วันอาทิตย์ที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2556

 


          "โบนัส คือ เงินค่าตอบแทนที่บริษัทจ่ายให้กับพนักงาน อันเนื่องมาจากบริษัทมีผลประกอบการที่ดี" 


     วันนี้เรามาดูโบนัสของบริษัทระดับบิ๊กๆของประเทศไทยกันนะครับ ว่าที่ไหนจ่ายโบนัสเยอะ ที่ไหนจ่ายโบนัสน้อย โดยผลการสำรวจนี้เป็รการสำรวจโบนัสของปี 2555 ซึ่งเป็นปีที่มีนโยบายรถคันแรกครับ จึงส่งผลให้บริษัทรถยนต์มียอดขายทะลุเป้า ดังนั้นโบนัสของพนักงานจึงเยอะตาม มากแค่ไหน ไปดูกันครับ
 
สรุปผลการจ่ายโบนัสในแต่ละอุตสาหกรรมตามข่าวที่ออกมา เป็นดังนี้
1. อุตสาหกรรมยานยนต์
- โตโยต้า 8.5 เดือน
- มิตซูบิชิ 7 เดือน
- ยามาฮ่า 5 เดือน
- ฮอนด้า 4-5 เดือน
- ผู้ผลิตชิ้นส่วน 4 เดือน + เงินพิเศษ

2. อุตสาหกรรมอาหาร เครื่องดื่ม สินค้าอุปโภคบริโภคและค้าปลีก
- สหพัฒนพิบูล 5 เดือน
- โออิชิ กรุ๊ป 2 เดือน (ขึ้นเงินเดือน 6-7%)
- เซ็นทรัล พัฒนา 3.5 เดือน
- ซีพีเอฟ 2 เดือน (เป็นวัฒนธรรมการจ่ายแบบ fix bonus เท่ากันทุกปี)
- โคคา-โคลา ไม่ระบุ แต่จะจ่ายเป็น variable bonus
- สหฟาร์ม ไม่จ่ายโบนัส
- ยูนิลีเวอร์ ยังไม่พิจารณาโบนัส เพราะมีรอบการจ่ายในเดือนเมษายนของทุกปี

3. อุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์-รับเหมาก่อสร้าง
- ซิโน ไทย  6-10 เดือน
- ศุภาลัย 5-9 เดือน
- พรีบิลท์ 4-6 เดือน
- ช.การช่าง 3 เดือน
- ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น  1 เดือน

4. อุตสาหกรรมการสื่อสารและโทรคมนาคม
- พี เอส ไอ 3-5 เดือน ขึ้นเงินเดือน 15%
- เอ ไอ เอส 4 เดือน
- กสท 4 เดือน
- ดี แทค 1 เดือน
- ที โอ ที 1 เดือน

5. กลุ่มสื่อหนังสือพิมพ์
- เดลินิวส์ 3-4 เดือน
- มติชน 2 เดือน
- กรุงเทพธุรกิจ 1-2 เดือน
- ฐานเศรษฐกิจ 1 เดือน
- โพสต์ทูเดย์ 0.5 เดือน

6. กลุ่มบริษัทหลักทรัพย์
- ดีบีเอส วิคเคอร์ส (ประเทศไทย) 2-3 เดือน
- ฟิลลิป 2 เดือน
- เมย์แบงก์กิมเอ็ง ขึ้นเงินเดือน 5-10%
- (บลจ.)กรุงศรี ขึ้นเงินเดือนไม่น้อยกว่า 5%
- ค่าเฉลี่ยในกลุ่มหลักทรัพย์ 2-3 เดือน ปรับเงินเดือน 5-10%

7. การคมนาคมขนส่ง
- ท่าอากาศยานไทย (ทอท.) 7.5 เดือน
- การทางพิเศษแห่งประเทศไทย  5 เดือน
- วิทยุการบินแห่งประเทศไทย 4 เดือน
- โรงแรมเคมปินสกี้ 1.5 เดือน
- บขส.  1 เดือน

