วันอาทิตย์ที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2556


นักวิทยาศาสตร์และวิศวกร
   
     ถ้าพูดถึงประเด็นเรื่องความแตกต่างของนักวิทยาศาสตร์และวิศวกร ก็มีเรื่องเล่าแนวนิทานอยู่เรื่องหนึ่งที่น่าสนใจ เรื่องเริ่มต้นที่พระราชาแห่งประเทศอันอุดมสมบูรณ์ไปด้วยน้ำมันได้ตรัสเรียกทีมนักวิทยาศาสตร์และทีมวิศวกรเข้าพบ พระองค์ประสงค์ในอุปกรณ์ที่จะช่วยให้สามารถ"เดินทางทะลุกำแพง"ได้
   
เรื่องเล่านี้เริ่มคล้ายรายการวิทยสัปยุทธ์เข้าไปทุกที เมื่อแต่ล่ะทีมได้รับโจทย์อันแสนโหดเสร็จเรียบร้อย ก็แยกย้ายกันไปเข้าห้องทดลองของตนเอง ทางฝ่ายนักวิทยาศาสตร์ก็ระดมสมองกันมีทั้งนักฟิสิกส์และผู้เชี่ยวชาญสาขาต่างๆมากมาช่วยกันคิดค้นเครื่องย้ายมวลสารที่จะช่วยพาพระราชาองค์นี้เดินทางทะลุกำแพงให้จงได้ สุดท้ายด้วยความร่วมแรงร่วมใจระดมทั้งความคิดและพลังสมอง ทีมนักวิทยาศาสตร์ร่วมร้อยชีวิตก็สามารถสร้างเครื่องเทเลพอร์ตได้สำเร็จภายในระยะเวลาสิบปี เมื่อออกจากห้องทดลอง ฝ่ายนักวิทยาศาสตร์ก็ได้ขอเข้าเฝ้าพระราชาเพื่อเสนออุปกรณ์สุดแสนวิเศษของตน แต่ก็ไม่ลืมที่จะสอบถามถึงผลงานของทีมวิศวกรคู่แข่งด้วย พระราชาตอบทีมนักวิทยาศาสตร์อย่างเรียบง่ายว่า "เขากลับไปตั้งนานแล้วอตั้งแต่วันที่เราเสนอสิ่งที่ต้องการไปนั่นแหละ"

     ทีมนักวิทยาศาสตร?เห็นว่าทีมของตนน่าจะชนะบายในครั้งนี้แน่ๆ จึงได้ถามพระราชาเพื่อความแน่ใจว่า "เขาไม่รับงานนี้หรือ ?"

     พระราชาตรัสตอบเพียงสั้นๆว่า "เปล่า เขาสร้างประตูหน่ะ"




วิศวกรรมกับภาษาอังกฤษ
     สำหรับผู้ที่จะเป็นวิศวกรอย่างสมบูรณ์แบบวิชาที่สำคัญมากๆและขาดไม่ได้เลยก็คือวิชาภาษาอังกฤษจะเห็นได้ว่าหลักสูตรมัธยมปลายสายวิทย์-คณิตจะเน้นคำนวณแต่นั่นก็ไม่ได้หมายความว่าหลักสูตรเขาจะสามารถตัดศาสตร์ทางภาษาออกไปได้แต่อย่างใด มิหนำซ้ำภาษาอังกฤษยังสำคัญมากเลยอีกด้วย นักเรียนขาสั้นคอซองอาจจะคุ้นเคยกับการเรียนที่เขียนด้วยภาษาไทยและการเรียนการสอนที่เป็นภาษาไทยมาอย่างยาวนานกว่าสิบปี(ยกเว้นพวกเรียนนานาชาติ)ด้วยว่าข้อสอบและการถามตอบกับอาจารย์ผู้สอนก็จะเป็น
ภาษาไทยทั้งสิ้น(ยกเว้นในวิชาภาษาอังกฤษนะ) แต่เมื่อก้าวเข้าสู่รั้วมหาวิทยาลัยแล้ว ยิ่งเป็นคณะวิศวกกรมศาสตร์แล้วด้วย ความรู้ในเบื้องลึกของบางวิชาตำราภาษาไทยไม่ค่อยจะมีออกมาให้อ่านหรอก จะมีก็แต่ที่เป็นวิชาพื้นฐานที่เรียนเหมือนๆกันหลายๆภาควิชาอย่างเช่น กลศาสตร์หรือการสั่นสะเทือนทางกล ถ้าถ้าเป็นวิชาที่ลึกลงไปในรายละเอียดของแต่ละภาควิชาแล้ว น้อยเล่มมากที่จะมีอาจารย์คนไทยแปลออกมาเป็นภาษาไทยให้เราเข้าใจได้โดยง่ายเหมือนสมัยที่เรียนมัธยม ดังนั้น textbooks หรือตำราภาษาอังกฤษเล่มหนาๆจึงเป็นคำตอบสุดท้าย ในห้องสมุดที่เหล่านิสิตนักศึกษาไปค้นหาข้อมูลก็จะมีหนังสือตำราภาษาอังกฤษซะเป็นส่วนใหญ่ บางครั้งก็หอบกันออกมาเป็นตั้งๆมันก็จำเป็นต้องอ่าน ไม่อย่างนั้นก็จะไม่รู้ว่าจะไปอ่านที่ไหน บางวิชาที่มีอาจารย์ต่างประเทศมาสอนยิ่งแล้วใหญ่ ถ้าผู้เรียนไม่มีความสามารถทางด้านภาษาอังกฤษก็คงจะเรียนไม่รู้เรื่องเลย ครั้นจะให้อาจารย์ต่างประเทศสอนเป็นภาษาไทยก็คงไม่ใช่เหตุ และก็แน่นอนว่าข้อสอบย่อยก็เป็นภาษาอังกฤษ แถมต้องตอบโดยการบรรยายเป็นภาษาอังกฤษอีก
     ดังนั้นถึงแม้ว่าจะมีความสามารถในการคำนวนขนาดไหน สามารถอธิบายฟิสิกส์ได้เป็นฉากๆ แต่พอเจอชาวต่างชาติถามเส้นทางก็อยากหาวิธีหลบหนีหน้าแบบนี้ก็มีหวังไม่รอดกับสายวิศวะเหมือนกัน เพราะภาษาอังกฤษไม่ได้มีผลแต่ตอนเรียนเท่านั้นนะครับ บริษัทที่จะรับว่าที่วิศวกรเข้าทำงานก็ต้องการที่จะหาบุคลากรที่มีความสามารถทางภาษาทั้งนั้น ยิ่งถ้าหวังจะไปทำงานกับบริษัทต่างชาติที่ได้เงินเดือนดีๆแล้วล่ะก็ท่องไว้ได้เลยว่าภาษาอังกฤษสำคัญมากๆ ไม่ว่าจะเป็นการสื่อสารกับพนักงานต่างชาติท่านอื่นๆ หรือการเขียนเอกสารต่างๆ ล้วนแล้วแต่ต้องใช้ภาษาอังกฤษทั้งนั้น ดังนั้นใครที่กำลังเข้าใจผิดว่า "ภาษาอังกฤษไม่สำคัญ เอาวิชาคำนวนไว้ก่อน"ก็เปลี่ยนความคิดเสียตั้งแต่ตอนนี้ได้เลยครับ



วันอาทิตย์ที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2556


Physics and Engineering


     วิชาที่ถือว่าเป็นหัวใจสำคัญของวิศวกรรมศาสตร์เลยคือ"ฟิสิกส์" วิชาฟิสิกสืถือว่าเป็นแก่นแท้ของวิทยาศาสตร์เลยก็ว่าได้ เพราะว่าเกือบทุกสิ่งทุกอย่างในจักรวาล"ฟิสิกส์"สามารถไขข้อข้องใจได้ทั้งหมดที่ต้องบอกว่าเกือบทุกสิ่งก็เพราะว่าอำนาจเหนือธรรมชาติบางอย่างในปัจจุบันฟิสิกส์ก็อาจจะยังอธิบายไม่ได้อย่างแน่ชัด แต่ถึงอย่างนั้นก็ตามถ้าเราลองมองไปรอบๆตัวเชื่อได้เลยว่าไม่มีสิ่งใดเลยที่ไม่เกี่ยวข้องกับฟิสิกส์ ยกตัวอย่างเช่น เรามองรถบนถนน ก็เกี่ยวกับฟิสิกส์มากมาย การเคลื่อนที่ลักษณะต่างๆของรถก็เป็นฟิสิกส์ น้ำหนักของรถที่กระทำกับโลกและแรงที่โลกกระทำกลับไปยังรถก็ถือว่าเป็นฟิสิกส์ เครื่องยนต์การสันดาปการส่งผ่านกำลังของรถยนต์ก็เป็นฟิสิกส์ คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่างๆที่เกี่ยวข้องกับระบบไฟฟ้าก็เป็นฟิสิกส์ โทรทัศน์ โทรศัพท์มือถือ ก็เกี่ยวข้องกับคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
ก็ถือว่าเป็นฟิสิกส์ อากาศที่อยู่รอบๆตัวเราก็ยังสามารถอธิบายได้ด้วยสมการทางฟิสิกส์ เท่านี้ก็คงเห็นได้ชัดแล้วนะครับว่าสรรพสิ่งต่างๆที่วิศวกรสร้างสรรค์ขึ้นมา รวมทั้งสิ่งต่างๆในธรรมชาติล้วนแต่เกี่ยวข้องกับฟิสิกส์ทั้งสิ้น นั่นทำใหฟิสิกส์เป็นวิชาพื้นฐานที่สำคัญมากสำหรับวิศวกรเลยทีเดียว หัวใจหลักของการคำนวนทางวิศวกรรมนั้นเน้นไปที่การประยุกต์ศาสตร์แห่งฟิสิกส์โดยใช้คณิตศาสตร์เปรียบเสมือนเครื่องมือช่วยให้ได้มาซึ่งคำตอบ
   
     ดังนั้นความรู้ทางด้านกลศาสตร์ กฏการเคลื่อนที่ แม่เหล็กไฟฟ้า ความร้อนและคุณสมบัติของสสารรวมทั้งเนื้อหาอื่นๆที่มีอยู่ในหลักสูตรฟิสิกสื ม.ปลาย ถือได้ว่าเป็นพื้นฐานที่สำคัญมากๆสำหรับวิศวกร
สำหรับใครที่ชื่นชอบฟิสิกส์ด้วยหัวใจ อธิบายปรากฏการต่างๆได้เป็นฉากๆก็เหมาะสมอย่างยิ่งครับสำหรับการจะเป็น''วิศวกร''
    
