รายละเอียดสาขาวิชาต่างๆของคณะวิศวกรรมศาสตร์
วิศวกรรมชีวการแพทย์
เป็นสาขาวิชาที่นำเอาความรู้ทางด้านคณิตศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์
ความรู้ทางการแพทย์ และวิทยาศาสตร์แขนงต่างๆ มาประยุกต์ใช้ร่วมกัน
เพื่อออกแบบสร้างหรือพัฒนาซอฟต์แวร์ อุปกรณ์
หรือเครื่องมือทางการแพทย์ที่ได้มาตรฐาน สามารถใช้งานได้จริง เช่น
หุ่นยนต์นำการผ่าตัด เทคโนโลยีในเครื่องมือผ่าตัด
เครื่องส่องดูอวัยวะในร่างกาย อุปกรณ์จ่ายยาอัตโนมัติ
ข้อต่อหรืออวัยวะเทียม เครื่องวิเคราะห์สัญญาณหัวใจหรือสมอง
เป็นสาขาวิชาที่บูรณาการศาสตร์ต่างๆ ทั้งไฟฟ้า คอมพิวเตอร์ เครื่องกล
อิเล็กทรอนิกส์ นาโน วัสดุ
ซึ่งจากที่กล่าวมาเห็นได้ว่าวิศวกรรมชีวการแพทย์เป็นศาสตร์ที่มีความสำคัญ
และจำเป็นอย่างยิ่ง
ที่ต้องพัฒนาควบคู่ไปกับการพัฒนาเทคโนโลยีวิทยาศาสตร์สุขภาพและด้านการแพทย์
เพื่อประโยชน์ต่อสุขภาพของคนไทยและมนุษยชาติ
วิศวกรรมเคมี
วิศวกรรมเคมี
เป็นวิทยาศาสตร์ประยุกต์ที่นำความรู้ด้านฟิสิกส์และเคมีมาใช้ในการผลิตสาร
เคมีในระดับอุตสาหกรรม ความรู้ด้านฟิสิกส์ที่นำมาประยุกต์ เช่น
กลศาสตร์โดยเฉพาะกลศาสตร์ของไหล เทอร์โมไดนามิกส์ การแลกเปลี่ยนความร้อน
และการแลกเปลี่ยนมวลสาร ส่วนด้านเคมี เช่น จลศาสตร์ของปฏิกริยาเคมี
ซึ่งจริงๆแล้วจะมีสัดส่วนของฟิสิกส์มากกว่ามากกว่าเคมีเสียอีก
ดังนั้นน้องๆที่บอกว่าไม่ชอบเคมีแล้วกลัวว่าจะเรียนไม่ได้ก็ไม่ต้องห่วงครับ
หลังจากเรียนวิชาพื้นฐานพวกนั้นแล้ว
ก็เรียนรู้การออกแบบอุปกรณ์ต่างที่นำความรู้พวกนั้นมาประยุกต์
เช่นการเลือกใช้ปั๊ม การเลือกท่อ การออกแบบหอกลั่นเบื้องต้น
เมื่อได้อุปกรณ์แต่ละตัวแล้วก็นำมาจัดสร้างเป็นกระบวนการผลิตแล้วประเมิน
ความคุ้มค่าในการลงทุนด้วยวิชาเศรษฐศาสตร์เบื้องต้นครับ
สามารถทำงานในโรงงานประกอบรถยนต์ โรงงานปูนซิเมนต์ โรงงานผลิตเครื่องดื่ม
โรงงานสบู่ ผงซักฟอก โรงงานเคมี โรงกลั่นน้ำมัน เป็นต้น
วิศวกรรมปิโตรเคมี
น้องๆอาจจะสังสัยว่า วิศวกรรมปิโตรเคมี ต่างจากวิศวกรรมปิโตรเลียม อย่างไร
ปิโตรเลียม จะเรียนในขั้นต้น (Upstream) ครับ เริ่มตั้งแต่การขุดเจาะ
ไปจนถึงการกลั่น แยกก๊าซ น้ำมัน คอนเดนเสท
แล้วส่งต่อไปยังอุตสาหกรรมขั้นปลาย (Downstream) ซึ่งก็คือ ส่วนปิโตรเคมี
ที่เราเรียนกันนี้ จะเป็นอุตสาหกรรมที่นำเอาสิ่งที่ได้จากการแยก
มาทำปฏิกิริยาแล้วขึ้นรูปเป็นพอลิเมอร์ แบ่งออกเป็น 2 ส่วนย่อยๆ คือ
อุตสาหกรรมขั้นต้นที่ผลิตสารโมเลกุลเล็กๆ ที่เรียกว่า มอนอเมอร์
โดยใช้สารประกอบไอโดรคาร์บอนบางชนิดที่ได้จากการกลั่นน้ำมันดิบ เช่น
การใช้อีเทน และโพรเพนเป็นวัตถุดิบในการผลิตเอทิลีนและโพรพิลีน
และอุตสาหกรรมขั้นต่อเนื่อง ผลิตสารโมเลกุลใหญ่ที่เรียกว่า พอลิเมอร์
โดยใช้สารมอนอเมอร์จากอุตสาหกรรมขั้นต้น เป็นวัตถุดิบ
ผลิตภัณฑ์ที่ได้ของอุตสาหกรรมขั้นนี้ คือ พลาสติกชนิดต่างๆ
ยางสังเคราะห์ชนิดต่างๆ จะถูกนำไปใช้เป็นสารตั้งต้นในอุตสาหกรรมต่างๆ ต่อไป
เช่น อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องนุ่งห่ม ยางรถยนต์ ท่อพลาสติก ถุงพลาสติก
ฟิลม์ สี ผงซักฟอก ปุ๋ย บริษัททางด้านปิโตรเคมีเช่น Aromatics , SCG ,
ไทยพลาสติก , ปตท.กรุ๊ป เช่น บริษัท IRPC , ไทยออย , บางจาก ,เอสโซ่ , ARC
เป็นต้น
CR:http://unigang.com/Article/5583
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น