากสาขาวิศวกรรมชีวการแพทย์จะทราบถึงการทำงาน และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับเครื่องมือเหล่านั้นเพื่อให้เราสามารถพัฒนาและ ปรับปรุงเครื่องมือเหล่านั้นได้เอง กล่าวคือเราสามารถสร้างและผลิตอุปกรณ์ที่ทำงานลักษณะนั้นได้เอง โดยลดการพึ่งพาเทคโนโลยีต่างประเทศ เพราะฉะนั้นงานที่รองรับนักศึกษา นอกจากจะมีบริษัทด้านการผลิตอุปกรณ์เครื่องมือแพทย์ บริษัทด้านยา ทั้งฝ่ายผลิต ฝ่ายพัฒนางานวิจัย(R&D) ฝ่ายขายผลิตภัณฑ์ ฝ่ายซ่อมบำรุง ฝ่ายจัดการระบบและเทคโนโลยี ที่ปรึกษาหรือผู้เชี่ยวชาญในการผลิต

2.2 เปิดบริษัทผลิตอุปกรณ์ทางการแพทย์เอง เพราะขณะนี้ตลาดด้านอุปกรณ์ทางการแพทย์ในประเทศเป็นที่ต้องการสูงมาก เนื่องจากเราต้องนำเข้าเครื่องมือแพทย์มาซึ่งมีราคาแพง

2.3 ถ้าผู้เรียนชอบในสายวิชาการ ก็ทำงานตามศูนย์วิจัยซึ่งมีมากมายในปัจุบัน ทั้งส่วนของโรงพยาบาลและของรัฐบาล ไม่ว่าจะเป็นmtec, nectec,biotec หรือศูนย์วิจัยจุฬาภรณ์เป็นต้น

     เรื่องงานก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่มีน้องๆถามกันมามาก พี่ก็จะขอตอบเอาไว้ตรงนี้เลยแล้วกันนะคะ
เรา ต้องยอมรับว่าสาขานี้เป็นสาขาที่ใหม่มากในประเทศไทย ถ้าเราจะไปหาข้อมูลตามบริษัทที่รับแล้วล่ะก็มีน้อยมากหรือแทบจะไม่มีเลยที่ จะ required วิศวกรรมชีวการแพทย์ เพราะสาขานี้ยังใหม่และไม่เป็นที่รู้จักมากนักสำหรับคนไทย ซึ่งในส่วนนี้ทางเราก็กำลังดำเนินการประชาสัมพันธ์กันอยู่ อีกทั้งบริษัท อุปกรณ์การแพทย์ที่ตั้งอยู่ในไทยส่วนใหญ่จะทำหน้าที่เป็นเพียงบริษัทนำเข้า และจัดจำหน่ายเท่านั้น บริษัทส่วนใหญ่จึงไม่ได้จำเป็นจะต้อง required สาขานี้โดยตรง อาจจ้างวิศวกรไฟฟ้ามาแล้วนำเข้าอบรมเรื่องอุปกรณ์การแพทย์เพื่อทำงานในด้าน การซ่อมแซมแทนก็ได้ และที่สำคัญคือ ในขณะนี้ยังไม่มีจำนวนคนที่จะสามารถป้อนให้กับตลาดแรงงานได้มากนักจึงไม่ ต้องหวังจะเห็นชื่อสาขานี้โดยทั่วไป
   
     แต่หากมองในมุมกลับกัน ในเมื่อตอนนี้ตลาดยังว่าง แปลว่าไม่มีคู่แข่ง ถ้าเรามีประสิทธิภาพมากพอที่จะทำให้เค้ารับเราเข้าทำงานได้ เราก็ชนะได้สบายๆ เพราะทางบริษัทก็จะไม่ต้องเสียเงินไปกับการอบรมพนักงานโดยไม่จำเป็น และยังมีความเข้าใจในภาพรวมทั้งเรื่องของสุขภาพของคนและเทคโนโลยีอีกด้วย

     สำหรับตลาดต่างประเทศ biomed เป็นที่ต้องการสูง ยิ่งเทคโนโลยีด้านอื่นก้าวเร็วเท่าไร biomedก็ยิ่งต้องล้ำกว่านั้นเพราะส่งผลถึงสุขภาพ คุณภาพชีวิต และอายุขัยของประชากรในUSA Biomedical Engineerนั้นเคยขึ้นเป็น rank ที่ 3 ของอันดับเงินเดือนทุกสาขาของวิศวกร

     ทั้งหมดนี้ก็เป็นรายละเอียดคร่าวๆ สำหรับน้องๆที่สนใจในสาขานี้ ผิดพลาดประการใดก็ขออภัยไว้ ณ ที่นี้ด้วยค่ะ


cr:http://biomedthai.blogspot.com/
View My Blog
Subscribe to RSS Feed Follow me on Twitter!