วันพุธที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2556


วิศวกรไทยกำลังวิกฤต

          คนในวิชาชีพวิศวกรรมกำลังผจญมรสุมไม่น้อย มีทั้งปัญหาภายในและภายนอก โดยที่คนนอกวงการไม่รู้เรื่องแต่ถ้าถามคนในวงการต่างยอมรับว่ามันเกิดวิกฤต ภาพลักษณ์จริงๆ เพราะเมื่อเกิดเหตุการณ์ตึกถล่ม ถนนทรุด สะพานพัง รวมไปถึงงานก่อสร้างโปรเจกต์ใหญ่ๆที่มีข่าวใหญ่โต ต่างก็พุ่งเป้าความผิดไปที่บรรดาวิศวกร
     จนมีการเรียกร้องให้ยกมาตรฐาน จัดระเบียบวิชาชีพวิศวกรขึ้นมาใหม่ เพราะเกรงว่า อนาคตวิศวกรไทยจะตกต่ำ !?!? ต้นเหตุมาจาก คุณภาพของวิศวกรไทยไร้คุณภาพอย่างนั้นหรือ...?  วิศวกรเยอะ แต่...
          “ตอนนี้วิศวะมีเยอะมาก เพราะมีการเปิดสอนกันมากขึ้น จึงเกรงกันว่า ปัญหาด้านคุณภาพจะตามมา หากไม่มีการควบคุมคุณภาพการศึกษา เพราะวิศวะสามารถสร้างชาติและทำลายชาติได้”รศ.ดร.ต่อตระกูล ยมนาค นายกสมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย (ว.ส.ท.)ให้ความเห็น
      
          เขาจะพูดเสมอบนเวทีสัมมนาในเรื่องวิศวกรรม เพราะต้องการยกระดับคนประกอบวิชาชีพนี้ให้ทัดเทียมกับอารยะประเทศ
“คุณลองไปดูสิงคโปร์มีวิศวกรร่วมมือกับนักวิทยาศาสตร์ คิดค้นสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆออกมา มากกว่าคนไทยสิบเท่าตัว ทั้งที่เรามีคนมากกว่า วิศวะต่อไปต้องเป็นนักคิด นักประดิษฐ์ ร่วมมือกับนักวิทยาศาสตร์ทำให้เกิดคุณค่ามากขึ้น ซึ่งจะช่วยเหลือเศรษฐกิจในภาพรวมได้”เขาระบุ
          หลายคนบอกว่า หากคุณไปเดินบนห้างสรรพสินค้าสักแห่ง คุณจะเจอคนมีอาชีพเป็นวิศวกร คละไปกับคนอื่น ขณะที่นักศึกษาด้านวิศวะก็จะพบเห็นได้ง่ายๆ ตามท้องถนน แตกต่างจากอดีตที่ ใครเรียนวิศวะ จนได้ปริญญาวิศวกรรมศาสตร์บัณฑิตจะถูกยกย่องว่า เป็นคนเก่ง มีความรู้ความสามารถ และแถบจะเจอได้น้อยมาก

