Continuing Professional Development
สภาวิศวกรได้ดำเนินโครงการโครงการพัฒนาวิชาชีพวิศวกรรมอย่างต่อเนื่องหรือ CPD ย่อมาจาก Continuing Professional Development หรือ การพัฒนาวิชาชีพวิศวกรรมอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ทันเทคโนโลยีและความรู้ใหม่ที่เกิดขึ้น
วัตถุประสงค์ของ CPD ก็คือ 1.เพื่อให้วิศวกรมีการปรับปรุงทั้งคุณภาพ และประสิทธิภาพในการทำงานให้อยู่ในระดับสูง 2.เพื่อรักษามาตรฐานในการประกอบวิชาชีพ 3.เพื่อให้เป็นที่ยอมรับในสากลและการแข่งขันของตลาดงานในอนาคต
สำหรับการทำกิจกรรม CPD ของประเทศโดยรวมคือ ทำกิจกรรมเพื่อมุ่งปรับปรุงหรือเพิ่มคุณภาพในสิ่งที่วิศวกรโดยรวมทั้งประเทศ มีจุดอ่อน และทิศทางดังกล่าวอาจจะต้องมีการกำหนดเป็นระยะเวลาและเปลี่ยนแปลงได้ เช่น ถ้าวิศวกรในประเทศโดยเฉลี่ยมีปัญหาเรื่องภาษาก็ต้องกำหนดให้ภาษาเป็นหนึ่งใน ทิศทางที่ต้องสนับสนุนให้มี หรือทำกิจกรรม CPD เป็นต้น
ทั้งนี้สภาวิศวกรจะประเมินทิศทางของกิจกรรมที่ควรสนับสนุนระยะเวลา 2 ปี เริ่มช่วงแรก ปี พ.ศ. 2549 - 2550 ทั้งหมด 5 รายการดังนี้ 1.ความปลอดภัย 2.มาตรฐาน 3.พื้นฐานและการพัฒนาวิศวกรรม 4.คอมพิวเตอร์ 5.ภาษา
ปัญหาภายนอกรุมเร้า มหา’ลัยแย่งงาน
ปัญหาภายนอกรุมเร้า มหา’ลัยแย่งงาน
ไม่เพียงแต่ปัญหาภายในแวดวงวิศวกรปะทุขึ้นมาเท่านั้น แต่ปัญหาภายนอกก็รุมเร้าไม่แพ้กัน นั่นก็คือ การแข่งขันชิงงานกันระหว่างสถาบันการศึกษากับคนในวงการวิชาชีพ ซึ่งปัญหาดังกล่าวได้ก่อตัวขึ้นมาตั้งแต่ รัฐบาลมีนโยบายมหาวิทยาลัยออกจากนอกระบบ ทำให้มหาวิทยาลัยต้องหาเลี้ยงตนเอง ซึ่งปรากฏว่า งานที่ปรึกษาด้านวิศวกรรมมักจะถูกองค์กรมหาวิทยาลัยคว้างานไปเกือบหมด โดยที่บริษัทเอกชนหมดสิทธิ์แข่งขัน
ว่ากันว่า ปัญหานี้เกิดขึ้นจากภาครัฐและรัฐบาลเองที่ต้องการเอาชื่อมหาวิทยาลัยไป การันตี จึงพบเห็นบ่อยครั้งที่รัฐมนตรีมักจะเรียกให้สถาบันการศึกษาไปรับงาน ไม่ว่าจะเป็นงานที่ปรึกษาก่อสร้าง งานสำรวจพื้นที่ งานทดสอบระบบ ต่างๆเป็นต้น
“ตอนนี้วิชาการกับวิชาชีพกำลังทับซ้อนกันอย่างมาก ไม่มีใครห้ามไม่ให้อาจารย์มหาวิทยาลัยไปทำงานวิจัย ไปทำกับองค์กรเอกชน เพราะการไปทำจะได้นำข้อมูล องค์ความรู้ใหม่ๆมาสอนนักศึกษา ทุกคนสนับสนุน แต่ไม่ควรที่จะเอาสถาบันไปรับงาน เนื่องจากคนอื่นแข่งขันไม่ได้ อีกทั้งสถาบันการศึกษาก็ไม่ได้ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ”แหล่งข่าว ในวงการ เล่าถึงปัญหารุมเร้าวิศวกร
e-Auction ทำลายรับเหมา
e-Auction ทำลายรับเหมา
นอกจากนี้ยังมีกรณีล่าสุดที่คนในวงการวิศวกรเห็นว่า เป็นตัวทำลายระบบประมูลโดยเฉพาะวงการรับเหมาก่อสร้างจะได้รับผลกระทบมากสุด หลังจากที่รัฐบาลมีนโยบายสั่งให้การประมูลงานตั้งแต่ 2 ล้านบาทขึ้นไปจะต้องประมูลด้วยวิธี e-Auction ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต
นอกจากนี้แล้ว เขายังกังวลการประมูลโครงการเมกะโปรเจกต์ของรัฐบาลมูลค่า 1.77 ล้านล้านบาท ว่าอาจจะอยู่ในมือยักษ์ใหญ่รับเหมาก่อสร้างเท่านั้น ไม่ได้กระจายไปยังผู้รับเหมารายกลาง รายเล็ก ซึ่งทำให้ต้องดิ้นรนไปหางานในต่างประเทศ อาทิ การ์ต้า ปากีสถาน ประเทศเพื่อนบ้าน อาทิ ลาว กัมพูชา เวียดนาม
“รายใหญ่มีโอกาสได้มากกว่า เพราะมีผลงานก่อสร้างมาแล้ว รายกลาง รายเล็กหมดโอกาส และยิ่งจะให้ไปซับคอนแทกซ์ ก็ไม่มีใครต้องการ เพราะจะถูกตัดราคาจากบริษัทที่ได้งานประมูลลงไปอีก จนเหลือแต่กระดูก จึงไม่มีใครเอา ตอนนี้วงการรับเหมาไทยมีปัญหามาก”นายกฯว.ส.ท.กล่าว
เขายังมองว่า การเกิดขึ้นของเมกะโปรเจกต์ควรที่จะให้เกิดประโยชน์ด้วย ไม่ใช่ต้องการแค่เกิดการจ้างงานอย่างเดียว ควรจะเอาข้อมูลมาดูกันว่า ได้ประโยชน์อย่างไร เมื่อโครงการเริ่มแล้วก็คงจะไม่มีใครต่อต้านได้ แต่ต้องรับกับปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต
แฉการเมือง-การศึกษา ต้นเหตุวิศวกรด้อยคุณภาพ!
