วันศุกร์ที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2556

"วิศวกรเคมีกับนักเคมี ?"

วิศวกรรมเคมี → วิศวกรเคมี

วิทยาศาสตร์เคมี → นักเคมี

วิศวกรเคมี จะมีหน้าที่ในการออกแบบและการปฏิบัติการในกระบวนการผลิตขั้นตอนต่างๆ ของโรงงานอุตสาหกรรม มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนา และการประยุกต์ใช้กระบวนการทางเคมี หรือฟิสิกส์เพื่อเปลี่ยนวัตถุดิบเป็นผลิตภัณฑ์ ซึ่งอาจจะนำไปสู่การผลิตผลิตภัณฑ์อื่นๆ อีกมากมาย

นักเคมี มักทำ งานเพื่อค้นคว้าหรือปรับปรุงคุณภาพของผลผลิตด้วยเครื่องมือทดลองรวมทั้งการ คิดค้นวิธีการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น เมื่อนักเคมีได้ทำการค้นพบวิธีการแก้ปัญหา ที่จะทำให้ผลิตภัณฑ์มีคุณภาพสูงขึ้นแล้ว วิศวกรเคมีจะเป็นผู้คิดวิธีที่จะนำไปปรับสภาวะต่างๆ ซึ่งมักเกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์และสังเคราะห์ผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ในกระบวนการผลิตต่อไป

     วิศวกรรมเคมี กับ เคมีเทคนิค คิดว่ามันคงจะคล้ายกันมากพอสมควรครับ เคมีเทคนิคจบมาแล้วสามารถไปสอบเอาใบประกอบวิชาชีพวิศวกรรม (กว.) ได้ครับ แต่จริงๆแล้วใบประกอบวิชาชีพวิศวกรรมสาขาเคมี ไม่มีนะ ถ้าอยากได้จริงๆ อาจจะไปสอบของเครื่องกล (ความจริงสำหรับวิศวกรเคมี พี่ว่าไม่จำเป็นต้องมีใบ กว. หรอก)

     ที่ทำงานเก่าพี่มีอยู่สองคนที่จบเคมีเทคนิคหรือเคมีประยุกต์ มาจากคณะวิทยาศาสตร์ แล้วมาทำงานเป็นวิศวกร ก็เห็นทำงานได้ดีนะ เพื่อนพี่คนนึงจบเคมีเทคนิคที่จุฬาฯ ตอนนี้ก็ทำงานในตำแหน่งวิศวกรที่บริษัทแห่งหนึ่ง

     ที่ต่างกันแน่ๆ ก็ใบปริญญาหน่ะครับ อันนึงเป็นวิศวะ อีกอันนึงจะเป็นวิทยาศาสตร์ แต่พี่คิดว่าความรู้สำคัญกว่าชื่อปริญญานะ ถ้ามาสมัครงานตำแหน่งวิศวกรกับพี่ ระหว่างคนจบวิศวะจบมาด้วยเกรด 2 จุด จุ๋มจิ๋ม กับคนจบเคมีเทคนิคเกรด 3 จุดกว่าๆ พี่คงเลือกคนหลังอ่ะ

     แต่ถ้าเป็นวิศวะเคมีกับวิทยาศาสตร์เคมี อันนี้ต่างกันเยอะครับ คนละเรื่องเลย วิศวะเคมี เดิมคือสาขาหนึ่งของวิศวะเครื่องกล (ที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหรรมเคมี) เพราะฉะนั้นจะเรียนหลายๆ อย่างคล้ายๆ วิศวะเครื่องกลครับ เช่นเรื่อง Fluid Dynamics, Thermodynamics, Heat Transfer, Process Control, etc. 



CR:http://www.unigang.com/Article/1086

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

View My Blog
Subscribe to RSS Feed Follow me on Twitter!