นักศึกษาวิศวะพุ่งพรวด
          ขณะที่ศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รายงานปริมาณการผลิตวิศวกรของประเทศ โดยสำรวจทั้งทางตรงและข้อมูลที่เผยแพร่จากมหาวิทยาลัยทั่วประเทศจำนวน 75 แห่ง เป้นมหาวิทยาลัยของรัฐ 24 แห่ง และเอกชน 51 แห่ง พบว่า ขณะนี้ มีมหาวิทยาลัยที่เปิดสอนคณะวิศวกรรมศาสตร์จำนวน 43 แห่ง ในช่วงปี 2541-2545 การผลิตวิศวกรค่อนข้างจะทรงตัวอยู่ที่ 13,500-14,000 คนต่อปี แต่พอถึงปี 2546 –2550 พบว่า มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากประมาณการที่ 14,596 คนในปี 2546 เป็นจำนวน 20,360 คนในปี 2550 (ดูตาราง)
          สำหรับสาขาที่เพิ่มระหว่างปี 2546-2550 มากที่สุดได้แก่ สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ 124% รองลงมาเป็น สาขาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมและสาขาวิศวกรรมเครื่องกล 60%
          นั่นเป็นการเรียนการสอนจากมหาวิทยาลัยที่พุ่งเป้าสอนด้านวิศวกรรมศาสตร์โดย ตรงทั้งของรัฐและเอกชน โดยเฉพาะมหาสิทยาลัยเอกชน ต่างก็เปิดสอนสาขาวิศวกรรมศาสตร์กันมากขึ้น จึงทำให้ตัวเลขปริมาณการผลิตออกมาพุ่งทะยานสูงกว่าอดีตเมื่อ 5 ปีก่อน
จบคบช่างก็เป็นวิศวกรได้
          ไม่เพียงแต่วิศวกรที่จบจากการศึกษามาโดยตรงเท่านั้น แต่คุณสามารถจะพบเห็นคนที่ได้เป็นวิศวกร โดยที่ไม่ต้องเรียนจบวิศวกรรมศาสตร์เช่นกัน ซึ่งคนไทยส่วนใหญ่ยังไม่ทราบ
          ว่ากันว่า ขณะนี้มีวิศวกรไทยกว่า 1.3 แสนคน ในจำนวนนี้มีผู้จบคบ.หรือคุรุศาสตร์บัณฑิต ด้านช่างก็เป็นวิศวกรได้ นับหมื่นคนตามคำสั่งกระทรวงมหาดไทย สมัยพล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์ เป็นมท.1 ซึ่งช่วงนั้นเป็นเพราะวิศวกรไทยขาดแคลน จึงได้อนุญาตให้ผู้ที่จบด้านคุรุศาสตร์บัณฑิตด้านช่างต่างๆสามารถที่จะเป็น วิศวกรได้
          แต่พอสภาวิศวกรเกิดขึ้นปี 2542 จึงได้ออกกฎระเบียบใหม่ให้ผู้ที่ต้องการได้ภาคีวิศวกรจะต้องสอบมาตรฐานจน เกิดปัญหาฟ้องร้องกันขึ้นโดยกลุ่มคนจำนวนกว่า 800 คนได้ร้องศาลปกครอง หลังจากที่สภาวิศวกรออกกฏระเบียบการให้ใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพ วิศวกรรมควบคุม ระดับภาคีวิศวกร ต้องสอบขอใบอนุญาตดังกล่าว ซึ่งไปกระทบกับผู้สำเร็จการศึกษาด้านช่างที่ได้วุฒิคบ.แต่ไม่สามารถควบคุม งานได้ ทั้งที่ก่อนหน้าสามารถทำได้ เพราะได้สิทธิเทียบเท่าวิศวกรที่เรียนจบ วศ.บ.หรือวิศวกรรมศาสตร์บัณฑิต
          ปัญหานี้เกิดขึ้นเพราะผู้ที่จบคบ.ได้แค่ภาคีพิเศษเท่านั้น หมายถึงเป็นวิศวกรได้เช่นกัน แต่ไม่สามารถควบคุมงานทั้งระบบได้ จะทำได้ก็เฉพาะงานที่ตนเองถนัดและมีความชำนาญเท่านั้น อาทิ หากใครได้ภาคีพิเศษด้านก่อสร้างบ้านก็ได้คุมงานเฉพาะก่อสร้างบ้านเท่านั้น ไม่สามารถจะไปคุมก่อสร้างอาคารสูงได้ เรียกว่าทำได้จำกัด หากต้องการวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมก็ต้องไปสอบให้ได้ภาคีวิศวกร
          เมื่อสภาวิศวกรออกกฎระเบียบดังกล่าว โดยอ้างว่า เป็นไปตามพ.ร.บ.สภาวิศวกร ปี 2542 แต่ปรากฏว่าล่าสุดเมื่อวันที่ 16 พ.ค.48 ศาลปกครองได้วินิจฉัยแล้วว่า การออกกฎของสภาวิศวกรไม่ถูกต้อง จึงทำให้สภาวิศวกรยื่นอุทธรณ์ต่อศาลปกครอง
          ว่ากันว่า การประกาศของกระทรวงมหาดไทยสมัยเสธ.หนั่นยังไม่ได้ยกเลิกจึงอาจเป็นเหตุผล หนึ่งที่ทำให้สภาวิศวกรแพ้ก็เป็นได้ และการที่อยู่ๆก็ให้มีการสอบอาจจะถูกมองว่าเป้นการเลือกปฎิบัติ เพราะรุ่นก่อนๆไม่ต้องสอบ แต่ก็สามารถได้รับอนุญาต
          จากการสอบถามไปยัง ประสงค์ ธาราไชย เลขาธิการ สภาวิศวกร ในเรื่องดังกล่าว เขาระบุว่า เป็นเรื่องจริงที่สภาวิศวกรออกมาตรฐานการสอบเพื่อออกใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบ วิชาชีพวิศวกรรมควบคุม ระดับ ภาคีวิศวกร โดยเขาให้เหตุผลว่า เพื่อต้องการควบคุมคุณภาพวิศวกรและยกมาตรฐานวิชาชีพวิศวกร เพราะต้องรับผิดชอบต่อสังคม ผู้บริโภค อันเป็นไปตามกฎหมายในพ.ร.บ.สภาวิศวกร ปี 2542
          “การอุทธรณ์ของสภาวิศวกร เราได้ประกาศไว้แล้วว่า เป็นการยื่นตามปกติ หลังจากที่อัยการสูงสุดให้คำแนะนำมา คณะกรรมการสภาวิศวกรได้ประชุมวิสามัญ เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2548 ได้ตั้งคณะทำงานพิจารณาในเรื่องนี้ เพื่อให้เกิดความถูกต้อง ยุติธรรม โดยไม่มีการกีดกั้น หรือหวังผลแพ้ชนะแต่อย่างใด”
เขายังอธิบายอีกว่า การยกมาตรฐานวิศวกรเพื่อปกป้องผลประโยชน์สาธารณะ เป็นหน้าที่ของสภาวิศวกร
          “ทำยังไงเวลาไปทำงานให้ได้มาตรฐานไม่ให้เกิดผลเสียต่อสาธารณะ ซึ่งปกติผู้ที่จบช่างมาก็สามารถทำงานวิศวกรรมได้ ทำได้ทุกอย่าง ใครก็ทำได้ ช่างเทคนิคก็ทำได้ หากมีประสบการณ์ เพราะไม่ต้องควบคุม แต่ถ้าต้องการควบคุมก็ต้องไปสอบ”
       