     สำหรับฟิสิกส์ในระดับมหาลัยนั้นเมื่อเทียบกับฟิสิกส์ระดับมัธยมแล้ว ระดับมัธยมนั้นถือได้ว่าเป็นของเล่นไปเลยครับเนื่องจากมีความล้ำลึกและซับซ้อนต่างกันมากๆ และอีกจุดที่น่าสนใจคือ
ระบบการสอบในระดับมัธยมนั้นอาจจะเน้นไปที่ปรนัยหรือเลือกคำตอบมากกว่าข้อสอบแบบอัตนัยซึ่งเน้นการเขียนบรรยายและอธิบาย ดังนั้นใครที่คุ้นเคยกับการเลือกคำตอบ
ทำไม่ได้ก็กามั่วนั้นเรียนในระดับมหาวิทยาลัยไม่ได้แน่นอน เพราะว่าในระดับมหาวิทยาลัยนั้นวิชาสอบของวิศวกรรมเกือบทุกวิชาจะไม่มีการสอบแบบกากบาทเลย ลืมการกามั่วแล้วได้คะแนนไปเลยครับ
เพราะคะแนนนั้นไม่ได้มาจากการกาตรงกับคำตอบที่ถูกต้อง แต่มาจากการอธิบายและแสดงวิธีทำให้ได้มาซึ่งคำตอบที่ถูกต้องล้วนๆ ดังนั้นจึงต้องเข้าใจจริงๆครับถึงจะผ่านการสอบได้บอกเลย

วันเสาร์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2556

บริหารธุรกิจสายจัดการลงทุน 

     สายจัดการลงทุน แต่เดิมการจัดการลงทุนเป็นหน่วยงานหนึ่งขององค์กรที่มีเงินเหลือ เช่น ธนาคารพาณิชย์ โดยธนาคารจะบริหารสภาพคล่องส่วนเกิน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสายบริหารเงิน และในบางครั้งก็อาจมีการพิจารณาลงทุนในบริษัทต่างๆ บ้างเมื่อมีผู้เสนอให้ลงทุน นอกจากนี้ กลุ่มจัดการลงทุนนี้ ยังทำหน้าที่อยู่ในสถาบันต่างๆ เช่น กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ สำนักงานประกันสังคม บริษัทประกันชีวิต บริษัทประกันภัย มหาวิทยาลัย องค์กรเพื่อการกุศล และบริษัทหรือบุคคลต่างๆ ที่มีเงินให้บริหารจัดการ เพื่อหารายได้จากการลงทุน กลุ่มนี้จะเป็นการบริหารเงินลงทุนเพื่อองค์กร (Proprietary Investment)

     สายการจัดการลงทุนเพื่อบุคคลอื่นนั้น เป็นที่รู้จักกันมากขึ้นในช่วง 14 ปีที่ผ่านมา เนื่องจากทางการได้เพิ่มใบอนุญาตจัดการลงทุน จากเดิมที่มีเพียง 1 บริษัท เป็น 8 บริษัท จดกระทั่งในปัจจุบันมีบริษัทที่ประกอบธุรกิจจัดการลงทุน ทั้งกองทุนรวม กองทุนส่วนบุคคล และกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ รวม 30 บริษัท ถือว่าไม่น้อยทีเดียว

     งานของนักการเงินในสายจัดการลงทุนนี้ จะเป็นงานวิเคราะห์อุตสาหกรรมและวิเคราะห์หลักทรัพย์ และที่คนมองว่าเป็นหัวใจคือ การจัดการลงทุน จริงๆ แล้วต้องทำงานเป็นทีมค่ะ การวิเคราะห์ก็มีความสำคัญมาก หากวิเคราะห์ไม่ถูกต้อง ก็อาจจะเสียโอกาส หรืออาจจะเสียเงิน และยิ่งเป็นเงินของผู้อื่นแล้ว ยิ่งมีความเครียดและกดดันมากกว่าการบริหารเงินของตนเองเป็นอย่างมาก

     งานสายนี้ต่างก็ต้องอาศัยการวิเคราะห์ และความรอบคอบทั้งนั้น เนื่องจากต้องทำเกี่ยวกับเงินๆ ทองๆ ข้อผิดพลาดจึงเป็นเรื่องใหญ่  สำหรับวิศวะกรที่มีพื้นฐานความคิดในด้านการวิเคราะห์แก้ปัญหาอยู่แล้วการศึกษาต่อในด้านนี้จึงเป็นเรื่องที่ไม่ยากนักครับ


  บริหารธุรกิจสายหลักทรัพย์และวาณิชธนกิจ 

     สายหลักทรัพย์และวาณิชธนกิจ ในยุคใดที่ตลาดหุ้นรุ่งเรือง ผู้ทำงานในสายนี้จะเป็นมนุษย์ทองคำกันเลยทีเดียว ได้โบนัสกันเป็นจำนวนเดือนที่เป็นเลขสองหลัก ทำให้สายนี้ดึงดูดผู้คนเข้ามาทำงานกันมากมายในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา แต่ชีวิตมิได้โรยด้วยกลีบกุหลาบ ยามตลาดซบเซาก็ได้รับซองขาวให้จากไปเพื่อลดค่าใช้จ่ายของบริษัทเช่นกัน

     ส่วนใหญ่ผู้ที่เรียนจบด้านการเงินจะเป็นนักวิเคราะห์หลักทรัพย์ (Securities Analyst) และเป็นวาณิชธนากร (Investment Banker) หน้าที่ของวาณิชธนากรนี่กว้างมากเช่นกัน ทำได้ตั้งแต่ให้คำแนะนำแก่ลูกค้าในการจัดโครงสร้างทางการเงิน หรือทำหน้าที่ด้าน Corporate Finance เนื่องจากบริษัทบางแห่งจะมีขนาดใหญ่โต มีความต้องการทางการเงินหลากหลาย ผู้ทำหน้าที่ดูแลการเงินของบริษัทในสายงานกลุ่มที่สองที่กล่าวถึงเบื้องต้น อาจไม่สามารถดูแล ตัดสินใจได้ ต้องอาศัยคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ

     วาณิชธนากรยังให้คำปรึกษาในการนำบริษัทเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ และนำหุ้นออกเสนอขายให้กับประชาชน (IPO) โดยจะช่วยทำเอกสาร ช่วยประเมินมูลค่าหุ้น ช่วยนำเสนอต่อผู้ลงทุน และอาจจะช่วยดูแลหุ้นหลังจากเข้าไปทำการซื้อขายในตลาดแล้วสักระยะหนึ่ง และให้คำแนะนำเกี่ยวกับการเข้าซื้อกิจการและการควบรวมกิจการอีกด้วย

     สายหลักทรัพย์นั้นจะเน้นไปที่การลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ การซื้อขายหุ้นเพื่อทำผลกำไร ซึ่งสายนี้ต้องอาศัยการวิเคราะห์กราฟ การคาดคะเนความน่าจะเป็นซึ่งวิศวกรนั้นส่วนใหญ่จะมีความสามารถในด้านนี้เนื่องจากการเรียนสี่ปีในมหาลัยนั้นเราได้ฝึกฝนความสามารถด้านนี้ทุกวัน ทำให้วิศวกรนั้นไม่มีปัญหาเลยที่จะศึกษาต่อด้านบริหารสาขานี้
     

วันพฤหัสบดีที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2556

 บริหารธุรกิจสายการเงินของบริษัท
     การเงินของบริษัท คือผู้ที่ทำหน้าที่กระเป๋าเงินให้กับองค์กรธุรกิจต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจที่แสวงหาผลกำไร หรือไม่แสวงหาผลกำไร หน้าที่ก็มีตั้งแต่จัดหาเงินมาใช้ในการดำเนินกิจการ ซึ่งมีทางเลือกหลักๆ คือ ใช้ส่วนของทุน (Equity) ใช้เงินกู้ยืม (Debt) หรือใช้เครดิตทางการค้า (Supplier’s Credit) ส่วนที่ใช้ตราสารใหม่ๆ ก็จะแทรกอยู่ในหมวดหลักๆ เหล่านี้ทั้งนั้นค่ะ เช่น หุ้นกู้แปลงสภาพ ก็เป็นตราสารกึ่งหนี้กึ่งทุน ใบสำคัญแสดงสิทธิ (Warrant) ก็เป็นอนุพันธ์ของตราสารทุน เป็นต้น

     นอกจากการจัดหาเงินแล้วก็ต้องดูแลการใช้เงิน และจ่ายเงิน เช่น การซื้อวัตถุดิบ การควบคุมจำนวนสินค้าระหว่างผลิต การควบคุมลูกหนี้การค้าในกรณีที่มีการให้เทอมเครดิตกับผู้ซื้อ และการจัดเก็บหนี้ให้มีประสิทธิภาพ

     ผู้ทำหน้าที่ดูแลการเงินของบริษัท ถ้าเป็นในสมัยก่อนที่เป็นธุรกิจครอบครัว ก็อาจจะเป็นเถ้าแก่เนี้ย คือภรรยาของเจ้าของกิจการดูแลเอง สมัยนี้ตำแหน่งสูงสุดก็เป็นหัวหน้าเจ้าหน้าที่บริหารทางการเงิน (Chief Financial Officer) ซึ่งในหลายๆ องค์กรก็เป็นผู้หญิง ตำแหน่งทางการเงินนี้ มักจะเป็นตำแหน่งที่เป็นหมายเลขสองขององค์กร เพราะเป็นผู้กุมกระเป๋าเงิน
      เป็นอีกหนึ่งสายที่วิศวกรหลายๆคนมักจะเข้าศึกษาเพื่อพัฒนาตัวเองและเพื่อความก้าวหน้าในหน้าที่การงานของบริษัท  การเป็นผู้กุมกระเป๋าเงินขององค์กรนั้นต้องมีความซื่อสัตย์สูงและมีความสามารถในการจัดการเงินที่ดี ใครที่มีความซื่อสัตย์เรียนบริหารสายนี้รุ่งแน่นอนครับ




