Biomedical Engineering
วิศวกรรมชีวการแพทย์เป็นสาขาที่เปิดกว้างสำหรับผู้ความคิดสร้างสรรค์ใหม่ๆ ที่พร้อมจะประยุกต์มาใช้งานจริงให้เกิดประโยชน์และมีคุณค่า โดยที่นักศึกษาจะสามารถเลือกสิ่งที่ตนถนัดมาใช้ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการศึกษาและทำงาน แต่ก็ต้องยอมรับนะคะว่าสาขานี้ยังใหม่มากในประเทศไทย
มีน้องๆถามเข้ามาเสมอเลยว่า ยากไหมคะ? ขอบอกเลยนะคะว่ายาก เพราะต้องรู้หลายๆด้าน มีความรู้แค่มุมใดมุมหนึ่งก็สร้างเครื่องมือได้ไม่มีประสิทธิภาพ ถ้าน้องๆคนไหนที่อยากจะสร้างเครื่องมือเป็นของตัวเอง หรือวิจัยการรักษาใหม่ๆแล้ว ก็ต้องทุ่มเทและให้เวลากับมันจริงๆ ถ้าใครยังไม่เทใจให้กับศาสตร์นี้เต็มร้อยล่ะก็ พี่แนะนำให้ไปเรียนวิศวกรรมสาขาอื่นที่สนใจ หรือเรียนคณะทางด้านการแพทย์และสาธารณสุขก่อนก็ได้ค่ะ ลองดูว่าอะไรคือสิ่งที่ตัวเองสนใจนะคะ
วิชาที่เรียน ที่แน่นอนว่าจะต้องไม่ธรรมดา เป็นวิศวะ ชีวการแพทย์ ก็ต้องเรียนวิศวะ เสริมด้วยชีวะ และเรื่องการแพทย์แน่ๆ
. . เรื่องราวของชาววิศวะเลยโดนจับโยงเข้าสู่ร่างกายตัวเอง . .
อย่างเช่น การหาความต้านทานไฟฟ้าของร่างกายมนุษย์ หาความต่างศักย์ในเซลล์ การศึกษาของไหลในเส้นเลือดของคน ฟิสิกส์ที่หาแรงตึงเชือกกัน เราก็มาหาแรงที่กล้ามเนื้อมัดนี้มัดนั้นออกแรงในการยกของ เป็นต้น แต่ว่าพื้นฐานก็ต้องเรียนเหมือนๆกันนะคะ เพียงแต่การประยุกต์ใช้งานจะต่างกัน การเรียนของเรานั้นได้รับความร่วมมือจากหลายคณะของมหาวิทยาลัยมหิดลหลักๆก็จะเป็นคณะวิทยาศาสตร์ ในเรื่องการเรียนการสอนวิชาพื้นฐาน และการทดลองคณะแพทยศาสตร์(ที่มหิดลมีหมอถึง 3 คณะ คือ ศิริราช รามา วชิระ และ 4 สถาบันร่วมของ พระบรมราชชนก) ในเรื่องของข้อมูลเชิงการรักษา การปรึกษาเนื่องจากหมอเป็นผู้ใช้เครื่องมือจริงในการปฏิบัติงาน และคำแนะนำเกี่ยวกับคนไข้
คณะสัตวแพทยศาสคร์ เกี่ยวกับสัตว์ทดลองที่ต้องทดสอบการใช้งานของเครื่องมือ
คณะเภสัชฯ เรื่องยาและระบบนำส่งยา
คณะเทคนิคการแพทย์ ในการร่วมมือการวิจัย
และคณะอื่นๆ อีกมากมาย
อย่างที่ทราบกันดีว่ามหาวิทยาลัยมหิดลเป็นมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงในด้าน การแพทย์มาอย่างยาวนาน มหาวิทยาลัยก็ได้ให้การสนับสนุนทางภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์เป็นอย่างดี เพื่อให้มีการพัฒนาในด้านการแพทย์ต่อไปให้ทันต่างประเทศค่ะ ในมหาวิทยาลัยต่างประเทศหลายๆที่ ก็จะเปิดสาขานี้อยู่ในโรงเรียนแพทย์เลยนะคะ
ในแต่ละปีก็จะเรียนวิชาต่างๆดังนี้
ปี 1
วิชาที่เรียนรวมกันทั้งชั้นปีที่ 1 ของมหาวิทยาลัย
- วิชาศึกษาทั่วไป (สังคม)
- ภาษาไทยและอังกฤษ
วิชาที่เรียนกันทั้งคณะวิศวกรรมศาสตร์
- Calculus แคลคูลัส
- Ordinary Differential Equation สมการเชิงอนุพันธ์
- Physics 1 และ 2 ฟิสิกส์
- Computer Programming โปรแกรมภาษาซี
- Basic Engineering Practice ปฎิบัติการหรือworkshop
- Engineering Drawing เขียนแบบวิศวกรรม
ปี 2
วิชาคณะวิทยาศาสตร์ที่ภาควิชาอื่นๆไม่ได้เรียนค่ะ
- Foundation of Life ชีววิทยา
- Organic Chemistry เคมีอินทรีย์
- Anatomy กายวิภาคศาสตร์
- Physiology สรีรวิทยา
วิชาของชาววิศวะ และวิศวกรรมไฟฟ้า
- Engineering Maths เลขของชาววิศวะ
- Meterials วัสดุวิศวกรรม
- Probability ความน่าจะเป็น
- Electric Circuit Analysis การวิเคราะห์วงจรไฟฟ้า
- Introduction to Biomedical Eng.
- Biomechanics 1 และ 2 ชีวกลศาสตร์
- Computational Methods for Biomedical Eng. วิธีคำนวณสำหรับชาวbiomed
- Electronics in Medicine อิเล็กทรอนิกส์ทางการแพทย์
- Biomedical Eng. Lab 1
ปี 3
วิชาของภาคแทบทั้งหมดเลยล่ะคะ
- Biochemistry ชีวเคมี
- Biomedical Eng. Lab 2
- Biomedical Measurement & instrumentation การวัดและเครื่องมือวัดทางชีวการแพทย์
- Biomedical Signals & Systems ระบบและสัญญาณทางชีวการแพทย์
- Biomedical Thermodynamics อุณหพลศาสตร์ทางชีวการแพทย์
- Control systems ระบบควบคุม
- Design for Biomedical Engineering การออกแบบสำหรับวิศวกรรมชีวการแพทย์
- Digital Systems & Microprocessors ระบบดิจิตอลและไมโครโพรเซสเซอร์
- Introduction to Biomaterials & Biocompatility ชีววัสดุและการใช้แทนกันได้ทางชีววิทยาขั้นแนะนำ
- Philosophy, Ethics & Laws for Engineers ปรัชญา,จรรยาบรรณและกฎหมายสำหรับวิศวกร
- วิชาเลือกเสรี
Summer ปี 3 เราจะต้องไปฝึกงานกันค่ะ
ปี4
- เลือกวิชาตามสาขา แล้วก็ทำ project
การเรียนของเราไม่เพียงแต่เข้มข้น ถึงน้ำถึงเนื้อถึงกระดูกเท่านั้นนะคะ แต่ยังมีกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้และเสริมความคิดนอกห้องเรียนด้วย project หลากหลายและ การเข้า lab ของอาจารย์แต่ละท่านด้วยค่ะ
cr: http://biomedthai.blogspot.com/
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น