8. อุตสาหกรรมการผลิตและส่งออก
- ไทยฮั้วยางพารา 3-6 เดือน
- แพรนด้า จิวเวลรี่ 1-2 เดือน

     สรุป ในปี 2555 มีอัตราเงินเฟ้ออยู่ที่ประมาณ 3.5 -7 % การจ่ายโบนัสส่วนใหญ่คือการจ่ายตามผลประกอบการของบริษัทและผลการปฏิบัติงาน ของพนักงาน กลุ่มค่ายรถยนต์มีการจ่ายโบนัสสูงสุด เนื่องมาจากอานิสงส์ของนโยบายคืนภาษีรถคันแรก ที่กระตุ้นความต้องการซื้อรถใหม่ทำลายสถิติสูงสุด คือ มียอดการผลิตทะลุ 2 ล้านคัน เฉพาะยอดสั่งจองในงานมอเตอร์เอ็กซ์โปปลายปีที่ผ่านมา ก็สูงเกือบ 9 หมื่นคัน เรียกได้ว่าเป็นนโยบายขายดี จนกรมสรรพสามิตต้องขยายเวลาเปิดรับให้ประชาชนยื่นคำร้องขอคืนภาษีรถคันแรก ได้ตั้งแต่ 7 โมง ถึง 2 ทุ่ม ตั้งแต่ 11 ธ.ค.55 เป็นต้นไป
  
      ผลสืบเนื่องจากยอดขายรถยนต์ทะลุเป้า ก็จะทำให้ธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับรถยนต์ได้รับอานิสงส์ไปตาม ๆ กัน เช่น ธุรกิจพลังงานเชื้อเพลิง ผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ การบำรุงรักษารถ อุปกรณ์ตกแต่ง การเดินทางท่องเที่ยว ทางด่วน การก่อสร้างเส้นทางคมนาคม ประกันภัยรถยนต์ ฯลฯ แต่ผลกระทบจากการออกรถใหม่เพิ่มขึ้นนี้ก็มีเช่นกัน คือ รถติดมากขึ้น รถมือสองจะยอดตก รวมทั้ง อุตสาหกรรมอื่นๆ ก็จะมียอดตกตามไปด้วย เพราะกำลังซื้อถูกดูดไปเป็นค่าผ่อนรถ ทำให้ผู้บริโภคที่มีภาระค่าผ่อนรถระยะยาวจะชะลอการตัดสินใจซื้อสินค้า ฟุ่มเฟือยประเภทอื่น แต่ถ้าใครอยากเกาะกระแสแรงแห่งปีก็ลองคิดโปรโมชั่นหรือทำการตลาดที่เกี่ยว เนื่องกับผู้ใช้รถก็น่าจะเป็นโอกาสที่น่าสนใจ

     ส่วนผลกระทบที่เกี่ยวข้องกับการบริหารทรัพยากรบุคคลก็คือ แนวโน้มของแรงดึงดูดในอุตสาหกรรมต่าง ๆ โดยเฉพาะกลุ่มยานยนต์ที่น่าจะมีความสามารถในการดึงดูดแรงงานเข้าสู่ อุตสาหกรรมได้มากกว่าอุตสาหกรรมอื่น เพื่อรองรับการขยายกำลังการผลิตที่กำลังมีความต้องการสูง สำหรับในปีหน้า 2556 ที่ค่าแรงจะขึ้นเป็น 300 บาท ทั่วประเทศ ก็น่าจะส่งผลให้มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างเงินเดือน โครงสร้างสัดส่วนแรงงาน ในหลายอุตสาหกรรม อันเนื่องมาจากการเคลื่อนย้ายแรงงานฝีมือ และแรงงานต่างด้าว ระดับของผลกระทบก็ขึ้นอยู่กับความต้องการในการพึ่งพาทักษะแรงงาน และปริมาณกำลังคนในแต่ละอุตสาหกรรมว่ามีความเข้มข้นมากน้อยแค่ไหน


cr:http://hilight.kapook.com/view/79890

1 ความคิดเห็น:

View My Blog
Subscribe to RSS Feed Follow me on Twitter!