   บริหารสายการธนาคาร
    สายการธนาคาร เป็นสายที่นักการเงินคุ้นเคยมากที่สุด และเป็นสายงานที่เก่าแก่ที่สุด สมัยที่ดิฉันอยู่ต่างจังหวัด ใครได้ทำงานธนาคารถือว่าโก้สุดๆ ได้สวมเสื้อเชิ้ตสีขาว ผูกเนกไท ได้นั่งทำงานในสถานที่ที่โอ่โถง ภูมิฐาน และไปพบลูกค้าลูกค้าก็จะต้อนรับทักทายปราศรัยด้วยเป็นอย่างดี สายนี้จะเน้นหน้าที่หลักคือปล่อยสินเชื่อ ซึ่งประกอบด้วยการวิเคราะห์เครดิต การวิเคราะห์ธุรกิจและโครงการ รวมถึงการจัดวงเงินสินเชื่อที่เหมาะสมกับธุรกิจของลูกค้า ผู้ทำหน้าที่นี้อาจเรียนจบเศรษฐศาสตร์แล้วมาฝึกฝนเรียนรู้ในงานก็ได้

     นอกจากการปล่อยสินเชื่อแล้ว อีกหน้าที่หนึ่งที่ต้องอาศัยผู้มีความรู้ทางด้านการเงินคือ สายบริหารเงิน ทั้งสกุลเงินบาทและสกุลต่างประเทศ ซึ่งรวมถึงการเป็นดีลเลอร์ และเทรดเดอร์ด้วย กลุ่มนี้จะต้องคิดเร็ว ตัดสินใจเร็ว เพราะมีโอกาสทำกำไร หรือทำให้ขาดทุนได้ ส่วนใหญ่ผู้ทำงานด้านนี้มักจะมีทักษะทางคณิตศาสตร์ดีมาก และในระยะ 30 ปีที่ผ่านมา นิยมรับผู้จบปริญญาโททางการเงิน ที่มีพื้นฐานปริญญาตรีทางวิศวกรรม สันนิษฐานว่า เกิดจากการที่ธนาคารกสิกรไทยส่งนักเรียนทุนที่จบปริญญาตรีวิศวกรรมศาสตร์ ไปเรียนปริญญาโททางด้านการเงิน แล้วกลับมาทำงานบริหารเงินได้ดี

     คนอาจจะสงสัยว่า หน้าที่อื่นๆ เช่น หาเงินฝากหรือดูแลด้านอื่นๆ ในธนาคาร ไม่จำเป็นต้องจบการเงินหรือไฉน ก็ต้องขอตอบตามที่สังเกตมาว่า เจ้าหน้าที่ที่ดูแลด้านอื่นๆ นั้น อาจจะจบทางด้านเศรษฐศาสตร์ บัญชีการตลาด กฎหมาย หรือทางด้านสังคมศาสตร์อื่นๆ ก็ได้ค่ะ
     สายการธนาคารเป็นหนึ่งในสายที่วิศวกรที่คิดจะเรียนต่อปริญญาโทให้ความนิยมมาก เนื่องจากเป็นงานที่สบายและสามารถนำพื้นฐานทางวิศวกรรมที่เรียนมามาใช้ได้อย่างดี 

วันอาทิตย์ที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2556



วิศวกรรมไฟฟ้า - จุฬาฯ

คำถาม: ภาคไฟฟ้าเรียนหนักหรือไม่
คำตอบ: เรียนหนัก โดยเฉพาะปี 2 และ ปี 3 ทั้งนี้ เพื่อสอนให้นิสิตไฟฟ้าทุกคนมีความรู้พื้นฐานที่จำเป็น เพียงพอต่อการเรียนรู้และต่อยอดวิชาเฉพาะทาง วิชาชีพ หรือเทคโนโลยีชั้นสูง (ที่องค์ความรู้อาจเปลี่ยนแปลงไปได้อยู่ตลอดเวลา) ต่อไปได้ด้วยตนเองในอนาคต เปรียบเสมือนการวางรากฐานที่มั่นคง ส่วนในชั้นปีที่ 4 นิสิตจะได้เลือกเรียนวิชาเชิงประยุกต์ วิชาที่นำไปใช้ประกอบอาชีพ ตามแต่ความถนัดและความชอบของตน โดยมีวิชาในกลุ่มนี้ให้เลือกเรียนจำนวนมาก

คำถาม: นิสิตที่เรียนภาคไฟฟ้าแล้ว retire มีจำนวนมากหรือไม่
คำตอบ: ที่ผ่านมาในอดีตจนถึงปัจจุบัน มีจำนวนนิสิตภาคไฟฟ้าที่ retire น้อยมาก คิดเป็นสัดส่วนไม่ถึง 5% ภาควิชาและคณาจารย์ดูแลและให้คำปรึกษากับนิสิตที่มีผลการเรียนอ่อนอย่างใกล้ ชิด รุ่นพี่ชมรมไฟฟ้าจัดกิจกรรมในการช่วยเหลือรุ่นน้องในการเรียน และหากในที่สุด นิสิตที่เข้ามาเรียนแล้วเรียนไม่ไหว หรือไม่สันทัดกับการเรียนวิชาต่างๆ ของภาคไฟฟ้า ก็อาจขอย้ายภาคไปตั้งแต่ปีที่2

คำถาม: จบภาคไฟฟ้าแล้วไปทำงาน จะได้เงินเดือนเท่าไร
คำตอบ: โดยเฉลี่ยไม่ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของเงินเดือนนิสิตที่จบการศึกษาจากคณะวิศวกรรม ศาสตร์ จุฬาฯ โดยรวมทุกสาขา มีความเป็นไปได้ ในการได้รับเงินเดือนในระดับสูงเมื่อเทียบกับสาขาอื่นๆ ขึ้นอยู่กับทักษะและความสามารถเฉพาะตัว อันเกิดจากการฝึกฝน และความเอาใจใส่ระหว่างเรียนอยู่ที่ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้าเป็นหลัก จบวิศวกรรมไฟฟ้าก็สามารถไปทำงานในบริษัทน้ำมัน เป็นวิศวกรออกแบบ ในบริษัทข้ามชาติ ทำงานในสายงานทางด้านวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ได้เช่นกัน

คำถาม: ตอนนี้ไฟฟ้าสาขาอะไรได้รับความนิยมมากที่สุด เมื่อเข้าภาคไฟฟ้าแล้วต้องสอบคัดเลือกเข้าไปในสาขาย่อยๆ เช่น ไฟฟ้ากำลัง ควบคุม สื่อสาร อิเล็กทรอนิกส์ อีกหรือไม่
คำตอบ: การเรียนการสอนที่ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า จุฬาฯ ครอบคลุมแขนงความรู้ที่กำลังได้รับความสนใจอย่างกว้างขวางในปัจจุบัน เช่น นาโนอิเล็กทรอนิกส์ ระบบอัตโนมัติ หุ่นยนต์ พลังงาน เครื่องมือแพทย์ รถไฟฟ้า ระบบจราจรอัจฉริยะ การสื่อสารแบบไร้สาย อินเทอร์เน็ต เป็นต้น อย่างไรก็ดี การเรียนในปีที่ 2 และ 3 ของนิสิต จะเรียนวิชาพื้นฐานของทั้ง 4 สาขาหลัก เหมือนกันหมดทุกคน จากนั้น ในปีที่ 4 นิสิตสามารถเลือกเรียนวิชาเฉพาะทางได้ตามความสนใจของตน โดยไม่ต้องสอบคัดเลือกเข้าสาขาย่อยแต่อย่างใด และทุกคนจบการศึกษาเป็นวิศวกรไฟฟ้า ที่สามารถทำงานได้ในทุกสาขาที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็น กำลัง ควบคุม สื่อสาร หรืออิเล็กทรอนิกส์

คำถาม: หากเลือกเรียนสาขาหนึ่งของวิศวกรรมไฟฟ้า แล้วจะไปทำงานข้ามสาขาได้หรือไม่ แต่ละสาขามีความใกล้เคียงกันมากเพียงใด
คำตอบ: จากคำตอบในข้อก่อนหน้านี้ คงเป็นที่ชัดเจนว่าคำตอบในข้อนี้ คือ ทำได้ แน่นอน แต่ละสาขาอาศัยความรู้พื้นฐานทางคณิตศาสตร์ ฟิสิกส์ และทฤษฎีวงจร การวิเคราะห์เชิงสัญญาณและเชิงระบบ มาจากแหล่งเดียวกัน จากนั้น ในวิชาชั้นสูง หรือวิชาเชิงประยุกต์ จึงแตกยอดออกไปตามลักษณะการนำความรู้ไปใช้งาน ซึ่งความรู้ในเชิงประยุกต์นี้เปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา ในขณะที่ความรู้พื้นฐานทางทฤษฎีที่นิสิตภาคไฟฟ้าทุกคนมีอยู่ ยังคงสามารถนำไปใช้ในการทำความเข้าใจและเรียนรู้เทคโนโลยีใหม่ๆ ได้เสมอ

คำถาม: ไฟฟ้าสาขาระบบควบคุม (Control) ทำไมต้องเรียนวิชาคำนวณมากมาย
คำตอบ: วิชาคำนวณเป็นพื้นฐานของการเรียนไฟฟ้าในทุกแขนงอยู่แล้ว โดยเฉพาะสาขาระบบควบคุม ที่จำเป็นต้องอาศัยความรู้ทางคณิตศาสตร์ ในการสร้างแบบจำลองระบบทางกายภาพ เช่น กระบวนการขับเคลื่อนทางอุตสาหกรรม แบบจำลองหุ่นยนต์ หรือ ยานยนต์ หรือแบบจำลองทางเศรษฐศาสตร์ จากนั้น ใช้ความรู้ทางคณิตศาสตร์ในการวิเคราะห์สมรรถนะของระบบ รวมถึงการออกแบบระบบควบคุมการทำงาน ได้อย่างเหมาะสม เช่น ระบบกันกระเทือนของรถยนต์ ระบบควบคุมกระบวนการผลิตทางอุตสาหกรรม หรือควบคุมการทำงานของโรงไฟฟ้า เป็นต้น

คำถาม: อยากทำงานโรงไฟฟ้า ควรเลือกเรียนสาขาใด และสาขานั้นทำอะไรได้บ้าง
คำตอบ: ในชั้นปีที่ 4 ให้เลือกเรียนวิชาเฉพาะทางของสาขาไฟฟ้ากำลังเป็นหลัก ความรู้ทางด้านไฟฟ้ากำลัง นอกจากทำงานกับการไฟฟ้า เช่น กฟผ. กฟภ. กฟน. ได้แล้ว ยังสามารถทำงานเป็นผู้ออกแบบ ผู้รับเหมา หรือผู้คุมงาน ระบบไฟฟ้าในอาคารสูง โรงงานอุตสาหกรรม อาคารสำนักงาน และที่อยู่อาศัยได้ เป็นวิศวกรในโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ รวมถึง เป็นที่ปรึกษาด้านพลังงานไฟฟ้าได้

