วันพุธที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2556

รายละเอียดสาขาวิชาต่างๆของคณะวิศวกรรมศาสตร์


 วิศวกรรมไฟฟ้า

     สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า เรียนเกี่ยวกับกระบวนการในการกำเนิด ถ่ายเท และแจกจ่ายพลังงานไฟฟ้าแรงสูง จากผู้ผลิตไฟฟ้าไปยังผู้บริโภค งานของวิศวกรไฟฟ้ากำลังจะเป็นงานเกี่ยวกับการพัฒนาวิธีการในการใช้ประโยชน์ จากพลังงานไฟฟ้า เช่น การจัดการพลังงานไฟฟ้าอย่างมีประสิทธิภาพ และพัฒนาการใช้ระบบไฟฟ้าให้มีเสถียรภาพและน่าเชื่อถือ เป็นต้น ในสาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้ากำลัง ได้ศึกษาเกี่ยวกับกระบวนการผลิตและการส่งจ่ายกำลังไฟฟ้า รวมไปถึงการแปรรูปพลังงานอย่างมีประสิทธิภาพทั้งในภาคอุตสาหกรรม การคมนาคมขนส่ง รวมทั้งอาคารหรือสิ่งปลูกสร้างต่างๆ โดยใช้เทคโนโลยีทางวิศวกรรมไฟฟ้า, อิเล็กทรอนิกส์, คอมพิวเตอร์ และระบบสารสนเทศ ซึ่งสามารถตอบสนองความต้องการของตลาดแรงงานในปัจจุบันและอนาคต รวมทั้งการจัดการพลังงานและสิ่งแวดล้อม วิศวกรไฟฟ้าจะมีการจำลองระบบที่เรามองไม่เห็นให้เป็นระบบที่เราสามารถจะ คำนวณได้ ออกแบบได้ ทำงานร่วมกับมันได้ ถ้าตราบใดที่มนุษย์ยังอยู่บนโลก ไฟฟ้าเป็นศาสตร์ที่มนุษย์ยังคงต้องใช้กับมันตั้งแต่เกิดจนตาย


วิศวกรรมพลังงานไฟฟ้า


     มุ่งเน้นการพัฒนาทางพลังงานโดยเฉพาะพลังงานไฟฟ้า เน้นการพัฒนาแบบยั่งยืนอยู่บนพื้นฐานตามทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียง และตอบสนองต่อความต้องการทางสังคมและอุตสาหกรรม รองรับเทคโนโลยีสมัยใหม่ และการจัดการ บริหารพลังงานให้เกิดประสิทธิภาพอย่างสูงสุด การใช้พลังงานหมุนเวียน และพลังงานทดแทน โดยการพิจารณาทางเลือกของการใช้พลังงาน เราจำเป็นต้องพิจารณาปัจจัยหลัก 3 ประการณ์ประกอบกัน ได้แก่ เศรษฐกิจ, แหล่งพลังงาน และสิ่งแวดล้อม ปัจจัยทั้ง 3 ประการจำเป็นจะต้องไปด้วยกันได้อย่างเหมาะสม ซึ่งสาขาพลังงานไฟฟ้านี้จะนำองค์ความรู้ทางด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์รวม ถึงต้องสามารถประยุกต์ความรู้ด้านเทคโนโลยีวิศวกรรมต่างๆเข้าด้วยกันเพื่อ บูรณาการเป็นองค์ความรู้ ทางด้านวิศวกรรมพลังงาน พูดง่ายๆก็คือเรียนเพื่อนำเอาไฟฟ้าไปใช้งานให้เกิดประโยชน์สูงสุดครับ


วิศวกรรมโทรคมนาคม

     เรียนสั้นๆว่า ภาคโทร ครับ จะเรียนเกี่ยวกับการสื่อสารทั้งหมด ซึ่งอาจแบ่งได้เป็นสองประเภทใหญ่ๆ ได้แก่ การสื่อสารที่เชื่อมต่อด้วยสาย (Wired) เช่น โครงข่ายโทรศัพท์พื้นฐาน โครงข่ายโทรเลข เป็นต้น และการสื่อสารที่เชื่อมต่อแบบไร้สาย (Wireless) เช่น โครงข่ายโทรศัพท์มือถือ โครงข่ายดาวเทียม ทีวีดิจิตอล เป็นต้น วิศวกรโทรคมนาคมส่วนใหญ่มักจำเป็นต้องเชี่ยวชาญงานหลายๆ ด้านทั้งงานอิเล็กทรอนิกส์ งานไฟฟ้ากำลัง งานคอมพิวเตอร์ งานสายอากาศและคุณสมบัติคลื่น ลักษณะของงาน ได้แก่ การออกแบบระบบอุปกรณ์ และส่วนประกอบต่างๆ การก่อสร้าง การติดตั้ง การทดสอบ และควบคุมการใช้ การบำรุงรักษาระบบขนาดใหญ่ เช่น สถานีวิทยุกระจายเสียง สถานีรับคลื่นดาวเทียม ปฏิบัติงานอื่นๆ เช่นเดียวกับวิศวกรไฟฟ้าทั่วไป แต่ชำนาญงานทางระบบและอุปกรณ์โทรคมนาคม เช่น ระบบและอุปกรณ์ โทรศัพท์ และโทรเลขประเภทใช้สายหรือใช้คลื่นวิทยุ เป็นต้น




CR:http://unigang.com/Article/5583

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

View My Blog
Subscribe to RSS Feed Follow me on Twitter!