ถึงจุดเสื่อมหนักวงการวิศวกรรม แจงการเมือง-การศึกษาผิดพลาด ทำมาตรฐานคุณภาพวิศวกรตกต่ำ แม้ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพชั้นต้นก็ไม่อาจการันตี เตือนผู้จ้างระวังจ้างวิศวกรสร้างบ้าน-อาคารสูง และงานทาง มือไม่ถึง เสี่ยงพัง อันตรายถึงชีวิต
ยุคสมัยที่เปลี่ยนไปทำให้คนที่คิดจะสร้างสิ่งปลูกสร้างตั้งแต่ระดับเล็ก อย่างบ้านเรือนไปจนถึงอาคารสูงเทียมฟ้าพร้อมจ่ายในราคาสูงกว่าเพื่อจ้าง วิศวกรมาควบคุมการก่อสร้าง เพราะต้องการทั้งความทันสมัย และความปลอดภัย และยังมีเรื่องของกฎหมายเข้ามาเกี่ยวข้อง ซึ่งที่ผ่านมาในการจ้างวิศวกรนั้นเราอาศัยใบประกอบวิชาชีพวิศวกรรมมาเป็นตัว การันตีคุณภาพของวิศวกรนั้น ๆ แต่วันนี้จะคิดแค่นั้นไม่ได้แล้ว ปัญหาสำคัญที่สุดที่เรามิอาจมองข้ามได้คือเรื่องของความผิดพลาดในนโยบายการ เมืองและระบบการศึกษา ที่ส่งผลโดยตรงกับการฉุดมาตรฐานคุณภาพวิศวกรลง!?
แหล่งข่าวในแวดวงวิศวกรรมกล่าวว่า การเรียนการสอนวิศวกรมี 2 ระดับด้วยกัน คือเรียนในระดับมหาวิทยาลัยที่มุ่งมาเป็นวิศวกรโดยตรง จบแล้วได้วุฒิ วศ.บ.(วิศวกรรมศาสตร์บัณฑิต)กับการเรียนในระดับวิทยาลัย ที่จบแล้วจะได้วุฒิ คอ.บ. (ครุศาสตร์อุตสาหกรรมบัณฑิต) และอศ.บ.(อุตสาหกรรมศาสตร์บัณฑิต)ที่จบมาเป็นครูช่าง แต่เดิมใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรมนั้นคนที่มีสิทธิ์ได้มีเพียงผู้ที่จบ ได้วุฒิ วศ.บ.เท่านั้น
แต่ในช่วงที่ผ่านมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงยุคฟองสบู่โต ธุรกิจก่อสร้างบูม ประเทศไทยประสบปัญหาวิศวกรขาดแคลนอย่างหนัก ทำให้ฝ่ายการเมืองตัดสินใจเปิดช่องให้ผู้ที่จบ คอ.บ. และอศ.บ.สามารถได้ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพได้โดยไม่ต้องสอบ นั่นเป็นจุดเริ่มต้นของปัญหาสำคัญ
“การประกอบวิชาชีพวิศวกรรม มันคนละเรื่องกับการเรียนวิชาชีพ มันต้องอาศัยความชำนาญ และการเรียนการสอนแบบเต็มรูปแบบ ทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ แต่คนที่เรียนจบครูช่างมาจะเรียนวิชาวิศวกรรมแค่ 7 ตัว ใช้เวลาเรียนเพียง 1 เทอม แต่ก็ไปประกอบอาชีพวิศวกรรม ขณะที่คนที่เรียนในระดับมหาวิทยาลัยเขาต้องเรียนถึง 4 ปี คุณภาพของเด็กจึงไม่เท่ากัน”
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น