คำถาม: เรียนจบภาคไฟฟ้าแล้วจะเรียนต่อ ป.โท ทางด้านนิวเคลียร์ ได้หรือไม่
คำตอบ: ได้ โดยเฉพาะหากจะเรียนและทำวิจัยทางด้านการใช้งานโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ จำเป็นต้องมีความรู้พื้นฐานทางด้านทฤษฏีวงจร และระบบไฟฟ้ากำลัง

คำถาม: หากจบการศึกษาด้าน Biomedical จากภาคไฟฟ้า จะต้องทำงานด้านวิจัยได้เท่านั้น หรือไม่ มีงานรองรับในประเทศมากน้อยแค่ไหน
คำตอบ: ไม่จำเป็นต้องเป็นงานวิจัยเท่านั้น สามารถทำงานด้านออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับเครื่องมือแพทย์ เช่น เครื่องมือผ่าตัดที่จะทำให้คนไข้เสียเลือดน้อย ระบบดูแลสุขภาพผู้สูงอายุโดยใช้เซนเซอร์ทางชีวภาพต่างๆ เป็นต้น ในประเทศไทย วิศวกรรมการแพทย์ถือเป็นยุทธศาสตร์สำคัญอย่างหนึ่ง ซึ่งสอดคล้องกับการผลักดันให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการรักษาพยาบาล (Medical Hub) ของโลก ความก้าวหน้าทางอิเล็กทรอนิกส์และระบบสื่อสารในปัจจุบัน สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาเครื่องมือเครื่องใช้ในการรักษาพยาบาล และในงานดูแลสุขภาพ ให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นได้

คำถาม: หากสนใจด้านนาโน ควรเลือกเรียนวิชาใด ทำโปรเจคของห้องแลบใด และสภาพตลาดงานด้านนาโนเป็นอย่างไร
คำตอบ: ภาควิชาไม่มีวิชาวัสดุนาโนโดยตรง แต่จะแทรกไปใน 208 Prop Mat EE โดยมีวิชาที่เกี่ยวข้องกับนาโนอิเล็กทรอนิกส์เช่น 584 Intro to Nanoelec, 549 Sem Fab Tech, 488 Sem Dev II (ตัวต่อจาก 385) โดยห้องปฏิบัติการวิจัยสารกึ่งตัวนำ (SDRL ตึกไฟฟ้าชั้น 6) มีการทำวิจัยด้านการสร้าง วิเคราะห์ และประยุกต์ใช้วัสดุและสิ่งประดิษฐ์สารกึ่งตัวนำมาอย่างยาวนานและต่อเนื่อง ห้องแลบ SDRL มีความร่วมมือทางเทคนิคกับมหาวิทยาลัยใน USA, Germany และญี่ปุ่น โดยได้รับการ sponsor งบวิจัยบางส่วนจาก US Air Force ด้วย นิสิตที่จบไปจากห้องแลบสามารถเข้าสู่อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในฐานะ R&D engineer หรือ process engineer ในบริษัทผลิตฮาร์ดดิสก์ แผงวงจร หน่วยความจำ และคอมพิวเตอร์ ซึ่งในแต่ละปีมีมูลค่าการส่งออกในลำดับต้น ๆ ของประเทศ

cr. ฝ่ายวิชาการ ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า



"เกียรติใดจักเท่าวิศวะลูกพระจอม"

     หนึ่งในสามมหาวิทยาลัยลูกพระจอมบิดาแห่งวิศวกรไทย เป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงมากทางด้านวิศวกรรมและเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไปในภาคอุตสาหกรรม เพราะวิศวะลูกพระจอมนั้นมีจุดเด่นอยู่ที่การทำงาน การที่มหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าพระนครเหนือเน้นการเรียนการสอนไปในเส้นทางการปฎิบัติทำให้วิศวกรที่จบออกมานั้นสามารถทำงานได้อย่างมีคุณภาพ มหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าพระนครเหนือทั้งทางด้านคุณภาพของบุคลากร หลักสูตรการเรียนการสอน งานวิจัย ผลงานการแข่งขันระดับโลก ถือว่าอยู่แถวหน้าเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศไทยและมีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับในระดับโลก ในปัจจุบันมหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าพระนครเหนือมีวิศวกรรมสาขาต่างๆหลากหลายสาขาดังนี้
  • ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกลและการบิน-อวกาศ
  • ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์
  • ภาควิชาวิศวกรรมการผลิต
  • ภาควิชาวิศวกรรมเคมี
  • ภาควิชาวิศวกรรมโยธา
  • ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ
  • ภาควิชาวิศวกรรมวัสดุและเทคโนโลยีการผลิต
  • ภาควิชาวิศวกรรมขนถ่ายวัสดุ
  • ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องมือวัดและอิเล็กทรอนิกส์ 
   

ภาพตึกคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

ความเป็นมา
     สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า พ.ศ. 2514 ชื่อ สถาบันเทคโนโลยีได้รับพระราชทานพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานนามอันศักดิ์สิทธิ์ และเป็นมงคลยิ่งว่า "สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า" ตามพระบรมนามาภิไธยแห่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และ ทรงพระมหากรุณาธิคุณมีพระบรมราชานุญาตให้อัญเชิญพระตรา "พระมหามงกุฏ" มาเป็นสัญลักษณ์แห่งสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าด้วย ตามบัญญัติ แห่งกฎหมายสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า พ.ศ. 2514 ได้กำหนดให้รวมวิทยาลัยเทคนิคพระนครเหนือ วิทยาลัยโทรคมนาคมนนทบุรี และ วิทยาลัยเทคนิคนนบุรี ซึ่งสังกัดกรมอาชีวะศึกษา กระทรวงศึกษาธิการเข้าด้วยกัน แล้วจัดตั้งเป็นสถาบันเทคโนโลยี เรียกกันว่า สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า เป็นสถาบันศึกษาและวิจัยมีวัตถุประสงค์ที่จะผลิตครูอาชีวศึกษาระดับปริญญา ให้ การศึกษาทางเทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์ สถาบันเป็นนิติบุคคลมีฐานะเป็นกรมในกระทรวงศึกษาธิการกำหนดการแบ่ง ส่วนราชการออกเป็นสำนักงานอธิการบดี และคณะ

     สำหรับใครที่คิดหรือสนใจที่จะเข้าศึกษาในคณะวิศวกรรมศาสตร์นั้น มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือนั้นถือว่าเป็นตัวเป็นที่น่าสนใจอย่างยิ่ง เพราะมีคุณภาพการศึกษาระดับแนวหน้า เครือข่ายสายงายต่างๆที่แน่นแฝ้นของลูกพระจอม รุ่นพี่รุ่นน้องรักและสามัคคีช่วยเหลือกัน ต้องมาเรียนแล้วถึงรู้ครับว่าที่นี่เจ๋งจริงๆ





ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า

     เป็นอีกหนึ่งภาควิชาวิศวกรรมสาขาแรกๆที่เปิดสอนในมหาวิทยาลัยต่างๆแทบทุกมหาวิทยาลัยเช่นเดียวกันภาควิชาเครื่องกลและภาควิชาโยธา เรื่องการเรียนวิศวกรรมไฟฟ้าก็ยังคนหนีไม่พ้นการออกแบบวิเคราะห์และสร้างอุปกรณ์ที่เกี่ยวเนื่องกับระบบไฟฟ้า วิศวกรรมไฟฟ้าแบ่งออกเป็นสามสายหลักๆดังนี้
- วิศวกรรมไฟฟ้ากำลัง
- วิศวกรรมไฟฟ้าสื่อสาร
- วิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์
     ซึ่งบางมหาวิทยาลัยจะแยกออกไปเป็นวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์ตั้งแต่ปีหนึ่งเลย แต่วิศวกรรมไฟฟ้าจะเน้นหนักไปที่ประสิทธิภาพในการทำงานและทีี่สำคัญที่สุดคือความปลอดภัยในระบบไฟฟ้าต่างๆ ซึ่งเป็นที่แน่นอนว่าผู้เรียนก็ต้องมีความรู้พื้นฐานทางด้านไฟฟ้าที่ดีพอสมควร ทั้งเรื่องของแม่เหล็กไฟฟ้ารวมถึงพื้นฐานทางไฟฟ้าในวิชาฟิสิกส์ที่เรียนในระดับมัธยมด้วย สำหรับงานที่รองรับของวิศวกรรมไฟฟ้านั้นรับรองว่ามีหลากหลายมากๆไม่แพ้วิศวกรรมเครื่องกลเลยทีเดียว


ภาควิชาวิศวกรรมวัสดุ

     ภาควิชาวิศวกรรมวัสดุ สำหรับภาควิชานี้แค่ชื่อก็บอกอยู่แล้วว่าเรียนเกี่ยวกับวัสดุศาสตร์และการออกแบบวัสดุแน่นอน เราต้องศึกษาเทคนิคที่ใช้ในกระบวนการปรับปรุงสมบัติของวัศดุทั้งภาคทฤษฏีและภาคปฏิบัติ ส่วนใหญ่การศึกษาเพื่อที่จะพัฒนาทางด้านอุตสาหกรรมจะครอบคลุมวิชาหลักๆของวิศวกรรมวัสดุ ทั้งเรื่องของโครงสร้างกระบวนการและสมรรถนะของวัสดุ อีกทั้งยังเรียนรู้ถึงกระบวนการขึ้นรูปของวัสดุต่างๆ อีกด้วย สำหรับงานรองรับก็ถือว่ามีอยู่มากโดยส่วนใหญ่จะเน้นไปที่โรงงานอุตสาหกรรมเช่น อุตสาหกรรมแม่พิมพ์ งานหล่อ งานพลาสติก เท่าที่กล่าวมาโดยรวมถือว่าภาควิชาวิศวกรรมวัสดุนั้นน่าสนใจอยู่ไม่น้อยทีเดียว

