วิศวกรรมกับภาษาอังกฤษ
ภาษาไทยทั้งสิ้น(ยกเว้นในวิชาภาษาอังกฤษนะ) แต่เมื่อก้าวเข้าสู่รั้วมหาวิทยาลัยแล้ว ยิ่งเป็นคณะวิศวกกรมศาสตร์แล้วด้วย ความรู้ในเบื้องลึกของบางวิชาตำราภาษาไทยไม่ค่อยจะมีออกมาให้อ่านหรอก จะมีก็แต่ที่เป็นวิชาพื้นฐานที่เรียนเหมือนๆกันหลายๆภาควิชาอย่างเช่น กลศาสตร์หรือการสั่นสะเทือนทางกล ถ้าถ้าเป็นวิชาที่ลึกลงไปในรายละเอียดของแต่ละภาควิชาแล้ว น้อยเล่มมากที่จะมีอาจารย์คนไทยแปลออกมาเป็นภาษาไทยให้เราเข้าใจได้โดยง่ายเหมือนสมัยที่เรียนมัธยม ดังนั้น textbooks หรือตำราภาษาอังกฤษเล่มหนาๆจึงเป็นคำตอบสุดท้าย ในห้องสมุดที่เหล่านิสิตนักศึกษาไปค้นหาข้อมูลก็จะมีหนังสือตำราภาษาอังกฤษซะเป็นส่วนใหญ่ บางครั้งก็หอบกันออกมาเป็นตั้งๆมันก็จำเป็นต้องอ่าน ไม่อย่างนั้นก็จะไม่รู้ว่าจะไปอ่านที่ไหน บางวิชาที่มีอาจารย์ต่างประเทศมาสอนยิ่งแล้วใหญ่ ถ้าผู้เรียนไม่มีความสามารถทางด้านภาษาอังกฤษก็คงจะเรียนไม่รู้เรื่องเลย ครั้นจะให้อาจารย์ต่างประเทศสอนเป็นภาษาไทยก็คงไม่ใช่เหตุ และก็แน่นอนว่าข้อสอบย่อยก็เป็นภาษาอังกฤษ แถมต้องตอบโดยการบรรยายเป็นภาษาอังกฤษอีก
ดังนั้นถึงแม้ว่าจะมีความสามารถในการคำนวนขนาดไหน สามารถอธิบายฟิสิกส์ได้เป็นฉากๆ แต่พอเจอชาวต่างชาติถามเส้นทางก็อยากหาวิธีหลบหนีหน้าแบบนี้ก็มีหวังไม่รอดกับสายวิศวะเหมือนกัน เพราะภาษาอังกฤษไม่ได้มีผลแต่ตอนเรียนเท่านั้นนะครับ บริษัทที่จะรับว่าที่วิศวกรเข้าทำงานก็ต้องการที่จะหาบุคลากรที่มีความสามารถทางภาษาทั้งนั้น ยิ่งถ้าหวังจะไปทำงานกับบริษัทต่างชาติที่ได้เงินเดือนดีๆแล้วล่ะก็ท่องไว้ได้เลยว่าภาษาอังกฤษสำคัญมากๆ ไม่ว่าจะเป็นการสื่อสารกับพนักงานต่างชาติท่านอื่นๆ หรือการเขียนเอกสารต่างๆ ล้วนแล้วแต่ต้องใช้ภาษาอังกฤษทั้งนั้น ดังนั้นใครที่กำลังเข้าใจผิดว่า "ภาษาอังกฤษไม่สำคัญ เอาวิชาคำนวนไว้ก่อน"ก็เปลี่ยนความคิดเสียตั้งแต่ตอนนี้ได้เลยครับ
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น