วันศุกร์ที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2556



"วิศวกรรมชีวการแพทย์ medical engineering"

สายงานที่รองรับ

1. เรียนต่อ
     ตอนนี้ในประเทศมีหลายที่ให้นักศึกษาสามารถศึกษาต่อได้ อย่างที่มหิดลมีหลักสูตร ป.โท และกำลังจะเปิด ป. เอก และยังมีที่อื่นๆอีกหลายที่เช่น จุฬา บางมด เชียงใหม่ ลาดกระบัง สงขลา ซึ่งเราจะเห็นได้ว่าสาขานี้กำลังเริ่มเป็นที่รู้จักกัน อย่างเด็กที่จบจาก ป. โท จากสาขานี้ยังไม่ตกงานสักคน และมีบริษัทจากที่ฮ่องกงโทรมาถามว่ามีเด็กจบออกไปอีกไหม อยากได้มาทำงานที่บริษัท และถ้าจะไปเรียนต่อต่างประเทศ สาขานี้มีที่ให้น้องเรียนต่อได้มากมาย  สาขาวิชานี้เป็นที่สนใจอย่างมากในต่างประเทศทีเดียวค่ะ  ไปดูหลักสูตรในต่างประเทศ เปิดกันเยอะมากเลยค่ะ แทบจะทุกมหาวิทยาลัย

2. ทำงาน
2.1 ทำงานบริษัทและโรงพยาบาล
    เนื่องจากความรู้ที่เราได้ศึกษาจากสาขานี้เน้นการพัฒนาเทคโนโลยีได้เอง จึงแตกต่างจากการไปเรียนรู้แค่การใช้งานเครื่องมือเหมือนในสาขาอื่นๆ อย่างสาขาพวกอุปกรณ์การแพทย์ หรือเทคนิคการแพทย์นั้น นักศึกษาจะได้เรียนรู้ว่าเครื่องมือแพทย์นั้นทำงานอะไร แล้วใช้อย่างไร แต่ถ้าจบจากสาขาวิศวกรรมชีวการแพทย์จะทราบถึงการทำงาน และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับเครื่องมือเหล่านั้นเพื่อให้เราสามารถพัฒนาและ ปรับปรุงเครื่องมือเหล่านั้นได้เอง กล่าวคือเราสามารถสร้างและผลิตอุปกรณ์ที่ทำงานลักษณะนั้นได้เอง โดยลดการพึ่งพาเทคโนโลยีต่างประเทศ เพราะฉะนั้นงานที่รองรับนักศึกษา นอกจากจะมีบริษัทด้านการผลิตอุปกรณ์เครื่องมือแพทย์ บริษัทด้านยา ทั้งฝ่ายผลิต ฝ่ายพัฒนางานวิจัย(R&D) ฝ่ายขายผลิตภัณฑ์ ฝ่ายซ่อมบำรุง ฝ่ายจัดการระบบและเทคโนโลยี ที่ปรึกษาหรือผู้เชี่ยวชาญในการผลิต

2.2 เปิดบริษัทผลิตอุปกรณ์ทางการแพทย์เอง เพราะขณะนี้ตลาดด้านอุปกรณ์ทางการแพทย์ในประเทศเป็นที่ต้องการสูงมาก เนื่องจากเราต้องนำเข้าเครื่องมือแพทย์มาซึ่งมีราคาแพง

2.3 ถ้าผู้เรียนชอบในสายวิชาการ ก็ทำงานตามศูนย์วิจัยซึ่งมีมากมายในปัจุบัน ทั้งส่วนของโรงพยาบาลและของรัฐบาล ไม่ว่าจะเป็นmtec, nectec,biotec หรือศูนย์วิจัยจุฬาภรณ์เป็นต้น

     เรื่องงานก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่มีน้องๆถามกันมามาก พี่ก็จะขอตอบเอาไว้ตรงนี้เลยแล้วกันนะคะ
เรา ต้องยอมรับว่าสาขานี้เป็นสาขาที่ใหม่มากในประเทศไทย ถ้าเราจะไปหาข้อมูลตามบริษัทที่รับแล้วล่ะก็มีน้อยมากหรือแทบจะไม่มีเลยที่ จะ required วิศวกรรมชีวการแพทย์ เพราะสาขานี้ยังใหม่และไม่เป็นที่รู้จักมากนักสำหรับคนไทย ซึ่งในส่วนนี้ทางเราก็กำลังดำเนินการประชาสัมพันธ์กันอยู่ อีกทั้งบริษัท อุปกรณ์การแพทย์ที่ตั้งอยู่ในไทยส่วนใหญ่จะทำหน้าที่เป็นเพียงบริษัทนำเข้า และจัดจำหน่ายเท่านั้น บริษัทส่วนใหญ่จึงไม่ได้จำเป็นจะต้อง required สาขานี้โดยตรง อาจจ้างวิศวกรไฟฟ้ามาแล้วนำเข้าอบรมเรื่องอุปกรณ์การแพทย์เพื่อทำงานในด้าน การซ่อมแซมแทนก็ได้ และที่สำคัญคือ ในขณะนี้ยังไม่มีจำนวนคนที่จะสามารถป้อนให้กับตลาดแรงงานได้มากนักจึงไม่ ต้องหวังจะเห็นชื่อสาขานี้โดยทั่วไป
   
     แต่หากมองในมุมกลับกัน ในเมื่อตอนนี้ตลาดยังว่าง แปลว่าไม่มีคู่แข่ง ถ้าเรามีประสิทธิภาพมากพอที่จะทำให้เค้ารับเราเข้าทำงานได้ เราก็ชนะได้สบายๆ เพราะทางบริษัทก็จะไม่ต้องเสียเงินไปกับการอบรมพนักงานโดยไม่จำเป็น และยังมีความเข้าใจในภาพรวมทั้งเรื่องของสุขภาพของคนและเทคโนโลยีอีกด้วย

     สำหรับตลาดต่างประเทศ biomed เป็นที่ต้องการสูง ยิ่งเทคโนโลยีด้านอื่นก้าวเร็วเท่าไร biomedก็ยิ่งต้องล้ำกว่านั้นเพราะส่งผลถึงสุขภาพ คุณภาพชีวิต และอายุขัยของประชากรในUSA Biomedical Engineerนั้นเคยขึ้นเป็น rank ที่ 3 ของอันดับเงินเดือนทุกสาขาของวิศวกร

     ทั้งหมดนี้ก็เป็นรายละเอียดคร่าวๆ สำหรับน้องๆที่สนใจในสาขานี้ ผิดพลาดประการใดก็ขออภัยไว้ ณ ที่นี้ด้วยค่ะ


cr:http://biomedthai.blogspot.com/

1 ความคิดเห็น:

View My Blog
Subscribe to RSS Feed Follow me on Twitter!