วันเสาร์ที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2556

  
Continuing Professional Development 
   
    สภาวิศวกรได้ดำเนินโครงการโครงการพัฒนาวิชาชีพวิศวกรรมอย่างต่อเนื่องหรือ CPD ย่อมาจาก Continuing Professional Development หรือ การพัฒนาวิชาชีพวิศวกรรมอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ทันเทคโนโลยีและความรู้ใหม่ที่เกิดขึ้น
          วัตถุประสงค์ของ CPD ก็คือ 1.เพื่อให้วิศวกรมีการปรับปรุงทั้งคุณภาพ และประสิทธิภาพในการทำงานให้อยู่ในระดับสูง 2.เพื่อรักษามาตรฐานในการประกอบวิชาชีพ 3.เพื่อให้เป็นที่ยอมรับในสากลและการแข่งขันของตลาดงานในอนาคต
          สำหรับการทำกิจกรรม CPD ของประเทศโดยรวมคือ ทำกิจกรรมเพื่อมุ่งปรับปรุงหรือเพิ่มคุณภาพในสิ่งที่วิศวกรโดยรวมทั้งประเทศ มีจุดอ่อน และทิศทางดังกล่าวอาจจะต้องมีการกำหนดเป็นระยะเวลาและเปลี่ยนแปลงได้ เช่น ถ้าวิศวกรในประเทศโดยเฉลี่ยมีปัญหาเรื่องภาษาก็ต้องกำหนดให้ภาษาเป็นหนึ่งใน ทิศทางที่ต้องสนับสนุนให้มี หรือทำกิจกรรม CPD เป็นต้น
          ทั้งนี้สภาวิศวกรจะประเมินทิศทางของกิจกรรมที่ควรสนับสนุนระยะเวลา 2 ปี เริ่มช่วงแรก ปี พ.ศ. 2549 - 2550 ทั้งหมด 5 รายการดังนี้ 1.ความปลอดภัย 2.มาตรฐาน 3.พื้นฐานและการพัฒนาวิศวกรรม 4.คอมพิวเตอร์ 5.ภาษา
ปัญหาภายนอกรุมเร้า มหา’ลัยแย่งงาน
          ไม่เพียงแต่ปัญหาภายในแวดวงวิศวกรปะทุขึ้นมาเท่านั้น แต่ปัญหาภายนอกก็รุมเร้าไม่แพ้กัน นั่นก็คือ การแข่งขันชิงงานกันระหว่างสถาบันการศึกษากับคนในวงการวิชาชีพ ซึ่งปัญหาดังกล่าวได้ก่อตัวขึ้นมาตั้งแต่ รัฐบาลมีนโยบายมหาวิทยาลัยออกจากนอกระบบ ทำให้มหาวิทยาลัยต้องหาเลี้ยงตนเอง ซึ่งปรากฏว่า งานที่ปรึกษาด้านวิศวกรรมมักจะถูกองค์กรมหาวิทยาลัยคว้างานไปเกือบหมด โดยที่บริษัทเอกชนหมดสิทธิ์แข่งขัน
          ว่ากันว่า ปัญหานี้เกิดขึ้นจากภาครัฐและรัฐบาลเองที่ต้องการเอาชื่อมหาวิทยาลัยไป การันตี จึงพบเห็นบ่อยครั้งที่รัฐมนตรีมักจะเรียกให้สถาบันการศึกษาไปรับงาน ไม่ว่าจะเป็นงานที่ปรึกษาก่อสร้าง งานสำรวจพื้นที่ งานทดสอบระบบ ต่างๆเป็นต้น
          “ตอนนี้วิชาการกับวิชาชีพกำลังทับซ้อนกันอย่างมาก ไม่มีใครห้ามไม่ให้อาจารย์มหาวิทยาลัยไปทำงานวิจัย ไปทำกับองค์กรเอกชน เพราะการไปทำจะได้นำข้อมูล องค์ความรู้ใหม่ๆมาสอนนักศึกษา ทุกคนสนับสนุน แต่ไม่ควรที่จะเอาสถาบันไปรับงาน เนื่องจากคนอื่นแข่งขันไม่ได้ อีกทั้งสถาบันการศึกษาก็ไม่ได้ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ”แหล่งข่าว ในวงการ เล่าถึงปัญหารุมเร้าวิศวกร
e-Auction ทำลายรับเหมา
          นอกจากนี้ยังมีกรณีล่าสุดที่คนในวงการวิศวกรเห็นว่า เป็นตัวทำลายระบบประมูลโดยเฉพาะวงการรับเหมาก่อสร้างจะได้รับผลกระทบมากสุด หลังจากที่รัฐบาลมีนโยบายสั่งให้การประมูลงานตั้งแต่ 2 ล้านบาทขึ้นไปจะต้องประมูลด้วยวิธี e-Auction ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต

          นอกจากนี้แล้ว เขายังกังวลการประมูลโครงการเมกะโปรเจกต์ของรัฐบาลมูลค่า 1.77 ล้านล้านบาท ว่าอาจจะอยู่ในมือยักษ์ใหญ่รับเหมาก่อสร้างเท่านั้น ไม่ได้กระจายไปยังผู้รับเหมารายกลาง รายเล็ก ซึ่งทำให้ต้องดิ้นรนไปหางานในต่างประเทศ อาทิ การ์ต้า ปากีสถาน ประเทศเพื่อนบ้าน อาทิ ลาว กัมพูชา เวียดนาม
          “รายใหญ่มีโอกาสได้มากกว่า เพราะมีผลงานก่อสร้างมาแล้ว รายกลาง รายเล็กหมดโอกาส และยิ่งจะให้ไปซับคอนแทกซ์ ก็ไม่มีใครต้องการ เพราะจะถูกตัดราคาจากบริษัทที่ได้งานประมูลลงไปอีก จนเหลือแต่กระดูก จึงไม่มีใครเอา ตอนนี้วงการรับเหมาไทยมีปัญหามาก”นายกฯว.ส.ท.กล่าว
          เขายังมองว่า การเกิดขึ้นของเมกะโปรเจกต์ควรที่จะให้เกิดประโยชน์ด้วย ไม่ใช่ต้องการแค่เกิดการจ้างงานอย่างเดียว ควรจะเอาข้อมูลมาดูกันว่า ได้ประโยชน์อย่างไร เมื่อโครงการเริ่มแล้วก็คงจะไม่มีใครต่อต้านได้ แต่ต้องรับกับปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต
แฉการเมือง-การศึกษา ต้นเหตุวิศวกรด้อยคุณภาพ!
          ถึงจุดเสื่อมหนักวงการวิศวกรรม แจงการเมือง-การศึกษาผิดพลาด ทำมาตรฐานคุณภาพวิศวกรตกต่ำ แม้ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพชั้นต้นก็ไม่อาจการันตี เตือนผู้จ้างระวังจ้างวิศวกรสร้างบ้าน-อาคารสูง และงานทาง มือไม่ถึง เสี่ยงพัง อันตรายถึงชีวิต
          ยุคสมัยที่เปลี่ยนไปทำให้คนที่คิดจะสร้างสิ่งปลูกสร้างตั้งแต่ระดับเล็ก อย่างบ้านเรือนไปจนถึงอาคารสูงเทียมฟ้าพร้อมจ่ายในราคาสูงกว่าเพื่อจ้าง วิศวกรมาควบคุมการก่อสร้าง เพราะต้องการทั้งความทันสมัย และความปลอดภัย และยังมีเรื่องของกฎหมายเข้ามาเกี่ยวข้อง ซึ่งที่ผ่านมาในการจ้างวิศวกรนั้นเราอาศัยใบประกอบวิชาชีพวิศวกรรมมาเป็นตัว การันตีคุณภาพของวิศวกรนั้น ๆ แต่วันนี้จะคิดแค่นั้นไม่ได้แล้ว ปัญหาสำคัญที่สุดที่เรามิอาจมองข้ามได้คือเรื่องของความผิดพลาดในนโยบายการ เมืองและระบบการศึกษา ที่ส่งผลโดยตรงกับการฉุดมาตรฐานคุณภาพวิศวกรลง!?
          แหล่งข่าวในแวดวงวิศวกรรมกล่าวว่า การเรียนการสอนวิศวกรมี 2 ระดับด้วยกัน คือเรียนในระดับมหาวิทยาลัยที่มุ่งมาเป็นวิศวกรโดยตรง จบแล้วได้วุฒิ วศ.บ.(วิศวกรรมศาสตร์บัณฑิต)กับการเรียนในระดับวิทยาลัย ที่จบแล้วจะได้วุฒิ คอ.บ. (ครุศาสตร์อุตสาหกรรมบัณฑิต) และอศ.บ.(อุตสาหกรรมศาสตร์บัณฑิต)ที่จบมาเป็นครูช่าง แต่เดิมใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรมนั้นคนที่มีสิทธิ์ได้มีเพียงผู้ที่จบ ได้วุฒิ วศ.บ.เท่านั้น
          แต่ในช่วงที่ผ่านมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงยุคฟองสบู่โต ธุรกิจก่อสร้างบูม ประเทศไทยประสบปัญหาวิศวกรขาดแคลนอย่างหนัก ทำให้ฝ่ายการเมืองตัดสินใจเปิดช่องให้ผู้ที่จบ คอ.บ. และอศ.บ.สามารถได้ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพได้โดยไม่ต้องสอบ นั่นเป็นจุดเริ่มต้นของปัญหาสำคัญ
          “การประกอบวิชาชีพวิศวกรรม มันคนละเรื่องกับการเรียนวิชาชีพ มันต้องอาศัยความชำนาญ และการเรียนการสอนแบบเต็มรูปแบบ ทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ แต่คนที่เรียนจบครูช่างมาจะเรียนวิชาวิศวกรรมแค่ 7 ตัว ใช้เวลาเรียนเพียง 1 เทอม แต่ก็ไปประกอบอาชีพวิศวกรรม ขณะที่คนที่เรียนในระดับมหาวิทยาลัยเขาต้องเรียนถึง 4 ปี คุณภาพของเด็กจึงไม่เท่ากัน”
ความภาคภูมิใจของวิศวะสายปฎิบัติงาน

     คณะวิศวกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี หนึ่งในสามมหาวิทยาลัยลูกพระจอมฯบิดาแห่งวิศวกรไทย พระจอมเกล้าธนบุรีถือว่าเป็นมหาวิทยาลัยทางด้านวิศวกรรมลำดับต้นๆของประเทศ เป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยที่รวมรวมเด็กเก่งๆจากทั่วประเทศมาอยู่ในคณะวิศวกรรม โดยในด้านการเรียนการสอนแล้วคุณภาพนั้นไม่ต่างจากลาดกระบังหรือพระนครเหนือเลย โดยจะเน้นไปที่การปฎิบัติเพื่อให้นักศึกษาวิศวกรรมทุกคนทำงานเป็นเมื่อเรียนจบ ทำให้ในภาคอุตสาหกรรมจะต้องการนักศึกษาลูกพระจอมมากในการทำงาน หลายๆที่ถึงกับมาจองตัวนักศึกษาตั้งแต่ยังเรียนไม่จบ ในด้านผลงานการวิจัย และผลงานจากการแข่งขันต่างๆ วิศวกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าธนบุรีนั้นถือว่าอยู่ในระดับโลก เพราะมีผลงานการแข่งขันที่ได้รับรางวัลต่างๆมากมายแทบทุกๆปี สำหรับใครที่สนใจที่จะเรียนวิศวกรรมนั้นสามพระจอมถือว่าเป็นทางเลือกทีดีและไม่ทำให้ผิดหวังแน่นอน ในปัจจุบันคณะวิศวกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าธนบุรีมีสาขาวิชาต่างๆดังนี้