      นอกจากนี้แล้วแนวทางของสภาวิศวกรก็คือ เน้นเรื่องจริยธรรมจรรยาบรรณผู้ประกอบวิชาชีพ ซึ่งมี 15 ข้อ มีข้อหนึ่งที่ระบุว่า วิศวกรจะไม่ทำงานในด้านที่ตนเองไม่ชำนาญ
          ผู้ที่ไม่ได้เรียนวิศวกรรมศาสตร์มาตั้งแต่ต้น หรือเรียนมาแต่ไม่ใช่ด้านวิศวกรรมแต่มีประสบการมีความชำนาญ จะได้ ภาคีพิเศษ หมายถึง มีความชำนาญเฉพาะเรื่อง ขณะที่ภาคีวิศวกรจะเน้นการเรียนวิศวกรรมศาสตร์ที่ครบสมบูรณ์ ซึ่งจะมีหลักวิชาการ ประสบการณ์และศาสตร์แขนงต่างๆที่สะสมมาตลอด 4-5 ปี
“แต่ทุกคนที่ต้องการภาคีวิศวกรจะต้องมาสอบ โดยไม่มียกเว้น”
 แต่เมื่อศาลปกครองมีคำพิพากษาออกมาก็คงต้องรอดูต่อไปว่า การอุทธรณ์จะฟังขึ้นหรือไม่
          สำหรับคอนเซ็ปท์ของสภาวิศวกร เลขาธิการฯบอกว่า มี 4 ข้อคือ คุ้มครอง ควบคุม ส่งเสริมและบริการ ซึ่งในมาตรา 7 ระบุวัตถุประสงค์ไว้ 3 ประการคือ
                    1.ส่งเสริมการศึกษา-ประกอบอาชีพ
                    2.ความเจริญก้าวหน้าทางวิศวกรรม
                    3.ช่วยเหลือสังคม

Credit http://www.4wengineering.com

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

View My Blog
Subscribe to RSS Feed Follow me on Twitter!