ภาคปกติ(ภาษไทย)
- ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
- ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า(ระบบไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์กำลัง พลังงาน)
- ภาควิชาวิศวกรรมโยธา
- ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล
- ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ
- ภาควิชาวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม
- ภาควิชาวิศวกรรมควบคุมและเครื่องมือวัด
- ภาควิชาวิศวกรรมเคมี
- ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล(พลังงาน เศรษฐศาสตร์ และสิ่งแวดล้อม)
- ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องมือ
- ภาควิชาวิศวกรรมวัศดุ
- ภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
- ภาควิชาวิศวกรรมเมคคาทรอนิกส์

หลักสูตรนานาชาติ
- ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์(นานาชาติ - สองสถาบัน)
- ภาควิชาวิศวกรรมโยธา(นานาชาติ - สองสถาบัน)
- ภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม(นานาชาติ - สองสถาบัน)
- ภาควิชาวิศวกรรมเคมี
- ภาควิชาวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม
- ภาควิชาวิศวกรรมอัตโนมัติ


ภาพมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

ก้าวสู่การเป็นอันดับ 1 ของประเทศ

     มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) หรือที่รู้จักในชื่อ "บางมด" เป็นมหาลัยในกำกับรัฐบาล เดิมชื่อ วิทยาลัยเทคนิคธนบุรี, สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า วิทยาเขตธนบุรี และสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี บนที่ดินพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมาวดี ศรีรัตนราชธิดา กรมหลวงสมรรัตนสิริเชษฐ์ รับพระราชทานจาก พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นพระราชธิดาพระองค์ที่ ๓ ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
     มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ได้รับการจัดอันดับเป็นมหาวิทยาลัย ดีเลิศ ด้านการวิจัยและ ดีเยี่ยม ด้านการเรียนการสอน โดยการจัดอันดับเพื่อประเมินศักยภาพของมหาวิทยาลัยไทย ปี 2548 จากสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ปี 2555 ได้รับการจัดอันดับจากเว็บโอเมตริกซ์ (Webometrics) อยู่ในอันดับที่ 482 ของโลก อันดับที่ 13 ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อันดับที่ 7 ของมหาวิทยาลัยในประเทศไทย ได้รับการจัดอันดับให้เป็นมหาวิทยาลัยสีเขียวจาก UI โดยประเมินจากด้านการจัดการพลังงานและสิ่งแวดล้อมได้อันดับ 17 ของประเทศโลก อันดับ 3 ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อันดับ 1 ของประเทศไทย และจากการจัดอันดับมหาวิทยาลัยวิจัยของประเทศไทย โดย สกว. ได้รับการประเมินในระดับดีเยี่ยมในด้านวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีถึง 5 สาขา ซึ่งถือว่ามากที่สุดในประเทศ ได้รับการจัดอันดับหน่วยงานวิจัยทั่วโลกในดัชนี Normalized Impact จาก SIR World Report 2011 ของ SCImago Institutions Ranking ได้เป็นอันดับที่ 1 ของประเทศไทยด้านการวิจัย ได้รับการจัดอันดับจากQS Asian University Rankings by faculty2012 ด้านวิศวกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ให้เป็นอันดับที่ 74 ของทวีปเอเชีย และเป็นอันดับที่ 3 ของประเทศไทย ได้รับการจัดอันดับจากTimes Higher Education World University Rankings 2012-13 powered by Thomson Reuters ให้เป็นมหาวิทยาลัยที่ได้รับการจัดอันดับให้อยู่ในTop400อันดับแรกมหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดในโลกเพียงแห่งเดียวในประเทศไทย อยู่ในอันดับที่389ของโลก และอันดับที่1ของมหาวิทยาลัยในประเทศไทย และล่าสุดในเดือนเมษายน ปี ค.ศ.2013 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีก็ได้รับการจัดอันดับ100สุดยอดมหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดในเอเชียโดย The Times Higher Education Asia University Rankings 2013 ให้เป็นอันดับที่ 55 และเป็นอันดับที่ 1 ของมหาวิทยาลัยในประเทศไทยอีกครั้งในปีนี้
     มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เป็นมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงด้านวิศวกรรม วิทยาศาสตร์  และเทคโนโลยี โดยเฉพาะอย่างยิ่งคณะวิศวกรรมศาสตร์ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เป็น 1 ใน 8 ของคณะวิศวกรรมศาสตร์ที่เก่าแก่ที่สุดของประเทศไทย และเปิดทำการสอนทั้งในหลักสูตรปกติ สองภาษาและนานาชาติ ในระดับปริญญาตรี โท และเอก มากที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศไทยด้วย

วิศวกรรมอุตสาหการ

1.สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง     คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ   
คะแนน  19477.6000     17797.000

2.มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี     คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ
คะแนน  18597.4500     17532.200

3.มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์     คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ
คะแนน  18889.4500     16408.100

4.มหาวิทยาลัยเชียงใหม่     คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ
คะแนน  18586.5000     16329.300

5.มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ     คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ
คะแนน  17546.5500     16146.600

6.มหาวิทยาลัยมหิดล     คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ
คะแนน  20114.5500     16110.700

7.มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน     คณะวิศวกรรมศาสตร์กำแพงแสน สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ-โลจิสติกส์
คะแนน  16822.1500     15366.000

8.มหาวิทยาลัยศิลปากร คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ
คะแนน  16,648.20       15,290.00





วิศวกรรมคอมพิวเตอร์

1.มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน     คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์   
คะแนน  20710.7500     19813.400

2.มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี     คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์     คะแนน  21483.5000     18636.400

3.สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง     คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
คะแนน  21540.9000     18409.550

4.มหาวิทยาลัยมหิดล     คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
คะแนน  19226.1000     18030.350

5.มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน     คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิชาวิศวกรรมซอฟต์แวร์และความรู้ (หลักสูตรนานาชาติ)
คะแนน  20581.7500     17978.200

6.มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์     คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
คะแนน  21045.5500     17517.500

7.มหาวิทยาลัยเชียงใหม่     คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
คะแนน  18443.2000     17231.000

8.มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ     คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
คะแนน  18851.1500     16638.950

9.มหาวิทยาลัยศิลปากร     คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม สาขาวิชาวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์และระบบคอมพิวเตอร์
คะแนน  17528.6500     15422.100

10.มหาวิทยาลัยขอนแก่น     คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
คะแนน  18213.6000     15299.150

11.มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า (ไฟฟ้ากำลัง โทรคมนาคม คอมพิวเตอร์) คะแนน  18,006.2500    14,518.400

12.มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ วิทยาเขตกำแพงแสน
คะแนน  18,196.9500    14,313.650

13.มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
คะแนน  15,880.900      14,126.250

วันพุธที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2556


วิศวกรไทยกำลังวิกฤต

          คนในวิชาชีพวิศวกรรมกำลังผจญมรสุมไม่น้อย มีทั้งปัญหาภายในและภายนอก โดยที่คนนอกวงการไม่รู้เรื่องแต่ถ้าถามคนในวงการต่างยอมรับว่ามันเกิดวิกฤต ภาพลักษณ์จริงๆ เพราะเมื่อเกิดเหตุการณ์ตึกถล่ม ถนนทรุด สะพานพัง รวมไปถึงงานก่อสร้างโปรเจกต์ใหญ่ๆที่มีข่าวใหญ่โต ต่างก็พุ่งเป้าความผิดไปที่บรรดาวิศวกร
     จนมีการเรียกร้องให้ยกมาตรฐาน จัดระเบียบวิชาชีพวิศวกรขึ้นมาใหม่ เพราะเกรงว่า อนาคตวิศวกรไทยจะตกต่ำ !?!? ต้นเหตุมาจาก คุณภาพของวิศวกรไทยไร้คุณภาพอย่างนั้นหรือ...?  วิศวกรเยอะ แต่...
          “ตอนนี้วิศวะมีเยอะมาก เพราะมีการเปิดสอนกันมากขึ้น จึงเกรงกันว่า ปัญหาด้านคุณภาพจะตามมา หากไม่มีการควบคุมคุณภาพการศึกษา เพราะวิศวะสามารถสร้างชาติและทำลายชาติได้”รศ.ดร.ต่อตระกูล ยมนาค นายกสมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย (ว.ส.ท.)ให้ความเห็น
      
          เขาจะพูดเสมอบนเวทีสัมมนาในเรื่องวิศวกรรม เพราะต้องการยกระดับคนประกอบวิชาชีพนี้ให้ทัดเทียมกับอารยะประเทศ
“คุณลองไปดูสิงคโปร์มีวิศวกรร่วมมือกับนักวิทยาศาสตร์ คิดค้นสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆออกมา มากกว่าคนไทยสิบเท่าตัว ทั้งที่เรามีคนมากกว่า วิศวะต่อไปต้องเป็นนักคิด นักประดิษฐ์ ร่วมมือกับนักวิทยาศาสตร์ทำให้เกิดคุณค่ามากขึ้น ซึ่งจะช่วยเหลือเศรษฐกิจในภาพรวมได้”เขาระบุ
          หลายคนบอกว่า หากคุณไปเดินบนห้างสรรพสินค้าสักแห่ง คุณจะเจอคนมีอาชีพเป็นวิศวกร คละไปกับคนอื่น ขณะที่นักศึกษาด้านวิศวะก็จะพบเห็นได้ง่ายๆ ตามท้องถนน แตกต่างจากอดีตที่ ใครเรียนวิศวะ จนได้ปริญญาวิศวกรรมศาสตร์บัณฑิตจะถูกยกย่องว่า เป็นคนเก่ง มีความรู้ความสามารถ และแถบจะเจอได้น้อยมาก

นักศึกษาวิศวะพุ่งพรวด
          ขณะที่ศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รายงานปริมาณการผลิตวิศวกรของประเทศ โดยสำรวจทั้งทางตรงและข้อมูลที่เผยแพร่จากมหาวิทยาลัยทั่วประเทศจำนวน 75 แห่ง เป้นมหาวิทยาลัยของรัฐ 24 แห่ง และเอกชน 51 แห่ง พบว่า ขณะนี้ มีมหาวิทยาลัยที่เปิดสอนคณะวิศวกรรมศาสตร์จำนวน 43 แห่ง ในช่วงปี 2541-2545 การผลิตวิศวกรค่อนข้างจะทรงตัวอยู่ที่ 13,500-14,000 คนต่อปี แต่พอถึงปี 2546 –2550 พบว่า มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากประมาณการที่ 14,596 คนในปี 2546 เป็นจำนวน 20,360 คนในปี 2550 (ดูตาราง)
          สำหรับสาขาที่เพิ่มระหว่างปี 2546-2550 มากที่สุดได้แก่ สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ 124% รองลงมาเป็น สาขาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมและสาขาวิศวกรรมเครื่องกล 60%
          นั่นเป็นการเรียนการสอนจากมหาวิทยาลัยที่พุ่งเป้าสอนด้านวิศวกรรมศาสตร์โดย ตรงทั้งของรัฐและเอกชน โดยเฉพาะมหาสิทยาลัยเอกชน ต่างก็เปิดสอนสาขาวิศวกรรมศาสตร์กันมากขึ้น จึงทำให้ตัวเลขปริมาณการผลิตออกมาพุ่งทะยานสูงกว่าอดีตเมื่อ 5 ปีก่อน
จบคบช่างก็เป็นวิศวกรได้
          ไม่เพียงแต่วิศวกรที่จบจากการศึกษามาโดยตรงเท่านั้น แต่คุณสามารถจะพบเห็นคนที่ได้เป็นวิศวกร โดยที่ไม่ต้องเรียนจบวิศวกรรมศาสตร์เช่นกัน ซึ่งคนไทยส่วนใหญ่ยังไม่ทราบ
          ว่ากันว่า ขณะนี้มีวิศวกรไทยกว่า 1.3 แสนคน ในจำนวนนี้มีผู้จบคบ.หรือคุรุศาสตร์บัณฑิต ด้านช่างก็เป็นวิศวกรได้ นับหมื่นคนตามคำสั่งกระทรวงมหาดไทย สมัยพล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์ เป็นมท.1 ซึ่งช่วงนั้นเป็นเพราะวิศวกรไทยขาดแคลน จึงได้อนุญาตให้ผู้ที่จบด้านคุรุศาสตร์บัณฑิตด้านช่างต่างๆสามารถที่จะเป็น วิศวกรได้
          แต่พอสภาวิศวกรเกิดขึ้นปี 2542 จึงได้ออกกฎระเบียบใหม่ให้ผู้ที่ต้องการได้ภาคีวิศวกรจะต้องสอบมาตรฐานจน เกิดปัญหาฟ้องร้องกันขึ้นโดยกลุ่มคนจำนวนกว่า 800 คนได้ร้องศาลปกครอง หลังจากที่สภาวิศวกรออกกฏระเบียบการให้ใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพ วิศวกรรมควบคุม ระดับภาคีวิศวกร ต้องสอบขอใบอนุญาตดังกล่าว ซึ่งไปกระทบกับผู้สำเร็จการศึกษาด้านช่างที่ได้วุฒิคบ.แต่ไม่สามารถควบคุม งานได้ ทั้งที่ก่อนหน้าสามารถทำได้ เพราะได้สิทธิเทียบเท่าวิศวกรที่เรียนจบ วศ.บ.หรือวิศวกรรมศาสตร์บัณฑิต
          ปัญหานี้เกิดขึ้นเพราะผู้ที่จบคบ.ได้แค่ภาคีพิเศษเท่านั้น หมายถึงเป็นวิศวกรได้เช่นกัน แต่ไม่สามารถควบคุมงานทั้งระบบได้ จะทำได้ก็เฉพาะงานที่ตนเองถนัดและมีความชำนาญเท่านั้น อาทิ หากใครได้ภาคีพิเศษด้านก่อสร้างบ้านก็ได้คุมงานเฉพาะก่อสร้างบ้านเท่านั้น ไม่สามารถจะไปคุมก่อสร้างอาคารสูงได้ เรียกว่าทำได้จำกัด หากต้องการวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมก็ต้องไปสอบให้ได้ภาคีวิศวกร
          เมื่อสภาวิศวกรออกกฎระเบียบดังกล่าว โดยอ้างว่า เป็นไปตามพ.ร.บ.สภาวิศวกร ปี 2542 แต่ปรากฏว่าล่าสุดเมื่อวันที่ 16 พ.ค.48 ศาลปกครองได้วินิจฉัยแล้วว่า การออกกฎของสภาวิศวกรไม่ถูกต้อง จึงทำให้สภาวิศวกรยื่นอุทธรณ์ต่อศาลปกครอง
          ว่ากันว่า การประกาศของกระทรวงมหาดไทยสมัยเสธ.หนั่นยังไม่ได้ยกเลิกจึงอาจเป็นเหตุผล หนึ่งที่ทำให้สภาวิศวกรแพ้ก็เป็นได้ และการที่อยู่ๆก็ให้มีการสอบอาจจะถูกมองว่าเป้นการเลือกปฎิบัติ เพราะรุ่นก่อนๆไม่ต้องสอบ แต่ก็สามารถได้รับอนุญาต
          จากการสอบถามไปยัง ประสงค์ ธาราไชย เลขาธิการ สภาวิศวกร ในเรื่องดังกล่าว เขาระบุว่า เป็นเรื่องจริงที่สภาวิศวกรออกมาตรฐานการสอบเพื่อออกใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบ วิชาชีพวิศวกรรมควบคุม ระดับ ภาคีวิศวกร โดยเขาให้เหตุผลว่า เพื่อต้องการควบคุมคุณภาพวิศวกรและยกมาตรฐานวิชาชีพวิศวกร เพราะต้องรับผิดชอบต่อสังคม ผู้บริโภค อันเป็นไปตามกฎหมายในพ.ร.บ.สภาวิศวกร ปี 2542
          “การอุทธรณ์ของสภาวิศวกร เราได้ประกาศไว้แล้วว่า เป็นการยื่นตามปกติ หลังจากที่อัยการสูงสุดให้คำแนะนำมา คณะกรรมการสภาวิศวกรได้ประชุมวิสามัญ เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2548 ได้ตั้งคณะทำงานพิจารณาในเรื่องนี้ เพื่อให้เกิดความถูกต้อง ยุติธรรม โดยไม่มีการกีดกั้น หรือหวังผลแพ้ชนะแต่อย่างใด”
เขายังอธิบายอีกว่า การยกมาตรฐานวิศวกรเพื่อปกป้องผลประโยชน์สาธารณะ เป็นหน้าที่ของสภาวิศวกร
          “ทำยังไงเวลาไปทำงานให้ได้มาตรฐานไม่ให้เกิดผลเสียต่อสาธารณะ ซึ่งปกติผู้ที่จบช่างมาก็สามารถทำงานวิศวกรรมได้ ทำได้ทุกอย่าง ใครก็ทำได้ ช่างเทคนิคก็ทำได้ หากมีประสบการณ์ เพราะไม่ต้องควบคุม แต่ถ้าต้องการควบคุมก็ต้องไปสอบ”
       
      นอกจากนี้แล้วแนวทางของสภาวิศวกรก็คือ เน้นเรื่องจริยธรรมจรรยาบรรณผู้ประกอบวิชาชีพ ซึ่งมี 15 ข้อ มีข้อหนึ่งที่ระบุว่า วิศวกรจะไม่ทำงานในด้านที่ตนเองไม่ชำนาญ
          ผู้ที่ไม่ได้เรียนวิศวกรรมศาสตร์มาตั้งแต่ต้น หรือเรียนมาแต่ไม่ใช่ด้านวิศวกรรมแต่มีประสบการมีความชำนาญ จะได้ ภาคีพิเศษ หมายถึง มีความชำนาญเฉพาะเรื่อง ขณะที่ภาคีวิศวกรจะเน้นการเรียนวิศวกรรมศาสตร์ที่ครบสมบูรณ์ ซึ่งจะมีหลักวิชาการ ประสบการณ์และศาสตร์แขนงต่างๆที่สะสมมาตลอด 4-5 ปี
“แต่ทุกคนที่ต้องการภาคีวิศวกรจะต้องมาสอบ โดยไม่มียกเว้น”
 แต่เมื่อศาลปกครองมีคำพิพากษาออกมาก็คงต้องรอดูต่อไปว่า การอุทธรณ์จะฟังขึ้นหรือไม่
          สำหรับคอนเซ็ปท์ของสภาวิศวกร เลขาธิการฯบอกว่า มี 4 ข้อคือ คุ้มครอง ควบคุม ส่งเสริมและบริการ ซึ่งในมาตรา 7 ระบุวัตถุประสงค์ไว้ 3 ประการคือ
                    1.ส่งเสริมการศึกษา-ประกอบอาชีพ
                    2.ความเจริญก้าวหน้าทางวิศวกรรม
                    3.ช่วยเหลือสังคม

Credit http://www.4wengineering.com


 วิศวกรรมเคมี



1.มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี     คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิชาวิศวกรรมเคมี     คะแนน  20697.4000     19213.200


2.สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง     คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิชาวิศวกรรมเคมี
คะแนน  21704.9500     18905.10

3.มหาวิทยาลัยศิลปากร     คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม สาขาวิชาปิโตรเคมีและวัสดุพอลิเมอร์ 
คะแนน  20720.6500     18631.150

4.มหาวิทยาลัยมหิดล     คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิชาวิศวกรรมเคมี 
คะแนน  20329.1000     18507.950

5.มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน     คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิชาวิศวกรรมเคมี (ภาคพิเศษ) 
คะแนน  19492.7500     17890.000

6.มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์     คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิชาวิศวกรรมเคมี 
คะแนน  19990.1500     17325.00

7.มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี     คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิชาวิศวกรรมเคมี (หลักสูตรนานาชาติ) 
คะแนน  19368.8000     16831.950

8.มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ     คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิชาวิศวกรรมเคมี 
คะแนน  18369.4500     16754.90

9.มหาวิทยาลัยศิลปากร     คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม สาขาวิชาวิศวกรรมเคมี  
คะแนน  18475.7500     16403.850

10.มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ     คณะวิศวกรรมศาสตร์ หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วศ.บ. 4 ปี) สาขาวิชาวิศวกรรมเคมี  
คะแนน  17024.8000     15485.750
วิศวกรรมไฟฟ้า

1.สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง     คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า
คะแนน  21568.1500     19461.600

2.มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน     คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า     คะแนน  20666.9500     18544.65

3.มหาวิทยาลัยเชียงใหม่     คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า 
คะแนน  20686.1000     18318.50

4.มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี     คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า     คะแนน  19254.5000     18304.450

5.มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน     คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า (ภาคพิเศษ) 
คะแนน  18678.1500     17243.750

6.มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี     คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้าสื่อสารและอิเล็กทรอนิกส์ 
คะแนน  20201.8500     17198.600

7.มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์     คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า 
คะแนน  18498.6000     16682.05

8.มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ     คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า แขนงวิชาวิศวกรรมไฟฟ้ากำลังและควบคุมอัตโนมัติ 
คะแนน  19101.2500     16473.550

9.มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ     คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า แขนงวิชาวิศวกรรมโทรคมนาคม  
คะแนน  18667.8500     16323.750

10.มหาวิทยาลัยมหิดล     คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า+ไฟฟ้าสื่อสาร
คะแนน  19057.9500     16296.050

วิศวกรรมโยธา

1.มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน     คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา     คะแนน  20787.5000     18318.300

2. สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง     คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา 
คะแนน 19732.1500     18118.00

3.มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี     คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา     คะแนน  20554.8000     17752.000

4.มหาวิทยาลัยเชียงใหม่     คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา 
คะแนน  18652.6000     16939.000

5.มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ     คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา  
คะแนน  17737.7000     16277.35

6.มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน     คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา-ทรัพยากรน้ำ  
คะแนน  19422.8500     16259.050

7.มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์     คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา  
คะแนน  19294.6500     15984.75

8.มหาวิทยาลัยขอนแก่น     คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา  
คะแนน  18605.6000     15700.00

9.มหาวิทยาลัยมหิดล     คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา  
คะแนน  19514.7000     15185.70

10.มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี     คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา (หลักสูตรนานาชาติ)    
คะแนน  18115.0000     15144.650

วันอาทิตย์ที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2556

   


จัดอันดับมหาวิทยาลัยทางวิศวกรรมในประเทศไทย

คะแนนโดยภาพรวมๆของทั้งมหาวิทยาลัย (บางมหาวิทยาลัยแบ่งเป็นสาขา) และภาควิชาที่ดังของแต่ละมหาวิทยาลัย





อันดับ 1  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ภาควิชาที่ดังของที่นี่
วิศวกรรมปิโตรเลียม,วิศวกรรมเคมี,วิศวกรรมโลหะการ,วิศวกรรมไฟฟ้า

==>วิศวะจุฬา
สาขาที่ดังๆของที่นี่เกือบจะทุกสาขา แต่ที่โดดเด่นกว่าสถาบันอื่นก็คือ
วิศวกรรมปิโตรเลียม,วิศวกรรเคมี
แต่หลายภาควิชาก็ถือว่าเป็นภาควิชาที่ดีเกือบจะทุกภาควิชา ด้วยคะแนนอันสูงลิบลิ่ว
จุฬาจึงได้ชื่อว่ามีแต่หัวกระทิทั้งนั้น
และด้วยคะแนนสอบเข้าที่1ของประเทศเกือบทุกปีแทนที่จะเป็นแพทยศาสตร์แต่กลับเป็นคณะวิศวะของที่นี่




อันดับ2 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ภาควิชาที่ดังของที่นี่
วิศวกรรมคอมพิวเตอร์,วิศวกรรมเครื่องกล,วิศวกรรมอุตสาหการ,วิศวกรรมเคมี,วิศวกรรมการบิน

==>ส่วนของเกษตรฯ
ที่โดดเด่นและดังที่สุดทุกคนคงปฏิเสธไม่ได้ว่าคือทางด้านวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
ซึ่งโดดเด่นเป็นพิเศษ ชื่อเสียงที่ดังไปถึงระดับโลกแล้ว
ด้วยการชนะเลิศระดับเวิลด์แชมเยนชิพ
และที่อดพูดถึงไม่ได้ของเกษตรอีกภาควิชาหนึ่งก็คือวิศวกรรมเคมีซึ่งภาควิชานี้มีเกรดเลือกภาคเป็นอันดับ2รองภาคคอมพิวเตอร์
และเป็นภาควิชาที่มีอาจารย์ที่จบปริญญาเอก 100% และมีผลงานวิจัยที่โดดเด่น
คณะวิศวะที่นี่จึงเป็นที่น่าสนใจมากเลยทีเดียว
และอีกอย่างหนึ่งที่เป็นจุดเด่นของเกษตรคือเครื่องมือและอุปกรณ์ที่ทันสมัยนับว่าทันสมัยที่สุดในประเทศไทยขณะนี้
ด้วยคะแนนสอบเข้าเป็นอันดับ2รองจากจุฬาเท่านั้นแม้กระทั่งภาคพิเศษของที่นี่คะแนนก็สูงกว่าวิศวะของมหาวิทยาลัยรัฐบาลอีกหลายที่
จึงแสดงให้เห็นแล้วว่าเกษตรศาสตร์เป็นที่ยอมรับว่าเป็นสถาบันทางด้านวิศวกรรมอันดับต้นๆของประเทศเลยทีเดียว



อันดับ3 สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า เจ้าคุณทหารลาดกระบัง

ภาควิชาที่ดังของที่นี่
วิศวกรรมไฟฟ้า(กลุ่มไฟฟ้าทั้งหมด)
วิศวกรรมเคมี

==>ที่โดดเด่นที่สุดและนับว่าดังที่สุดในประเทศไทยก็เห็นจะเป็น
วิศวกรรมไฟฟ้า ที่นับว่าเป็นหน้าเป็นตาของที่นี่ แม้คะแนนสอบเข้าไม่สูงนัก
แต่ด้วยบุคคลากรที่มีคุณภาพทำให้ภาควิชานี้เป็นภาควิชาชั้นนำของประเทศ
อดพูดถึงไม่ได้อีกภาควิชาหนึ่งคือภาควิชาวิศวกรรมเคมี
ที่คะแนนสอบเข้าสูงลิบลิ่วพอๆกับของวิศวะฯม.เกษตร
ทำให้ภาควิชานี้เป็นที่น่าจับตามองเป็นอย่างมาก
ถึงแม้ผลงานทางวิชาการจะยังโดดเด่นน้อยกว่าของบางมดและเกษตรอยู่แต่ถือว่า ภาควิชานี้เป็นภาควิชาที่ดีภาควิชาหนึ่งแนะเป็นที่น่าสนใจอย่างมาก



อันดับ 4 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ธนบุรี
ภาควิชาที่ดังของที่นี่ วิศวกรรมโยธา วิศวกรรมเคมี
=>ถ้าพูดถึงบางมดแล้วในช่วงสมัยหลายปีก่อนทุกคนจะอดนึกถึงโยธาของที่ นี่ไม่ได้ ด้วยผลงานที่เป็นที่ประจักษ์ต่อสายตาบุคคลทั่วไป การคมนาคมต่างๆ วิศวกรของที่นี่เป็นแกนหลักๆและมีส่วนร่วมในโครงการใหญ่ๆมากมาย อีกภาควิชาหนึ่งก็คือวิศวกรรมเคมี ของที่นี่นับว่ามีชื่อเสียงที่สุดในขณะนี้ อาจเป็นเพราะบุคคลากรที่มีคุณภาพทางวิศวกรรมเคมีมากมายรวมตัวกันอยู่ที่นี่ จึงไม่น่าแปลกใจเลยว่าวิศวกรเคมีของที่นี่เป็นวิศวกรที่มีคุณภาพอันดับต้นๆ ของเมืองไทย และด้วยคะแนนสอบเข้าไม่สูงมากนัก บางมดเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของผู้ใฝ่ฝันจะเป็นวิศวกร


อันดับ 5 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า พระนครเหนือ
ภาควิชาที่ดังของที่นี่ วิศวกรรมเครื่องกล
=>ถ้าพูดถึงเรื่องหุ่นยนต์ และเครื่องกลแล้ว ทุกคนคงพูดเป็นเสียงเดียวกันว่าเครื่องกลของที่นี่โดดเด่นอย่างมากในระดับ โลก สามารถกวาดรางวัลในเวทีต่างๆมากมาย มีอาจารย์ที่มีคุณภาพทางด้านนี้เป็นอย่างมาก แม้คะแนนสอบเข้าไม่สูงจึงทำให้ที่นี่เป็นที่ที่น่าสนใจเป็นอย่างมากอีกทาง เลือกหนึ่งของคนที่อยากเป็นวิศวกร

    อีกทั้งยังมีมหาวิทยาลัยที่เก่าแก่และวิศวะที่เคยดังในอดีตมาช้านาน ปัจจุบันคณะวิศวะของที่นั่นก็ยังน่าสนใจอยู่ คือ ม.เชียงใหม่ ม.สงขลานครินทร์ และ ม.ขอนแก่น
สรุปโดยภาพรวมภาควิชาที่ดังแต่ละที่
วิศวกรรมคอมพิวเตอร์=>เกษตร
วิศวกรรมเคมี =>บางมด
วิศวกรรมไฟฟ้า สื่อสาร โทรคมนาคม=>ลาดกระบัง
วิศวกรรมปิโตรเลียม=>จุฬา
วิศวกรรมเครื่องกล=>พระนครเหนือ
วิศวกรรมโยธา=>บางมด
วิศวกรรมการบินและอวกาศ=>เกษตร
วิศวกรรมอุสาหการ=>เกษตร
วิศกรรมด้านวัสดุ โลหการ =>จุฬา
วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม=>เกษตร
ขอจบเพียงเท่านี้ครับ ขอให้น้องๆทุกคนโชคดีนะครับ ขอให้ติดมหาวิทยาลัยที่น้องอยากเรียนครับ สาธุ!

 Credit : Intania http://www.dek-d.com/board/view.php?id=1046521#ixzz12WrGjg6e
 



   
View My Blog
Subscribe to RSS Feed Follow me on Twitter!